TAKAO 599 MUSEUM

ขุมทรัพย์ของภูเขาทาคาโอะ

Birds

คุณจะพบกับจำนวนของนกป่ายังเป็นหนึ่งในส่วนที่ดีที่สุดของทาคาโอะ จำนวนปีนขึ้นไปประมาณ 150 ชนิด สอดคล้องกับหนึ่งในสามของนกป่าในญี่ปุ่น จะอยู่ที่ทาคาโอะเป็นสวรรค์ที่แท้จริงของนก สามารถเพลิดเพลินได้ด้วยสายตาและการฟังเสียง นิเวศวิทยาและการปรากฏตัวในฤดูหนาวนกที่ลงมาจากภูเขาสูงและนกฤดูร้อนมาข้ามและในฤดูใบไม้ผลิ เช่นความไพเราะของเพลงที่สวยงามที่อ้างว่าดินแดนในช่วงฤดูผสมพันธุ์, ความหลากหลายของนกป่า

  • ไก่ฟ้าทองแดง ชื่อญี่ปุ่น “Yamadori” วงศ์: ไก่ฟ้า
    ไก่ฟ้าทองแดง ชื่อญี่ปุ่น “Yamadori”
    ไก่ฟ้าทองแดง ชื่อญี่ปุ่น “Yamadori” Selected
    เป็นไก่ฟ้าที่พบเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
    ขนาดจะโตกว่าไก่ฟ้าธรรมดาหนึ่งเท่า ไก่ฟ้าเพศผู้จะมีปีกยาวกว่าลำตัว
    และชอบอยู่ตามป่าทึบ เมื่อเทียบกับไก่ฟ้าชนิดอื่นๆ ที่ชอบอยู่ตามพื้นที่โล่งแจ้ง ไก่ฟ้าเพศผู้กับเพศเมียมีสีน้ำตาล เมื่ออยู่ในป่าก็ดูกลมกลืนกับสิ่งแวคล้อม และเสียงร้องไม่ค่อยโดดเด่น " คุ คุ คุ คุ " จะเดินวนไปรอบ ๆโคนต้นไม้ในป่าเพื่อจับแมลง ไส้เดือน เมล็ดหญ้าและตาอ่อนของต้นไม้ ประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนเป็นช่วงฤดูผสมพันธ์ เพศผู้จากที่ไม่ค่อยแสดงตัวก็จะมีการตีปีกเพื่อให้เกิดเสียง
    เพื่อประกาศอาณาเขต ทำรังใต้ร่มเงาของต้นไม้ที่ล้ม
    โดยการนำใบไม้และเปลือกไม้มากองสร้างรัง วางไข่ครั้งละ 7-10 ฟอง

    ●ขนาด/เพศผู้ประมาณ125เซนติเมตร(รวมปลายปีก)เพศเมียประมาณ55เซนติเมตร
    ●ฤดู/เดือน1~12
    เป็นนกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกกระทาไม้ไผ่ ชื่อญี่ปุ่น “Kojukei” วงศ์: ไก่ฟ้า
    นกกระทาไม้ไผ่ ชื่อญี่ปุ่น “Kojukei”
    นกกระทาไม้ไผ่ ชื่อญี่ปุ่น “Kojukei” วงศ์: ไก่ฟ้า
    เป็นไก่ฟ้าที่มีแหล่งกำเนิดจากภาคใต้ของประเทศจีน
    ในปีไทโช 8 (1919) มีการนำมาปล่อยให้อยู่ในแหล่งธรรมชาติที่โตเกียวและจังหวัดคะนะกาว่าเพืยงแค่ 20 ตัว แต่ปัจจุบันแพร่กระจายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น อาศัยในพื้นที่ราบป่าละเมาะหรือดงไผ่ จะอยู่รวมกันเป็นฝูงในช่วงฤดูใบไม้ร่วงถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ หากินไส้เดือน ยอดหญ้า พืชอ่อน ๆ เมล็ดพืชและผลไม้บางชนิดเป็นอาหาร มีลักษณะเด่นอยู่ที่เสียงร้องคือ " โจะ โตะ โคะ อิ " ซึ่งเสียงร้องนั้นได้มีการนำมาทำเป็นซาวนด์เอฟเฟค (sound effect)ในภาพยนตร์ย้อนยุดและรายการโทรทัศน์อื่นๆ ถือว่เป็นนกท้องถิ่นที่มีถิ่นอาศัยในป่า มีการจับคู่ออกหากิน ในฤดูผสมพันธ์ช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
    ทำรังตามพื้นดินใต้กอไม้รองรังด้วยใบหญ้าแห้ง วางไข่ครั้งละประมาณ 7 - 8 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 27 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • เป็ดลายจุด ชื่อญี่ปุ่น “Karugamo” วงศ์: เป็ด
    เป็ดลายจุด  ชื่อญี่ปุ่น “Karugamo”
    เป็ดลายจุด ชื่อญี่ปุ่น “Karugamo” วงศ์: เป็ด
    เป็นเป็ดสายพันธ์เดียวที่มีกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น
    อาศัยในทะเลสาบ หนอง บึง และบางครั้งก็อาศัยตามริมน้ำในสวนสาธารณะ ในกลุ่มของเป็ดโดยทั่วไปนั้นเพศผู้จะมีสีฉูดฉาดหลายสีขณะที่เพศเมียสีสันไม่ฉูดฉาดเท่า แต่ในส่วนของสายพันธ์นี้ ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีสีที่ไม่แตกต่างกันมาก ปกติมีพฤติกรรมหลับพักผ่อนตอนกลางวัน แต่ปัจจุบันจำนวนก็ได้เพิ่มมากขึ้นจึงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมออกหากินในช่วงเวลากลางวันตามบ่อในสวนสาธารณะในเมืองเป็นต้น โดยอาหารหลักที่ชอบคือ เมล็ดของหญ้า และกินอาหารที่หลากหลายได้ เช่น ปลา แมลง เป็นต้น ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนเมษายนถึงปลายเดือนกรกฏาคม ทำรังตามพุ่มไม้ใกล้แหล่งน้ำ โดยใช้ใบไม้แห้งหรือหญ้าแห้งที่อยู่ในบริเวณที่สร้างรังและใช้ขนที่ร่วงหล่นโดยมากเป็นขนบริเวณท้องของพ่อแม่เป็ดเองมาวางซ้อนกัน เพื่อรองรับไข่ ซึ่งในการวางไข่แต่ละครั้งประมาณ 8-13 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 61 เซนติเมตร
    ●ฤดู/เดือน1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกพิราบขนาดเล็ก ชื่อญี่ปุ่น “Kijibato” วงศ์:นกพิราบ
    นกพิราบขนาดเล็ก ชื่อญี่ปุ่น “Kijibato”
    นกพิราบขนาดเล็ก ชื่อญี่ปุ่น “Kijibato” วงศ์:นกพิราบ
    ด้วยขนที่มีลวดลายสีน้ำตาลแดงคล้ายไก่ฟ้า จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก "คิจิบะโตะ" และก็มีการเรียกว่า "ยะมะบะโตะ"ด้วย เดิมทีชอบอาศัยอยู่ตามภูเขาหรือในพื้นที่เกษตรกรรม แต่ปัจจุบันได้มีการขยายพันธ์เพิ่มมากขี้นจึงกระจายกันมายังย่านที่อยู่อาศัยหรือสวนสาธารณะในเมือง จะเกาะตามเสาไฟฟ้าและร้องด้วยโทนเสียงต่ำๆว่า "เดะ-เดะโพะ-โพะ" อาหารหลักๆที่ชอบคือ เมล็ดของต้นพืชหรือเมล็ดของธัญพืชเป็นต้น และบางครั้งก็บินมายังถาดอาหารที่ผู้คนนำมาวางให้เช่น เศษขนมปังหรือเมล็ดธัญพืช นกคิจิบะโตะนั้นจะชอบอยู่เป็นคู่โดยที่เมื่อจับคู่กันแล้วจะไม่แยกจากกันเลยตลอดทั้งปี เมื่อเข้าฤดูผสมพันธ์เพศผู้จะเกี้ยวพาราสีเพศเมียโดยการขันและก้มหัวอย่างเป็นจังหวะและบินขึ้นลงเร็วๆ ประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฏาคมจะมีการทำรังแบบง่ายๆโดยการเอากิ่งไม้เล็กมาวางทับกันตามกิ่งไม้ วางไข่ครั้งละประมาณ 2 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 33เซนติเมตร
    ●ฤดู/เดือน1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกพิราบสีฟ้า ชื่อญี่ปุ่น “Aobato” วงศ์:นกพิราบ
    นกพิราบสีฟ้า ชื่อญี่ปุ่น “Aobato”
    นกพิราบสีฟ้า ชื่อญี่ปุ่น “Aobato” Selected
    เป็นนกที่มีความสวยงามมาก ลักษณะเด่นคือ ลำตัวมีสีเขียวเหลืองและจงอยเป็นสีฟ้า เพศผู้และเพศเมียมีสีที่ใกล้เคียงกันมาก ลักษณะความแตกต่างคือ ปีกของเพศผู้จะมีขนสีม่วง ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบ หรือป่าทึบ โดยจะอยู่เป็นฝูงตามป่าใบไม้กว้างเขียวชอุ่มเช่น ต้นโอ๊คฟันเลื่อย ต้นเมเปิ้ล ต้นโอ๊คมองโกเลีย เป็นต้น สำหรับป่าโปร่งนั้นแทบจะไม่ได้พบเห็นเลย จะกินผลของต้นไม้ ตาอ่อน หรือผลของต้นโอ๊ค นอกจากนั้นในต้นฤดูร้อนถึงฤดูใบไม้ผลิจะมีการบินมายังชายฝั่งทะเลเพื่อกินน้ำทะเลหรือตามแหล่งน้ำที่มีเกลือ แหล่งน้ำพุร้อนตามภูเขา เป็นการกินเกลือแร่เพื่อเพิ่มเสริมให้ร่างกายแข็งแรง ในฤดูผสมพันธ์เพศผู้จะร้องเสียงแบบเหงา ๆ " โอะ อะ โอะ"อย่างยาวๆแบบต่อเนื่อง ช่วงเดือนมิถุนายนทำรังโดยการเอากิ่งไม้เล็กๆมาทำเป็นรูปจานบนกิ่งไม้ ในหนึ่งครั้งวางไข่ประมาณ 2 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 33 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ) หรือว่า
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกพิราบหิน ชื่อญี่ปุ่น “Dobato” วงศ์:นกพิราบ
    นกพิราบหิน ชื่อญี่ปุ่น “Dobato”
    นกพิราบหิน ชื่อญี่ปุ่น “Dobato” วงศ์:นกพิราบ
    เป็นนกที่สามารถพบเห็นได้ตามศาลเจ้าหรือสวนสาธารณะ โดยส่วนใหญ่เรียกว่า "โดะบะโตะ" แต่ทางยุโรปในสมัยโบราณได้มีการปรับปรุงสายพันธ์มาจากพันธ์ "คะวะระบะโตะ"เพื่อใช้ในการสื่อสาร แต่กลายพันธ์มาเป็นนกพิราบป่า ลวดลายเดิมๆนั้นตรงคอจะมีสีเขียวม่วงเป็นมันวาวกับมีแถบสีดำสองแถบบนปีกแต่ละข้าง แต่เนื่องจากเป็นนกที่มีการปรับปรุ่งสายพัน์จึงมีหลายหลากไม่ว่าจะเป็นสีดำหรือเทา สีเกาลัด เป็นต้น ลักษณะพิเศษที่นกชนิดนี้แตกต่างจากนกชนิดอื่นก็คือการกินน้ำ จะกินน้ำโดยการเอาปากแช่ไว้ในน้ำแล้วกลืนน้ำ แต่นกชนิดอื่นจะเอาน้ำเข้าปากให้เต็มก่อนแล้วเงยหัวขึ้นและกลืน และคายออกมาเพื่อใช้เลี้ยงลูกอ่อน ในเพศผู้และเพศเมียจะมีอวัยวะที่เรียกว่า"กระเพาะอาหารสัตว์ของนก" หรือเรียกว่าสารคัดหลั่งที่เรียกว่านมให้กับลูกนกของมัน

    ●ขนาด/ประมาณ 31〜34 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกมิโซะโกย ชื่อญี่ปุ่น “Mizogoi “ วงศ์: นกกระสา
    นกมิโซะโกย ชื่อญี่ปุ่น “Mizogoi “
    นกมิโซะโกย ชื่อญี่ปุ่น “Mizogoi “ วงศ์: นกกระสา
    เป็นหนึ่งในนกกระสาที่มาขยายพันธ์ในประเทศญี่ปุ่นในช่วงฤดูร้อน
    ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ที่ค่อนข้างร่มครึ้ม อยู่ใกล้บึงของภูเขาเตี้ยๆ แบบตัวเดียวหรืออยู่เป็นคู่ เพศผู้และเพศเมียคล้ายกัน ขนทั่วๆ ไปมีสีน้ำตามเข้ม ในเวลากลางวันจะนอน เมื่อใกล้ค่ำจะพากันออกบินตามแหล่งอาหารเช่นลำธาร บึง หนอง อาหารได้แก่กุ้ง ปลา กบ ไส้เดือน เมื่อรู้สึกถึงอันตรายจะเอาหัวตั้งขึ้นมาตรงๆอยู่นิ่งๆ เป็นการทำเลียนแบบให้ลำตัวเป็นเหมือนกิ่งไม้ ฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม เพศผู้จะร้องเสียงดังๆช้าๆว่า"โบะ-โบะ"เพื่อให้เพศเมียสนใจ ทำรังบนกิ่งไม้ที่ยื่นไปในบึงด้วยกิ่งไม้แห้งเล็กๆ ขัดสานกันตรงกลางเป็นแอ่งสำหรับวางไข่ วางไข่ครั้งละ 4-5 ฟอง เมื่อเลี้ยงลูกในฤดูร้อนจนโตเต็มวัยก็จะพากันอพยพไปทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ●ขนาด/ประมาณ 49 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน4~9
    นกฤดูร้อน(Natsudori: จะมาจากพื้นที่อื่นเพื่อผสมพันธ์ฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อน พอฤดูใบไม้ร่วงก็บินไปทางทิศใต้)
  • นกกระสามงกุฎดำ ชื่อญี่ปุ่น “Goisagi” วงศ์: นกกระสา
    นกกระสามงกุฎดำ ชื่อญี่ปุ่น “Goisagi”
    นกกระสามงกุฎดำ ชื่อญี่ปุ่น “Goisagi” วงศ์: นกกระสา
    จะอาศัยรวมกับนกกระสาชนิดอื่นๆในป่าที่เป็นพื้นราบหรือว่าหุบเขา โดยจะอยู่ในพื้นที่อาณาเขตของตัวเองเพื่อการผสมพันธ์ ตอนกลางวันจะนอนหลับในรัง พอตกกลางคืนจะออกมาหากินตามแหล่งน้ำเช่น ลำธาร บึง หนอง อาหารได้แก่กุ้ง ปลา กบ ใช้วิธีการเดินย่องช้า ๆ และฉกเหยื่อด้วยความรวดเร็ว เพศผู้และเพศเมียมีสีเหมือนกัน ลักษณะเหมือนนกเพนกวิน นกตัวเต็มวัยจะมีลักษณะเหมือนเปียสีขาวยื่นจากท้ายทอยลงมาทาบกับหลัง และลำตัวมีสีดำทำให้ดูเด่นมาก ในช่วงเป็นลูกนกจะมีลายจุดๆขาวๆบนปีกมองเห็นได้ชัด เรียกว่า "โฮะชิโกย" เมื่อเทียบกับนกที่เป็นพ่อแม่แล้วดูเหมือนคนละประเภทเลย ในฤดูผสมพันธ์คือประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม จะทำรังบนต้นไม้ที่เป็นอาณานิคมโดยการใช้กิ่งไม้แห้งมาขัดสานกันหนาๆ วางไข่ครั้งละ 4-6 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 57 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกกระสาสีเทา ชื่อญี่ปุ่น “Aosagi “ วงศ์: นกกระสา
    นกกระสาสีเทา ชื่อญี่ปุ่น “Aosagi “
    นกกระสาสีเทา ชื่อญี่ปุ่น “Aosagi “ วงศ์: นกกระสา
    เป็นนกกระสาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศญี่ปุ่น
    มีลำตัวเรียวเล็ก มีขาและคอยาว ถือว่าเป็นนกกระสาที่สวยงามมาก
    เพศผู้และเพศเมียมีสีเหมือนกันคือ สีเทาออกฟ้า นกที่โตเต็มวัยจะมี
    ขนยาวสีดำคาดจากบริเวณหัวตายาวไปยังท้ายทอย ส่วนนกที่ยังไม่โตเต็มวัยจะยังไม่มี จะอาศัยตามป่าชายเลน หนอง บึงและจุดน้ำขึ้นน้ำลงตามชายหาดของทะเล สำหรับหนองหรือบึงตามภูเขาทะคาโอะนั้นนานๆ ทีจะเห็น ช่วงกลางวันจะพักผ่อนรวมกันเป็นฝูง พอตกเย็นตลอดถึงเช้าวันรุ่งขึ้นเป็นช่วงหาเหยื่อ เช่น ปลา กบ กั้ง กุ้ง งู หนู และกินลูกนกของนกชนิดอื่นด้วย สำหรับการจับปลาในกรณีที่เป็นปลาเล็กๆจะใช้จงอยจับและกลืนทั้งตัว แต่ถ้าเป็นปลาใหญ่จะจับโดยการเอาจงอยแทงปลา มีการสร้างอาณาเขตของตัวเองเพื่อเตรียมการผสมพันธ์ จะทำรังบนกิ่งไม้ใหญ่ด้วยการเอาเศษกิ่งไม้มาสานเป็นรูปจานเป็นรังใหญ่ ซึ่งฤดูผสมพันธ์คือประมาณเดือน เมษายนถึงเดือนพฤาภาคม ในหนึ่งครั้งมีการวางไข่ 3-6 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 93เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกกระสาน้อย ชื่อญี่ปุ่น ” Kosagi “ วงศ์: นกกระสา
    นกกระสาน้อย ชื่อญี่ปุ่น ” Kosagi “
    นกกระสาน้อย ชื่อญี่ปุ่น ” Kosagi “ วงศ์: นกกระสา
    เป็นสายพันธ์นกกระสาเล็กได้รับการเรียกขานว่าเป็น "นกกระสาสีขาว" เป็นนกกระสาที่มีขนาดเล็กสุดเมื่อเทียบกันในกลุ่มของนกกระสา
    เมื่อเทียบขนาดใหญ่ไปหาเล็กตามลำดับคือ "นกไดซะกิ/นกจูซะกิ/นกโคซะกิ" ลักษณะเด่นคือที่โคนปากและขาจะเป็นสีเหลือง เป็นจุดที่ใช้สังเกตถึงความแตกต่างระหว่างชนิดอื่น จะอาศัยอยู่ตามจุดที่มีช่วงน้ำขึ้นๆลงๆของทะเลสาบ นาดำ บึง บ่อ และสามารถพบเห็นได้ตามแม่น้ำในเมืองด้วย จะบินออกหาอาหารในช่วงเช้าตรู่ตามแหล่งน้ำ ตกเย็นจะบินกลับรัง อาหารที่ชอบคือ ปลา กบ แมลงน้ำเป็นต้น ลักษณะการจับเหยื่อโดยการเดินย่ำในน้ำตื้นๆ ไปตามที่ซ่อนของเหยื่อให้ออกมาและจับกิน ฤดูผสมพันธ์คือ ประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม ทำรังบนกิ่งของต้นไม้โดยการเอากิ่งไม้แห้งมากองเป็นรูปจาน ในการวางไข่ครั้งละประมาณ 4-6 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 61เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกกาเหว่าน้อย ชื่อญี่ปุ่น“Hototogisu” วงศ์:นกกาเหว่า
    นกกาเหว่าน้อย ชื่อญี่ปุ่น“Hototogisu”
    นกกาเหว่าน้อย ชื่อญี่ปุ่น“Hototogisu” Selected
    อาศัยอยู่ในป่าโล่งกว้าง ภูเขาลูกต่ำ ๆ เมื่อเทียบกับนกกาเหว่าอื่นๆ
    ตัวผู้จะร้องมีเสียงว่า “Tokkyo Kyoka - Kyoku ” แต่ชนิดนี้จะมีเสียงคือ “ Kyo Kyo Kyo ”ด้วยเสียงที่ดังมาก บางทีอาจเป็นเสียง “Ho To To Gi Su ” จึงเป็นที่มาของชื่อนกชนิดนี้ ด้านหลังนกที่โตเต็มวัยจะมีสีเทา ส่วนหน้าอกจะเป็นลายสีดำ ตัวผู้กับตัวเมียมีสีเหมือนกัน แต่ตัวเมียจะมีสีน้ำตาลแดง อาหารที่ชอบจำพวกแมลง แต่ที่ชอบมากกว่าคือ ด้วงและหนอน ไม่สร้างรังเป็นของตนเอง จะไปไข่ไว้ที่รังนกชนิดอื่น ฝากเลี้ยงและฟักออกเป็นตัว (ฟักไข่หนึ่งลูกต่อหนึ่งรัง) นี่คือลักษณะนิสัยของนกกาเหว่า จะเลือกรังนกที่มีลักษณะสีของไข่เหมือนกันคือมีสีน้ำตาลคล้ายๆกัน ฤดูผสมพันธุ์คือ ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม
    จะขโมยไข่จากรังของนกชนิดอื่นออกมา 1 ใบและเติมไข่ของตัวเองเข้าไปแทน ในช่วงใบไม้ร่วงจะหลบหนาวโดยอพยพไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ●ขนาด/ประมาณ 28เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน5~10
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าฤดูใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกกาเหว่า ชื่อญี่ปุ่น “Kakkou” วงศ์:นกกาเหว่า
    นกกาเหว่า ชื่อญี่ปุ่น “Kakkou”
    นกกาเหว่า ชื่อญี่ปุ่น “Kakkou” วงศ์:นกกาเหว่า
    หลังจากอพยพไปหลบหนาวและจะบินกลับมาประเทศญี่ปุ่นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ แหล่งที่อยู่อาศัยคือตามต้นกก(พื้นที่ที่ต้นกกขึ้นเยอะ)หรือในพื้นที่ป่าสนที่โล่งแจ้ง ส่วนใหญ่จะอยู่ตัวดียว และเกาะอยู่บนต้นไม้หรือสายไฟ ในฤดูผสมพันธ์ตัวผู้จะร้องว่า 「 คัต โค 」ด้วยเสียงดัง ส่วนตัวเมียจะร้อง「 พี พี พี พี 」 อาหารที่ชอบคือด้วงและหนอน แต่บ้างครั้งก็กินไข่นกหรือลูกนกเล็กๆ ของนกชนิดอื่น มีนิสัยไม่ชอบสร้างรังเป็นของตนเอง จะไปไข่ไว้ที่รังนกชนิดอื่น ส่วนใหญ่ไปไข่ในรังนกที่สร้างขึ้นตามพงหญ้า สีของไข่จะแตกต่างกันแต่มีลักษณะที่เหมือนกัน โดยนำเอาไข่จากรังของนกออกมา 1 ใบใช้หลังดันออกข้างนอกให้ตกพื้นและเติมไข่ของตัวเองเข้าไปแทน และฝากไว้ให้ฟักและเลี้ยงดู ฤดูผสมพันธุ์คือ ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม

    ●ขนาด/ประมาณ 35เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณ5~10
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าหน้าใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )
  • นกตบยุง ชื่อญี่ปุ่น “Yotaka” วงศ์: นกตบยุง
    นกตบยุง ชื่อญี่ปุ่น “Yotaka”
    นกตบยุง ชื่อญี่ปุ่น “Yotaka” วงศ์: นกตบยุง
    อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าและป่าไม้ ช่วงกลางวันจะนอนอยู่บนกิ่งไม้เหมือนหมอบแนบกับกิ่งไม้ กลางคืนจะออกหากิน อ้าปากกว้างเพื่อกินอาหาร อาหารคือผีเสื้อ ยุง(มอด)หรือแมลงทับ ตัวผู้และตัวเมียมีสีที่แทบเหมือนกัน เป็นลวดลายละเอียดและซับซ้อนสีน้ำตาลดำ
    ฤดูผสมพันธุ์คือ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงช่วงต้นเดือนสิงหาคม
    กลางคืนจะบินไปบนต้นไม้พร้อมกับร้อง「เกียวเกียวเกียว」โดยการร้องต่อเนื่องเร็ว ๆ ไม่มีการทำรังเป็นพิเศษ แต่จะอยู่อาศัยในกองซากใบไม้ที่หล่นมาทับถมกันและวางไข่ครั้งละประมาณ 2-3 ฟอง
    ในฤดูใบไม้ร่วงจะอพยพหนีหนาวไปทางบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ●ขนาด/ประมาณ 29เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน4~9
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าหน้าใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )
  • นกนางแอ่นบ้าน ชื่อญี่ปุ่น “Himeamatsubame” วงศ์:นกนางแอ่น
    นกนางแอ่นบ้าน   ชื่อญี่ปุ่น “Himeamatsubame”
    นกนางแอ่นบ้าน ชื่อญี่ปุ่น “Himeamatsubame” วงศ์:นกนางแอ่น
    เมื่อก่อนในหนังสือนกไม่ได้ลงไว้เพราะมีจำนวนไม่มาก เป็นนกนางแอ่นขนาดเล็กบินเร็ว จนเริ่มมีการสังเกตเห็นในประมาณปีโชวะ 35(ค.ศ.1960)และปีโชวะ 42(ค.ศ.1967)และเริ่มมีการขยายเพาะพันธ์
    หลังจากนั้นจำนวนก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้ได้พบเห็นตามแถวเมืองทะมะ และโตเกียว แถวเขต23 มีเสียงร้องในขณะที่บินว่า「จิวริ จิวริ จิวริ 」โดยจะจับแมลงวันหรือยุงบนอากาศกิน ทำรังด้วยน้ำลายของตัวเองผสมกับขนตรงคอนกรีตตรงจุดสูงใต้ถนนและทางรถไฟ ช่วงฤดูผสมพันธ์คือ ประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม โดยวางไข่ครั้งละ 2~3ฟอง
    ในสายพันธ์นี้สามารถยืดนิ้วเท้าออกมาข้างหน้าได้ 4 นิ้ว ทั้ง 2 ข้าง
    เป็นการประยุกต์ใช้ในการเกาะกับผนังคอนกรีตในแนวตั้งฉาก

    ●ขนาด/ประมาณ 13 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • เหยี่ยวดำ ชื่อญี่ปุ่น “Tobi” วงศ์: เหยี่ยว
    เหยี่ยวดำ ชื่อญี่ปุ่น “Tobi”
    เหยี่ยวดำ ชื่อญี่ปุ่น “Tobi” Selected
    เป็นเหยี่ยวที่ชอบอาศัยอยู่ชายฝั่งทะเล เลียบแม่น้ำและอยู่ในเมือง
    จะร้องเสียง「พี-เอียว โร โร โร」และบินบนอากาศวนเป็นรูปวงกลม ตามที่ทุกคนคุ้นเคยมีชื่อเรียกว่า ว่าวสีดำ ชอบอยู่เป็นฝูง ออกหากินในตอนเช้า กินซากสัตว์ที่ตายแล้ว หรือปลา แมลง และกบเป็นต้น และหรือบางครั้งก็กินเศษอาหารตามกองขยะ ตัวผู้กับตัวเมียสีเหมือนกัน เมื่อตัวโตเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลทั้งตัว ขณะบินจะเห็นหางเป็นรูปสี่เหลี่ยมคามหมู ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงผสมพันธ์ จะอยู่ด้วยกันและช่วยกันสร้างรังบนต้นไม้สูง โดยนำเศษกิ้งไม้แห้งมาทำรังเป็นรูปจานและวางไข่ทีละประมาณ 2-3 ฟอง

    ●ขนาด/ตัวผู้ประมาณ 58 ซม. ตัวเมียประมาณ 68 ซม.
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Tsumi” วงศ์: เหยี่ยว
    เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Tsumi”
    เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Tsumi” วงศ์: เหยี่ยว
    เป็นเหยี่ยวที่มีขนาดเล็กมากที่สุดในญี่ปุ่น จะอาศัยอยู่เหนือเกาะคิวชูพอเข้าฤดูใบไม้ร่วงจะอพยพย้ายไปทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหลบหนาวเหมือนนกทั่วไป (Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าหน้าใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ ) ชอบอาศัยอยู่ตามป่าภูเขา แต่ปัจจุบันมีการขยายพันธ์เป็นจำนวนมากในป่าเล็ก ๆ ในเมืองที่เกาะฮอนชู ช่วงประมาณเดือน 3-4จะอยู่เป็นคู่ ลำตัวมีสีน้ำเงินดำ ตัวผู้หน้าอกเป็นสีส้มรอบตาดำเป็นสีแดงตัวเมียหน้าอกสีเทารอบตาดำเป็นสีเหลือง อาหารหลักนั้นเนื่องจากเป็นชนิดนกเล็กจึงกินแมลงเป็นอาหาร บินได้คล่องแคล่วเพื่อไล่จับนกเล็กที่ตัวเล็กกว่า ในฤดูผสมพันธ์จะร้องหาคู่ มีเสียงร้องว่า 「เพียว,เพียว,พิว พิว 」 ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมจะทำรังด้วยเศษกิ่งไม่เล็กๆ เพื่อวางไข่ และวางไข่ครั้งละประมาณ3~5ฟอง

    ●ขนาด/ตัวผู้ประมาณ 27 ซม. ตัวเมียประมาณ 30 ซม.
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 3~10
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ) หรือ
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • เหยี่ยวนกกระจอก ชื่อญี่ปุ่น “Haitaka” วงศ์: เหยี่ยว
    เหยี่ยวนกกระจอก ชื่อญี่ปุ่น “Haitaka”
    เหยี่ยวนกกระจอก ชื่อญี่ปุ่น “Haitaka” วงศ์: เหยี่ยว
    เป็นนกเหยี่ยวที่อาศัยอยู่ในป่าตามภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1700 เมตร มีปีกสั้น หางยาวมีแถบสีดำ 4 แถบ
    ในฤดูผสมพันธ์จะอยู่เป็นคู่ นอกนั้นจะอยู่ตัวเดียวไม่ค่อยอยู่กันเป็นฝูงอาหารหลักคือ นกขนาดกลาง เช่น นกพิราบเล็กยุโรป นกหัวขวานด่าง เป็นต้น จำพวกหนูก็กินด้วย เวลามีภัยคุกคาม หรือเวลาออกหาอาหารตัวเมียจะร้องด้วยเสียงสูง「กิว กิวกิวกิว」 ฤดูผสมพันธุ์คือ ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน และช่วงต้นเดือนพฤษภาคม
    จะสร้างรังที่รากของต้นสนด้วยการนำกิ่งไม้แห้งมากอง และวางไข่ทีละประมาณ 4~5 ฟอง และเลี้ยงลูกจนโต ตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาวจะหลบหนาวอยู่ตามป่าภูเขาเตี้ยๆ หรือพื้นที่กว้าง ๆ และอยู่ในเขตเมืองด้วย ในระหว่างนั้นจะไล่จับนกกระจาบปีกอ่อนอกส้มหรือนกกระจอกบ้านเป็นอาหาร

    ●ขนาด/ตัวผู้ประมาณ 32 ซม. ตัวเมียประมาณ 39 ซม.
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ) หรือว่า
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป)
  • เหยี่ยวนกเขาท้องขาว ชื่อญี่ปุ่น “Ootaka” วงศ์: เหยี่ยว
    เหยี่ยวนกเขาท้องขาว ชื่อญี่ปุ่น “Ootaka”
    เหยี่ยวนกเขาท้องขาว ชื่อญี่ปุ่น “Ootaka” Selected
    อาศัยอยู่พื้นที่ราบจนถึงในป่าบนภูเขา บางที่ก็พบเห็นได้ในเมือง
    นกตัวเมียเมื่อโตเต็มวัยจะมีสีเทาฟ้า ส่วนนกตัวผู้จะสีน้ำตาล จะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน นอกจากฤดูผสมพันธ์แล้วจะอยู่ลำพังตัวเดียว อาหารที่ล่าคือไก้ฟ้า เป็ด กระรอก กระต่ายป่าเป็นต้น และจะจับนกพิราบหรือกาตามส่วนสาธารณะเป็นเหยื่อ ฤดูผสมพันธ์คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน จะสร้างรังที่รากต้นไม้ใหญ่เช่นรากต้นสน โดยการวางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ช่วยกันเลี้ยงลูก โดยตัวผู้จะทำหน้าที่ในการล่าเหยื่อ มีเสียงร้องว่า 「เคท,เคท 」 และเอาเหยื่อให้ตัวเมียมาเลี้ยงลูก จะสร้างรังที่เดิมทุกปี หรือไม่ก็มีการหมุนสลับเปลี่ยนกันในรังอื่นๆ ที่มีอยู่2-3รัง

    ●ขนาด/ตัวผู้ประมาณ 50 ซม. ตัวเมียประมาณ 56 ซม.
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ) หรือว่า
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป)
  • เหยี่ยวหน้าเทา ชื่อญี่ปุ่นว่า ” Sashiba “ วงศ์: เหยี่ยว
    เหยี่ยวหน้าเทา ชื่อญี่ปุ่นว่า ” Sashiba “
    เหยี่ยวหน้าเทา ชื่อญี่ปุ่นว่า ” Sashiba “ วงศ์: เหยี่ยว
    เป็นเหยี่ยวที่ชอบอาศัยอยู่ตามทุ้งหญ้า ทุ่งนา หรือพื้นที่ราบและป่าบนภูเขาพอถึงฤดูใบไม้ผลิก็กลับประเทศญี่ปุ่นหลังจากหลบหนาวมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชอบที่จะไปตามแหล่งอาหารเช่น นาดำและบึง ชอบกินกบ งู ลูกนก หรือแมลง หรืออาจจะเป็นหนูด้วย
    ในฤดูผสมทั้งตัวผู้และตัวเมียจะร้องหาคู่ ร้องเสียงสูง 「 พีเคอิ 」 ร้องซ้ำไปซ้ำมา เดีอนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนคือช่วงผสมพันธ์ ใช้กิ่งไม้เล็กๆ ที่มีใบสีเขียวมาวางซ่อนกันทำรัง และวางไข่ทีละ 2-4 ฟอง
    ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมก็จะบินไปหลบหนาวเป็นฝูงใหญ่เป็นจำนวนนับร้อยเลยทีเดียว ลงไปทางตอนใต้แถวแหลมอิระโกะ จังหวัดอายจิหรือแหลมซะตะ จังหวัดคะโกะชิมะ จะสามารถพบเห็นเป็นฝูงเมื่อบินผ่าน

    ●ขนาด/ประมาณ 49 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 4~10
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าหน้าใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • เหยี่ยวทะเลทรายตะวันตก ชื่อญี่ปุ่น “Nosuri” วงศ์: เหยี่ยว
    เหยี่ยวทะเลทรายตะวันตก ชื่อญี่ปุ่น “Nosuri”
    เหยี่ยวทะเลทรายตะวันตก ชื่อญี่ปุ่น “Nosuri” วงศ์: เหยี่ยว
    เป็นเหยี่ยวขนาดกลางจะอาศัยตามพื้นที่ราบถึงภูเขา
    ตัวผู้กับตัวเมียมีสีเกือบเหมือนกัน แถวหน้าอกมีสีขาว
    อาศัยตามแหล่งอาหารเช่น ป่าที่อยู่ใกล้ทุ้งหญ้า ไร่เกษตรหรือทุ่งเลี้ยงสัตว์ อาหารหลักคือ จับหนู งู กบ แมลง นกตัวเล็ก
    บินบนอากาศที่สูงจากพื้นดินมาก เพื่อเล็งหาเหยื่อ เหมือนเหยี่ยวดำ
    และยังอยู่บนต้นไม้หรือเกาะบนเสาสูงตามไร่เป็นเวลานาน เพื่อมองหาเหยื่อ พอถึงฤดูผสมพันธ์ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะร้อง 「พีーแอะ 」เหมือนนกหวีดเพื่อหาคู่ ช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน จะเอากิ่งไม้เล็กมาซ้อนกันเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างรัง จะเป็นเศษกิ่งไม้หรือใบไม้สีเขียว ว่างไข่ทีละ 2-3 ฟอง โดยส่วนใหญ่จะใช้รังเดิมในการผสมพันธ์

    ●ขนาด/ประมาณ 55 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกเค้าเเมว ชื่อญี่ปุ่น “Fukuroo” วงศ์: นกเค้าเเมว
    นกเค้าเเมว ชื่อญี่ปุ่น “Fukuroo”
    นกเค้าเเมว ชื่อญี่ปุ่น “Fukuroo” Selected
    จะอาศัยในป่า และป่าที่ใกล้ผู้คนอาศัยอยู่ โดยจะชอบอาศัยบนต้นไม้ใหญ่ในวัดหรือศาลเจ้า ตัวผู้กับตัวเมียมีสีเหมือนกัน สีของลำตัวแตกต่างกันไปตามพื้นที่ โดยหลักแล้วเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีเทา ส่วนนกเค้าแมวที่อาศัยอยู่ทางเหนือจะออกเป็นสีขาว ชอบอยู่ตัวเดียว หรืออยู่เป็นคู่ ในกลางวันจะพักผ่อนบนต้นไม้ และเริ่มออกหากินในตอนเย็น
    จะบินไปรอบๆโดยไม้ให้มีเสียงบิน จะล่าเหยื่อจำพวก หนู นก จิ้งจก กบแมลงเป็นอาหาร พอเข้าฤดูผสมพันธ์ ทั้งตัวผู้และตัวเมียก็จะร้อง 「 โฮ-โฮ 」 ส่วนมากจะสร้างรังในโพรงของต้นไม้ใหญ่ บางทีก็ทำรังบนหลังหลังคาบ้าน หรือตามขอบเพดานศาลเจ้า ช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนเมษายนจะวางไข๋ครั้งละประมาณ 2-3 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 50 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกเค้าเหยี่ยว ชื่อญี่ปุ่น “Aobazuku” วงศ์: นกเค้าเเมว
    นกเค้าเหยี่ยว ชื่อญี่ปุ่น “Aobazuku”
    นกเค้าเหยี่ยว ชื่อญี่ปุ่น “Aobazuku” Selected
    เป็นอีกนกชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยของผู้คนมากที่สุด ทำรังตามต้นไม้ใหญ่ตามศาลเจ้า วัดในเมือง ชื่อนกเค้าเหยี่ยว (Aobazuku) มีการตั้งชื่อจากการทีเริ่มมีใบไม้เขียวขึ้นแน่นหนา จึงตั้งชื่อนี้ ตัวผู้กับตัวเมียสีเหมือนกัน หัวกลมสีน้ำตาลเข้ม มีลักษณะที่โดดเด่นคือ มีดวงตาสีเหลืองทอง ตอนกลางวันจะนอนหลับพักผ่อนบนต้นไม้ พอตกเย็นจะร้อง 「 โฮทโฮท, โฮทโฮท」 เป็นการส่งสัญญานว่าจะออกล่าเหยื่อทั้งตัวผู้และตัวเมีย จะไปบินรวมตัวกันที่โคมไฟในเมืองเพื่อดักจับมอดหรือแมลงทับกิน ค้างคาว หรือ นกเล็ก ๆด้วย ช่วงฤดูผสมพันธ์คือเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน จะทำรังตามช่องว่างของสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ หรือต้นไม้ใหญ่ วางไข่ทีละ 2-5 ฟอง ตัวเมียกกไข่ ตัวผู้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยและหาอาหาร พอหน้าหนาวจะหลบความหนาวมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ●ขนาด/ประมาณ 29 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 5-10
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าหน้าใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกกระเต็นน้อยธรรมดา ชื่อญี่ปุ่น “Kawasemi” วงศ์: นกกระเต็นน้อย
    นกกระเต็นน้อยธรรมดา ชื่อญี่ปุ่น “Kawasemi”
    นกกระเต็นน้อยธรรมดา ชื่อญี่ปุ่น “Kawasemi” วงศ์: นกกระเต็นน้อย
    ปีกสีฟ้าเป็นเงางามสวยมาก เรียกว่าเป็นอัญมณีแห่งลำธาร
    มีสีส้มที่หน้าอกดูโดดเด่น ตัวผู้กับตัวเมียสีเกือบเหมือนกัน แต่ตัวเมียจงอยปากด้านล่างเป็นสีแดง นั่นคือจุดที่มองเห็นความแตกต่าง
    จะอยู่อาศัยตามบ่อน้ำตามภูเขา แม่น้ำหรือบึง และยังสามารถพบเห็นได้ตามริมน้ำในเมืองด้วย จะสร้างอาณาเขตของตัวเอง และนอกเหนือจากฤดูผสมพันธ์จะอยู่ตัวเดียว จะเกาะตามยอดกิ่งไม้ที่โผล่พ้นผิวน้ำหรือริมรั้ว ล่าเหยื่อโดยการบินโฉบไปมาเหนือน้ำเพื่อจับปลา กู้ง แมลงน้ำ โดยการทิ้งดิ่งตัวจากกลางอากาศลงสู่พื้นน้ำเพื่อฉกเหยื่อ ในฤดูผสมพันธ์ ตัวผู้จะร้องหาคู่ 「จิ๊ด ทซือปีด,จิ๊ด ทซือปีด,」 โดยจะร้องไปด้วยและบินไปรอบ ๆ ตัวเมีย ช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคมเป็นช่วงฤดูผสมพันธ์ จะทำรังโดยการขุดรูลงไปในดินให้เป็นโพรงที่ริมน้ำ วางไข่ครั้งละประมาณ 5-7 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 17 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกหัวขวานแคระญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Kogera” วงศ์: นกหัวขวาน
    นกหัวขวานแคระญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Kogera”
    นกหัวขวานแคระญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Kogera” Selected
    เป็นนกหัวขวานที่เล็กที่สุดเท่าที่พบเห็นได้ที่ญี่ปุ่น
    ตัวผู้และตัวเมียมีสีเกือบเหมือนกันแต่ตัวผู้ด้านหลังหัวจะมีลายสีแดงเล็กๆ
    อาศัยอยู่ในป่าตามภูเขา แต่ปัจจุบันมีการขยายพันธ์เป็นจำนวนมากและกระจายอยู่ตามสวนสาธารณะในเมือง ชอบอาศัยเป็นคู่หรืออยู่ตัวเดียว โดยจะอยู่ปะปนกับฝูงนกกระจาบ ย้ายจากต้นหนึ่งไปสู่อีกต้นหนึ่งเพื่อหาอาหาร เช่นแมงมุม หรือแมลง หรืออาจเป็นน้ำหวานของดอกซากุระโดยใช้ลิ้นในการดูดน้ำหวาน ในฤดูผสมพันธ์ใช้เสียงร้องหาคู่ 「เกียー、เกียเกียกิกิกิ 」 ใช้ปากเจาะต้นไม้เป็นจังหวะ โคะโละโละโละโละ・・・ (เหมือนตีกลอง)เพื่อให้เป็นโพรงและทำรังในนั้น โดยจะเลือกต้นไม้ที่แห้งแล้ว ในการทำรังนั้นก็จะชอบต้นซากุระหรือต้นไม้ที่มีเห็ดเล็กๆขึ้น
    ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน จะวางไข่ทีละประมาณ 5 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 15 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกหัวขวานท้องแดง ชื่อญี่ปุ่น “Akagera” วงศ์: นกหัวขวาน
    นกหัวขวานท้องแดง ชื่อญี่ปุ่น “Akagera”
    นกหัวขวานท้องแดง ชื่อญี่ปุ่น “Akagera” วงศ์: นกหัวขวาน
    อาศัยอยู่ในป่าบนต้นไม้โดยจะอยู่ตัวเดียวหรืออยู่เป็นคู่ ขนนกตรงท้องถึงหางจะเป็นสีแดงดูสะดุดตามาก ตัวผู้และตัวเมียมีสีเกือบเหมือนกันแต่ตัวผู้ด้านหลังหัวเป็นสีแดง ตัวเมียเป็นสีดำทำให้สามารถแยกแยะได้
    จะเกาะตามลำต้นของต้นไม้และจับตัวอ่อนของแมลงจากรอยแตกของต้นไม้ออกมากิน บางครั้งก็กินลูกองุ่นหรือลูกมะม่วงหิมพานต์ ชอบอาศัยอยู่ในป่าเป็นส่วนใหญ่ จะลงมาหาอาหารตามพื้นที่ในพืชไร่หรือทุ่งหญ้าเตี้ยๆ เสียงร้องปกติคือ「เคียทเคียท」แต่ถ้าบินไปด้วยจะร้อง「แคะและแคะและแคะและ」 เมื่อถึงฤดูผสมพันธ์คือช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมจะเจาะต้นไม้มีเสียงดังเหมือนตีกลอง 「โคะโละโละโละโละ・・・」 โดยเลือกต้นไม้ที่ยังไม่แห้งหรือต้นที่แห้งแล้วของต้นสนแดงญี่ปุ่นหรือต้นเบิร์ชสีขาวญี่ปุ่นเพื่อทำรังและทำการวางไข่ทีละประมาณ 5-7 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 24 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่ง ๆ จะอยู่ที่เดิม ๆ )

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกหัวขวานสีเขียวญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Aogera” วงศ์: นกหัวขวาน
    นกหัวขวานสีเขียวญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Aogera”
    นกหัวขวานสีเขียวญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Aogera” Selected
    เป็นนกหัวขวานที่อาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นเท่านั้น โดยจะอาศัยตามพื้นที่ราบไปถึงป่าในภูเขาตั้งแต่แถวฮอนชูไปทางตอนใต้ ปัจจุบันสามารถพบรังของมันได้ที่ต้นซากุระในสวนสาธารณะ ด้านหลังลำตัวมีสีเขียวแต่งแต้มด้วยสีเทา หัวกับจงอยเป็นสีแดงดูสวยงามและโดดเด่นมาก ตัวผู้กับตัวเมียสีเกือบเหมือนกันแต่ตัวผู้เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วส่วนสีแดงจะเยอะกว่าโดยจุดสังเกตคือส่วนหัวทั้งหมดจะเป็นสีแดง ย้ายจากต้นไม้ไปสู่อีกต้นหนึ่งเพื่อจับแมลง หรือแมงมุมที่เกาะบนต้นไม้มากิน บางทีก็ลงมาเล่งหามดตามพื้นดิน ในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวจะกินผลไม้หรือผลของต้นไม้ ฤดูผสมพันธ์คือ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน มีเสียงร้อง 「 เพียวー、เพียวー」เสียงเหมือนนกหวีด เจาะต้นไม้เสียงเหมือนดีกลอง (「โคะโละโละโละโละ・・・」) เพื่อสร้างรัง ส่วนใหญ่จะเลือกเจาะต้นไม้ที่ยังไม่แห้ง ในแต่ละครั้งจะวางไข่ประมาณ 7-8ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 29 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกเเซวสวรรค์หางดำ ชื่อญี่ปุ่น “Sankouchou” วงศ์: นกแซวสวรรค์
    นกเเซวสวรรค์หางดำ ชื่อญี่ปุ่น “Sankouchou”
    นกเเซวสวรรค์หางดำ ชื่อญี่ปุ่น “Sankouchou” Selected
    ประมาณเดือนเมษายนจะอพยพกลับมาจากทางเอชียตะวันออกเฉียงใต้หลังจากที่หมดฤดูหนาว โดยจะผสมพันธ์กันตามพื้นที่ราบไปถึงป่าในภูเขา มักได้ยินเสียงร้องเป็นTsukiーHiーHo-ShiーHoiHoi」 จึงมีการตังชื่อจากเสียงร้องที่ได้ยินเป็น"ซาน-โค-โจ" มีลักษณะพิเศษคือที่จงอยปากและบริเวณรอบดวงตาเป็นสีฟ้าสดใส หางของตัวผู้จะยาวกว่าลำตัว3เท่า ส่วนตัวเมียจะหางสั้นทำให้สามารถแยกแยะได้ทันทีที่เห็น
    ชอบอาศัยอยู่ในป่ารกทึบ บินวนไปมาอย่างว่องไวปราดเปรียวเพื่อจับแมลงหรือแมงมุมที่ปลายของใบไม้กิน ตัวผู้จะสร้างอาณาเขตของตัวเอง เมื่อมีผู้บุกรุกจะไล่ทันที ฤดูผสมพันธ์คือ เดือนพฤษภาคมถึงประมาณเดือนกรกฎาคม สร้างรังโดยเอาตะไคร่น้ำหรือใยแมงมุมมาติดระหว่างกิ่งไม้เพื่อทำรังเป็นรูปทรงกรวยกลับก้านเหมือนหมวกสามมุม วางไข่ครั้งละประมาณ 3-5 ฟอง

    ●ขนาด/ตัวผู้ 45 ซม.(รวมขนหาง)ตัวเมีย 18 ซม.
    ●ฤดู/ประมาณเดือน4~8
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าหน้าใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกอีเสือน้ำตาล ชื่อญี่ปุ่น”Mozu” วงศ์: นกเสือ
    นกอีเสือน้ำตาล ชื่อญี่ปุ่น”Mozu”
    นกอีเสือน้ำตาล ชื่อญี่ปุ่น”Mozu” วงศ์: นกเสือ
    อาศัยอยู่ในสถานที่โล่งแจ้ง มีต้นไม้และพุ่มไม้เตี้ย
    ด้านหลังของตัวผู้เป็นสีเทาลวดลายเส้นสีดำผ่านตา ตัวเมียตรงอกถึงท้องมีลวดลายเป็นสะเก็ด กินกบและแมลง หรืออาจล่านกเล็กเป็นอาหารด้วย นกอีเสือมีนิสัยที่ชอบเอาเหยื่อที่จับได้มาเสียบกับกิ่งไม้เล็กหรือหนาม อันนี้เรียกว่า「Hayanie ของนกอีเสือ」
    นอกจากนั้นยังเป็นนกที่มีศิลปะในการเลียนแบบเสียงร้องของนกอื่นเช่นนกแว่นตาขาวญี่ปุ่นได้เก่ง ฤดูผสมพันธ์คือ จากเดือนมีนาคมถึงประมาณเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบกับนกชนิดอื่นจะเลี้ยงลูกและโตเร็วกว่าคือ ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิและต้นฤดูร้อน โดยจะอยู่กันเป็นคู่
    สร้างรังโดยนำเอาก้านของดอกไม้หรือเศษไม้เลื่อยมารวมกันเป็นรูปถ้วยบนต้นไม้มาทำรัง ไข่แต่ละครั้งประมาณ 4-6 ฟอง
    พอเข้าฤดูใบไม้ผลิชอบอยู่ตัวเดี่ยว มีเสียงร้อง「คิーคิริคิริ」เพื่อประกาศอาณาเขตด้วยเสียงคมชัดสูง และมีต่อสู้กันบ่อย

    ●ขนาด/ประมาณ 20เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ) หรือว่า
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป
  • นกปีกลายสก๊อต ชื่อญี่ปุ่น “Karasu” วงศ์ กา
    นกปีกลายสก๊อต ชื่อญี่ปุ่น “Karasu”
    นกปีกลายสก๊อต ชื่อญี่ปุ่น “Karasu” Selected
    ตัวผู้และตัวเมียมีสีลำตัวเกือบเหมือนกันคือเป็นสีน้ำตาล ส่วนห้วมีลวดลายสีขาวสลับดำ ที่ปีกมีลวดลายสีดำ ขาว ฟ้า เวลาบินจะเด่นสะดุดตามาก อาศัยในพื้นที่ราบหรือป่าโปร่งในพื้นที่ภูเขา นอกจากฤดูผสมพันธ์จะรวมตัวกันเป็นฝูงเล็กๆ ลักษณะการเดินจะกระโดดไปบนต้นไม้หรือตามพื้นดินเพื่อหาแมลง จิ้งเหลน ผลไม้กินเป็นอาหาร
    อาหารที่ชื่นชอบคือลูกโอ๊ก โดยมีนิสัยซ่อนไว้ตามช่องว่างระหว่างต้นไม้หรือฝั่งดินเพื่อสะสม และค่อยมากินทีหลังแต่ส่วนมากมักถูกลืม
    ปกติร้องเสียง「แจะー、แจ-อิ」ด้วยเสียงแหบแห้ง แต่ก็มีความชำนาญในการเลียนแบบเสียงร้องของนกชนิดอื่นเช่น นกเล็กๆหรือเหยี่ยว
    จากช่วงเดือนเมษายนถึงประมาณเดือนมิถุนายนคือช่วงฤดูผสมพันธ์ วางไข่ครั้งละประมาณ 5-6 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 33 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกเจย์สี่เทา ชื่อญี่ปุ่น “Onaga” วงศ์ กา
    นกเจย์สี่เทา ชื่อญี่ปุ่น “Onaga”
    นกเจย์สี่เทา ชื่อญี่ปุ่น “Onaga” วงศ์ กา
    เป็นนกในกลุ่มของกา พบเห็นได้ตามบ้านพักอาศัยหรือป่าในภูเขา
    ถ้าเอาอาหารมาวางไว้ตามถาดอาหารก็มักจะมารวมตัวกัน ร้อง「เกิยวーอิ、แกะー、พิวーอิ」ด้วยเสียงดังจอแจ
    ตัวผู้กับตัวเมียสีเหมือนกัน หัวสีดำเหมือนสวมหมวกกลม ๆ
    ปีกและขนหางยาวเป็นสีฟ้าสีเทา ส่วนอกและคอเป็นสีขาว
    จะอยู่กันเป็นฝูงแล็ก ๆ บินวนไปมาเพื่อหาอาหารโดยไม่ได้กำหนดพื้นที่ชัดเจน เมื่อมี1ตัวมีการย้ายหรืออพยพตัวอื่น ๆ ก็จะย้ายตามกระจายเป็นวงกว้างกลายเป็นไปทั้งฝูง ลักษณะการเดินแบบกระโดดบนพื้นดินหรือบนต้นไม้เพื่อกิน แมลง ผลไม้ หรือบางครั้งเป็นไข่นกหรือลูกนกของนกชนิดอื่นด้วย ในตอนเช้าจะบินวนเวียนในเขตเมืองตามสวนและสวนสุขภาพเพื่อหาอาหาร ตอนกลางวันจะอยู่บนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่
    ฤดูผสมพันธ์คือ จากเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม
    จะเอากิ่งไม้มากองกันบนต้นไม้ในเมืองหรือในป่าเพื่อทำรัง วางไข่ครั้งละประมาณ 7-8 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 37 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • กาชนิดที่กินซากเน่า ชื่อญี่ปุ่น “Hashibosokukarasu “ วงศ์ กา
    กาชนิดที่กินซากเน่า ชื่อญี่ปุ่น “Hashibosokukarasu “
    กาชนิดที่กินซากเน่า ชื่อญี่ปุ่น “Hashibosokukarasu “ วงศ์ กา
    เป็นกาที่อยู่ตามพื้นที่ราบถึงป่าในภูเขา อยู่ในเขตเมืองหรือไร่การเกษตร
    เมื่อเที่ยบกับอีกาธรรมดา"Hashibutogarasu"แล้วหัวจะเรียบกว่าและจงอยปากบางกว่า เวลาร้องจะก้มหัวลงเหมือนการคาราวะ 「เกียーเกีย」 และสามารถออกเสียง 「คะระระ」ได้ด้วย นอกจากฤดูผสมพันธ์จะทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม ตอนเข้าตรู่จะออกไปยังแหล่งอาหารเช่น ไร่หรือริมฝั่งแม่น้ำ ตอนเย็นก็กลับมาพักผ่อนยังพื้นที่ของตัวเอง
    กินไม่เลือกไม่ว่าจะเป็นหนู กบ ปลา แมลง เมล็ดหญ้า ผลไม้ หรือบางครั้งอาจพบเห็นพวกมันมาคุ้ยขยะเพื่อหาอาหาร ชอบเล่นแสงไฟมาก มีอยู่บ่อยครั้งที่มาคาบลูกกอล์ฟในสนามกอล์ฟไปเล่น
    ฤดูผสมพันธ์คือ เดือนมีนาคมถึงประมาณเดือนพฤษภาคม
    ทำรังบนยอดสูงของต้นไม้โดยการเอากิ่งไม้มากองๆเป็นรูปชาม วางไข่ครั้งละประมาณ 3-6 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 50 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • อีกาธรรมดา ชื่อญี่ปุ่น “Hashibutogarasu” วงศ์ กา
    อีกาธรรมดา ชื่อญี่ปุ่น “Hashibutogarasu”
    อีกาธรรมดา ชื่อญี่ปุ่น “Hashibutogarasu” วงศ์ กา
    อาศัยอยู่ในสถานที่ที่หลากหลายของภูเขาชายฝั่งทะเล ริ่มแม่น้ำ ไร่เกษตร ในพื้นที่โล่งกว้าง ในเขตเมืองโดยอาศัยอยู่ในพื้นที่อาคารในเมือง เมื่อเทียบกับกาชนิดที่กินซากเน่าส่วนหัวจะยกขึ้นเมื่อคืนกลืนอาหาร จงอยปากจะใหญ่หนา ไม่ถูกกันกับเหยี่ยวและนกฮูกเมื่อเจอกันจะไล่ล่าหรือชวนทะเลาะ
    「กาーกาー」 ร้องด้วยเสียงที่ชัดเจน หรือเลียนเสียงหัวเราะของผู้คนก็สามารถทำได้ นอกจากฤดูผสมพันธ์จะทำกิจกรรมเป็นฝูง หลับพักผ่อนในช่วงกลางคืน กินไม่เลือกเมื่อเทียบกับนกอื่นๆ แล้วกินได้หลากหลาย
    ชอบคุ้ยเขี่ยขยะหาเศษอาหาร ชอบเก็บซากปลาหรือสัตว์ที่ตายมารวมกัน ทำรังบนต้นไม้ แตส่วนใหญ่จะพบรังบนเสาไฟฟ้าหรือเสาหอคอย ใช้กิ่งไม้กับไม้แขวนเสื้อและถุงพลาสติกมาทำรัง
    ฤดูผสมพันธ์คือ เดือนมีนาคมถึงประมาณเดือนพฤษภาคม วางไข่ครั้งละประมาณ 4-5 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 57 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกเครสต์ ชื่อญี่ปุ่น “Kikuitadaki” วงศ์ เครสต์
    นกเครสต์ ชื่อญี่ปุ่น “Kikuitadaki”
    นกเครสต์ ชื่อญี่ปุ่น “Kikuitadaki” วงศ์ เครสต์
    ในญี่ปุ่นเป็นนกที่มีน้ำหนักประมาณ 5-6 กรัมเป็นในหนึ่งในนกที่มีขนาดเล็กที่สุดอยู่ในสายพันธ์นกกระจิบ บนหัวมีขนสีเหลืองเหมือนกับดอกเบญจมาศ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นชื่อของญี่ปุ่น Kiku-Itadaki ความหมายตามอักษรคือดอกเบญจมาศบนหัว ตัวผู้กับตัวเมียสีเกือบเหมือนกัน แต่ตัวผู้มีเส้นสีแดงตามลำตัวเห็นเด่นชัดมาก จะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ที่มีใบแห้งเช่น ต้นสน ต้นไซเปรญี่ปุ่น ตามพื้นที่ที่เป็นภูเขาสูง จะมีการเคลื่อนไหวไปตามระหว่างต้นไม้ตลอดเวลา เพื่อจับแมลงและแมงมุมกินเป็นอาหาร เวลาที่ลงมาบนพื้นดินคือ เวลาที่ลงมาเล่นน้ำเท่านั้น ส่วนมากใช้ชีวิตบนต้นไม้ ร้องดัวยเสียงแหลมเหมือนตีแผ่นเหล็กว่า「ชิริริริ、ชิー」 ช่วงเดือนมิถุนายนถึงประมาณเดือนกรกฎาคมคือฤดูผสมพันธ์ ใช้ตะใคร่น้ำหรือใยแมงมุมมาทำรังแบบลูกบอลกลมๆ ไข่ครั้งละประมาณ 5-8ฟอง ฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาวจะย้ายไปทางพื้นราบหรือภูเขาเตี้ยๆ อยู่กันเป็นฝูงใหญ่รวมกับนกติ๊ตสีเทา

    ●ขนาด/ประมาณ 10 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกติ๊ดชื่อญี่ปุ่นว่า “Kogara” วงศ์ นกติ๊ด
    นกติ๊ดชื่อญี่ปุ่นว่า “Kogara”
    นกติ๊ดชื่อญี่ปุ่นว่า “Kogara” วงศ์ นกติ๊ด
    อาศัยตามป่าภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1500 เมตร แต่ผสมพันธ์กันในภูเขาเตี้ยๆ ตัวผู้กับตัวเมียสีเหมือนกัน หัวสีดำ ด้านหลังสีน้ำตาลขาว แก้มและท้องสีขาว จะชอบอยู่กันเป็นฝูงเล็กๆ ตามต้นไม้ใบใหญ่ของป่าผลัดใบเช่นKonara หรือ Kaede เป็นต้น ชอบกินแมลงหรือแมงมุมที่เกาะอยู่ตามกิ่งไม้และลำต้น บางครั้งกินเมล็ดของหญ้า หรือผลไม้
    มีนิสัยชอบสะสมผลของต้นไม้ตามช่องว่างของเปลือกต้นไม้
    ฤดูผสมพันธ์คือ จากเดือนพฤษภาคมถึงประมาณเดือนกรกฎาคม ตัวผู้จะร้อง「ฮิจโจー、จิจูー」โดยการร้องช้าๆ
    เวลาประกาศอาณาเขตจะร้องด้วยจังหวะเร็วว่า「ทซึพิทซึพิทซึพิ」
    เจาะรูที่ต้นไม้เพื่อทำรังโดยเลือกต้นที่แห้งและตายแล้ว เคี้ยวเปลือกไม้ให้นุ่มเพื่อใช้รองรัง วางไข่ครั้งละประมาณ 5~8 ฟอง
    พอเข้าฤดูหนาวจะไปใช้ชีวิตรวมกันกับนกติ๊ดชนิดอื่นเป็นส่วนใหญ่

    ●ขนาด/ประมาณ 13 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกติ๊ด มีชื่อญี่ปุ่น “Yamagara” วงศ์ นกติ๊ด
    นกติ๊ด มีชื่อญี่ปุ่น “Yamagara”
    นกติ๊ด มีชื่อญี่ปุ่น “Yamagara” Selected
    อาศัยตามพื้นที่ราบหรือในป่าภูเขาเตี้ยๆ ชอบใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้ใบกว้างที่ป่าเขียวตลอดปี เช่นต้นโอ๊คและต้นการบูร เป็นต้น
    เป็นนกที่คุ้นเคยกับผู้คนได้ง่าย พบได้บ่อยตามพื้นที่บ้านพักอาศัย
    นอกจากฤดูผสมพันธ์ชอบอยู่ตัวเดียวหรืออยู่เป็นฝูงเล็กๆ ซึ่งอาจรวมนกที่จับคู่กันอยู่ด้วยยาวไปตลอดทั้งปี ตัวผู้กับตัวเมียสีเหมือนกัน
    ปีกมีสีเทาอมฟ้า ด้านหลังและอกเป็นสีน้ำตาล(Kuriiro) โดดเด่นมาก
    กินแมลงหรือผลของต้นไม้ อาหารที่ชื่นชอบมากที่สุดคือลูกโอ๊ด จะใช้เท้าสองข้างหนีบและใช้จงอยผ่าอย่างเชี่ยวชาญ
    นอกจากนั้นยังมีนิสัยชอบเอาลูกโอ๊ดซ่อนไว้ตามช่องว่างระหว่างเปลือกไม้หรือในดินเพื่อเป็นเสบียงอาหารสำหรับช่วงฤดูหนาว
    เดือนเมษายนถึงประมาณเดือนกรกฎาคมเป็นฤดูผสมพันธ์ ตัวผู้จะร้องว่า「ทซึทซึพิーทซึทซึพี」
    การทำรังจะใช้รังร้างหรือรังเก่าของนกหัวขวาน วางไข่ครั้งละประมาณ 5-8 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 14 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกติ๊ดมีชื่อญี่ปุ่น “Higara” วงศ์ นกติ๊ด
    นกติ๊ดมีชื่อญี่ปุ่น “Higara”
    นกติ๊ดมีชื่อญี่ปุ่น “Higara” วงศ์ นกติ๊ด
    เป็นนกที่เล็กสุดในกลุ่มของนกติ๊ด
    มีลักษณะคล้ายกับนกอีก 3 ชนิดคือ Higra、Kogara、Shijugara แต่นก Higaraมีขนสีดำบนหัวเล็ก ๆ คล้ายมงกุฎ เป็นสัญลักษณ์ที่แตกต่างจากนกชนิดอื่น จะอาศัยตามพื้นที่ราบถึงป่าในภูเขา ชอบอาศัยตามต้นไม้ที่มีใบแหลม เช่น ต้นสน ต้นไซเปสญี่ปุ่น ตามพื้นที่ที่เป็นภูเขาสูง
    โดยส่วนมากจะใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้ จะย้ายจากยอดกิ่งไม้หรือปลายใบไม้จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งเพื่อหาผลของต้นไม้ ชอบกินผลไม้หรือเมล็ดพืช แมลง หรือแมงมุม ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงประมาณเดือนมิถุนายนจะเป็นฤดูผสมพันธ์ ส่งเสียงร้องเพื่อหาคู่ เกาะที่ปลายกิ่งไม้และร้อง「ทซึ ทซึทซึจิ ทซึลิลิ」 ด้วยเสียงแหลมสูงเพื่อประกาศอาณาเขต ในการสร้างจะเอาขนของสัตว์อื่นหรือตะไคร่น้ำมารองก้นรัง ซึ่งเป็นรังเก่าของนกหัวขวานหรือโพรงในต้นไม้เพื่อทำรัง วางไข่ครั้งละประมาณ 5-8 ฟอง
    นอกจากฤดูผสมพันธ์จะอยู่กันเป็นฝูงเล็ก ๆ รวมกับนกติ๊ดชนิดอื่นๆ

    ●ขนาด/ประมาณ 11 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกติ๊ดใหญ่ ชื่อญี่ปุ่น “shijū-kara” วงศ์ นกติ๊ด
    นกติ๊ดใหญ่ ชื่อญี่ปุ่น “shijū-kara”
    นกติ๊ดใหญ่ ชื่อญี่ปุ่น “shijū-kara” Selected
    ตั้งแต่คอถึงท้องมีลายเส้นสีดำเหมือนเนทไทเป็นลักษณะที่โดดเด่นมาก
    ตัวผู้กับตัวเมียมีสีเกือบเหมือนกัน แต่ตัวผู้มีลายเส้นที่กว้างกว่าเป็นจุดที่สามารถแยกความแตกต่างได้ อาศัยตามพื้นราบถึงป่าในภูเขา หรือในที่อยู่อาศัยของผู้คน หรืออาจพบได้ในสวนสาธารณะ นอกจากฤดูผสมพันธ์จะทำกิจกรรมร่วมกันเป็นฝูงเล็กๆ ไม่ค่อยกลัวคน บางครั้งถึงขั้นทำรังที่กล่องรับจดหมายหรือกระถางดอกไม้ในสวนเลยทีเดียว จับแมลงหรือแมงมุมบนต้นไม้หรือบนพื้นดินกินเป็นอาหาร และเมล็ดพืชด้วย
    หรืออาจเห็นรวมตัวกันที่ถาดอาหาร อาหารที่ชอบคือ เมล็ดทานตะวัน
    ฤดูผสมพันธ์ตัวผู้จะร้อง「ทซึทซึพีーทซึทซึพีー」
    เดิมทีจะทำรังตามช่องว่างระหว่างโขดหินหรือโพรงของต้นไม้ แต่ตอนนี้ชอบใช้รังกล่องบ่อยๆ
    จากเดือนเมษายนถึงประมาณเดือนกรกฎาคมจะวางไข่ครั้งละประมาณ7~10ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 15 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกนางแอ่น ชื่อญี่ปุ่น “Tsubame” วงศ์ นกนางแอ่น
    นกนางแอ่น ชื่อญี่ปุ่น “Tsubame”
    นกนางแอ่น ชื่อญี่ปุ่น “Tsubame” วงศ์ นกนางแอ่น
    ทุกๆปี พอเข้าฤดูใบไม้ผลิก็จะอพยพกลับจากการหลบหนาวจากทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นนกที่คุ้นเคยกับผู้คนมากเพราะทำรังและเลี้ยงดูลูกน้อยใต้ชายคาของบ้าน หรืออาศัยตามพื้นที่โล่งแจ้งเช่นตามไร่เกษตร นาข้าว ริมน้ำเป็นส่วนใหญ่ ในเขตเมืองก็พบเห็นได้บ่อย
    จะบินวนเวียนไปมาอยู่เหนือพื้นไร่นาไม่สูงมากนักเพื่อจับแมลงกิน ดื่มน้ำโดยการบินเรี่ยเหนือผิวน้ำและใช้ปากดูดน้ำ พอเข้าช่วงฤดูผสมพันธ์จะเห็นอยู่เป็นคู่ๆ และบินไปมาระหว่างนาข้าวหรือเลียบแม่น้ำเพื่อเอาเศษไม้แห้งและโคลนมาเป็นวัสดุในการทำรังอย่างแข็งขัน
    จากเดือนเมษายนถึงประมาณเดือนกรกฎาคมจะวางไข่ประมาณ3~7ฟอง โดยจะเลี้ยงลูกน้อยที่เกิดมาจนเติบโตและสามารถบินไปรวมกับฝูงได้และหลับนอนที่กอของต้นกก(สถานที่ที่ต้นกกเยอะ) เมื่อเข้าฤดูใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้

    ●ขนาด/ประมาณ 17 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 3〜10
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าหน้าใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )
  • นกนางแอ่นขาวมาร์ติน ชื่อญี่ปุ่น”Iwatsubame “ วงศ์ นกนางแอ่น
    นกนางแอ่นขาวมาร์ติน ชื่อญี่ปุ่น”Iwatsubame “
    นกนางแอ่นขาวมาร์ติน ชื่อญี่ปุ่น”Iwatsubame “ Selected
    เมื่อเข้าฤดูใบไม้ผลิจะบินมาจากทางใต้เร็วกว่านกนางแอ่นชนิดอื่นเล็กน้อย ลำตัวจะค่อนข้างเล็กและขนปีกจะสั้น ส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลแดงจากหัวผ่านมาถึงลำคอ แต่นกนางแอ่นขาวมาร์ตินมีลำคอสีขาว ชอบอยู่เป็นฝูงในพื้นที่ราบและป่าเปิดในภูเขาสูง จับเหยื่อขณะบินได้เช่นยุง มอด แมลงวัน เดิมทีจะสร้างรังกันเป็นกลุ่มตามถ้ำตามชายฝั่งหรือผนังหินของภูเขาเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันจะทำรังใต้ชายคาบ้าน ใต้สะพาน สถานีต่าง ๆ หรือ ซอกตึก เป็นต้น
    จากเดือนเมษายนถึงประมาณเดือนสิงหาคมจะเข้าฤดูผสมพันธ์ ตัวผู้จะร้อง「พิริท、จูริ、จิท」
    สร้างรังเป็นรูปถ้วยโดยการเอาหญ้าแห้งและโคลนมายึดติดด้วยน้ำลายของตัวเอง วางไข่ครั้งละประมาณ3~4ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 15 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดืนอ 3~10
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าหน้าใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )
  • นกปรอทหูสีน้ำตาล ชื่อญี่ปุ่น “Hiyo-dori” วงศ์ นกปรอท
    นกปรอทหูสีน้ำตาล ชื่อญี่ปุ่น “Hiyo-dori”
    นกปรอทหูสีน้ำตาล ชื่อญี่ปุ่น “Hiyo-dori” Selected
    อาศัยตามพื้นที่ราบหรือในป่าบนภูเขา หรือบางครั้งก็พบได้ในเมือง
    ร้องเสียงดังว่า「พีー、พีー、ฮิーโย、ฮิーโย」 จึงเป็นที่มาของชื่อญี่ปุ่น "Hiyo-dori" สวนมากจะใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้ จะไม่ค่อยลงมาที่พื้นดิน
    กินผลไม้ น้ำหวานของดอกไม้ แมลง หรือบางครั้งก็ลูกนกชนิดอื่น รวมทั้งจิ้งแหลนด้วย นกปรอทมีหูสีน้ำตาล เดิมทีในช่วงฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูร้อนจะเลี้ยงลูกอ่อนตามภูเขา ฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาวจะย้ายมาอยู่แถบที่อบอุ่นที่เป็นพื้นที่ราบ แต่ปัจจุบันพบว่ามาทำรังบนต้นไม้ในสวนสาธารณะหรือบ้านพักอาศัยตลอดทั้งปี และมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นด้วย
    ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงประมาณเดือนกรกฎาคมเป็นฤดูผสมพันธ์ สร้างรังโดยนำกิ่งไม้แห้งมากอง ๆ หรืออาจมีเชือกพลาสติกมาเป็นวัตถุดิบก็มี วางไข่ครั้งละประมาณ 4~5 ฟอง

    พอเข้าฤดูใบไม้ร่วงจะรวมตัวกันเป็นฝูงร้อยกว่าตัว และอพยพไปยังสถานที่อบอุ่นเป็นระยะทางสั้นๆ (จะมีการโยกย้ายที่อยู่ตามฤดูกาล)



    ●ขนาด/ประมาณ 28 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ) หรือว่า
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป )
  • นกกระจิบ ชื่อญี่ปุ่น “Uguisu” วงศ์ นกกระจิบ
    นกกระจิบ ชื่อญี่ปุ่น “Uguisu”
    นกกระจิบ ชื่อญี่ปุ่น “Uguisu” Selected
    มีเสียงร้อง 「โฮ-โฮเคะ-เคียว 」 จะร้องในช่วงฤดูผสมพันธ์ โดยตัวผู้จะร้องเพื่อประกาศอาณาเขต ส่วนตัวเมียจะร้อง「จิ๊ด,จิ๊ด」
    อาศัยอยู่ตามป่าไม้ พุ่มไม้ หรือทุ้งหญ้าตามพื้นราบถึงพื้นที่เป็นภูเขาในช่วงฤดูหนาวจะพบเห็นตามสวนสาธารณะในเมืองเต็มไปหมด
    ตัวผู้กับตัวเมียมีสีเหมือนกัน โดยลำตัวเป็นสีเขียวแต่งแต้มด้วยสีเทา
    บนตาจะมีแถบสีเทาอ่อน นอกจากฤดูผสมพันธ์จะอยู่ตัวเดียว จะกินแมลงหรือแมงมุม อาหารที่ชอบจะเป็นลูกพลับ
    หยุดพักตามกิ่งไม้ระหว่างบินในระยะใกลแต่ก็ไม่ได้บินระยะทางไกลมาก บินไปรอบในพุ่มไม้ ใช้วิธีหวดหรือโบกหางเพื่อบินเปลี่ยนทิศทางบิน
    ฤดูผสมพันธุ์จากเมษายน-สิงหาคม สร้างรังด้วยหญ้าสีเงินหรือหญ้าไม้ไผ่แห้งในพุ่มไม้โดยทำเป็นรูปทรงกลม วางไข่ครั้งละประมาณ 4-6 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 15 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ) หรือว่า
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกกระจิบหัวลาย ชื่อญี่ปุ่น”Yabuame” วงศ์ นกกระจิบ
    นกกระจิบหัวลาย ชื่อญี่ปุ่น”Yabuame”
    นกกระจิบหัวลาย ชื่อญี่ปุ่น”Yabuame” Selected
    เมื่อเข้าฤดูใบไม้ผลิ จะบินอพยพกลับมาจากทางใต้เมื่อพ้นฤดูหนาว
    จะอาศัยในซุ่มป่าไม้ไผ่ที่เขียวชอุ่มที่มีแสงรำไร และเนื่องจากเป็นนกที่อาศัยอยู่แต่ในพุ่มไม้จึงไม่ค่อยเจอ นอกเหนือจากฤดูผสมพันธ์จะชอบอยู่ตัวเดียวมากกว่า ใช้วิธีเดินแบบกระโดดในพุ่มไม้หรือบนพื้นดินเพื่อหาแมลงหรือแมงมุมกิน ลักษณะการเคลื่อนไหวนั้นดูแล้วคล้ายหนู
    ตัวผู้กับตัวเมียมีสีเหมือนกัน ลำตัวมีสีน้ำตาล ส่วนหัวเป็นลายสีขาวเหมือนคิ้ว ขนหางสั้น จากช่วงเดือนพฤษภาคมถึงประมาณเดือนกรกฎาคม เป็นฤดูผสมพันธ์ ตัวผู้จะร้องหาคู่ว่า 「ชินชินชิน」 ร้องเหมือนเสียงแมลง เวลาที่อยู่ในอาณาเขตของตัวเองจะร้องเสียง「จาท จาท」เพื่อเป็นการเตือนให้นกตัวอื่นถอยห่าง สร้างรังเป็นรูปถ้วยโดยนำเอาใบไม้ร่วงหรือตะไคล่น้ำมากองที่พื้นที่ลุ่มบนพื้นดินหรือบนโคลนต้นไม้วางไข่ครั้งละประมาณ 5-7 ฟอง
    ฤดูใบไม้ร่วงพอเลี้ยวลูกโตเต็มวัยจะอพยพลงใต้

    ●ขนาด/ประมาณ 11 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณ 4~10
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าหน้าใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )
  • นกติ๊ดตัวน้อยตัวนิด ชื่อญี่ปุ่น “Enaga” วงศ์ นกติ๊ต
    นกติ๊ดตัวน้อยตัวนิด ชื่อญี่ปุ่น “Enaga”
    นกติ๊ดตัวน้อยตัวนิด ชื่อญี่ปุ่น “Enaga” Selected
    ในญี่ปุนเป็นนกที่มีจงอยปากสั้นที่สุด
    ลำตัวมีรูปร่างกลมตัวเล็ก มีขนหางยาวเป็นจุดที่โดดเด่นมาก
    ตัวผู้และตัวเมียมีสีเหมือนกัน หัวสีขาวจะมีลวดลายเส้นสีดำบนตา
    บนไหล่มีขนสีองุ่นอ่อนปนอยู่ อาศัยอยู่ตามพื้นราบหรือป่าสนในภูเขาจะพบเห็นตามสวนสาธารณะหรือ ย่านที่อยู่อาศัยที่มีต้นไม้จำนวนมาก
    มีร้องเสียง 「จิวริ,จิวริ,ชิริริ,จี-จี」 ทั้งปีโดยไม่เกี่ยวกับฤดูผสมพันธ์
    นอกจากฤดูผสมพันธ์แล้วจะใช้ชีวิตเป็นฝูงเล็ก ๆ อาศัยอยู่ปะปนกับนกชนิดอื่นเช่นนกติ๊ตใหญ่ เป็นต้น จับแมลงหรือแมงมุมตามปลายกิ่งไม้เป็นอาหาร หรือกินผลของต้นไม้ด้วย ในต้นฤดูใบไม้ผลิจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นไม้เช่นต้นเมเปิ้ลเป็นต้น ฤดูผสมพันธ์คือช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน สร้างรังโดยใช้ใยแมงมุมเป็นกาวติดกับตะไคร่น้ำเพื่อทำรังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนกิ่งไม้ วางไข่ครั้งละประมาณ 7-12 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 14 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกกระจิ๊ดหัวมงกุฎ ชื่อญี่ปุ่น”Sendaimushikui” วงศ์ นกกระจิบ
    นกกระจิ๊ดหัวมงกุฎ ชื่อญี่ปุ่น”Sendaimushikui”
    นกกระจิ๊ดหัวมงกุฎ ชื่อญี่ปุ่น”Sendaimushikui” Selected
    เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิจะอพยพกลับมาจากทางใต้หลังจากย้ายไปถิ่นอื่นในช่วงฤดูหนาว จะใช้ชีวิตในป่าต้นไม้ผลัดใบกระจายในวงกว้างเช่นใบเมเปิ้ลและ ต้นKonaraของภูเขาต่ำ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูใบไม้ร่วงจะสามารถพบเห็นได้ตามย่านที่อยู่อาศัยหรือในสวนสาธารณะ
    ตัวผู้กับตัวเมียสีเหมือนกัน ตั้งแต่หัวถึงด้านหลังมีสีเขียวเข้ม บนตามีเส้นลายสีขาวเหมือนคิ้ว มีการเคลือนไหวอยู่ตลอดเวลาบนกิ่งไม้ จะหยุดนิ่งที่ปลายของใบไม้เพื่อจับแมลงหรือแมงมุมที่อยู่ตามใบไม้กิน
    ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนเป็นฤดูการผสมพันธ์ตัวผู้จะร้อง 「โจ โจ บิด 」, ได้ยินเหมือน 「โ ชจู อิท ปาย กึ~อิ 」
    สร้างรังด้วยหญ้าแห้งที่เก็บมาจากพื้นตามที่ลุ่มของฝั่งหรือพื้นดินในป่าลักษณะรังตรงทางเข้าจะเอียงเป็นรูปทรงบอลที่ว่างเปล่า,วางไข่ครั้งละประมาณ 5-6 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 13 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 4~10
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าหน้าใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )
  • นกแว่นตาขาว ชื่อญี่ปุ่น”Mejiro” วงค์ นกแว่นตาขาว
    นกแว่นตาขาว ชื่อญี่ปุ่น”Mejiro”
    นกแว่นตาขาว ชื่อญี่ปุ่น”Mejiro” Selected
    อาศัยตามพื้นที่ราบถึงป่าตามภูเขาต่ำ ๆ ตามสวนสาธารณะและสวนขนาดใหญ่ หรือสวนในบ้าน ตัวเมียและตัวผู้มีสีเหมือนกัน
    ตั้งแต่หัวถึงด้านหลังมีสีเขียวเหลือง รอบ ๆ ตามีวงสีขาวดูสะดุดตา
    ในแต่ละปีส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตเป็นคู่ เดินวนไปมาบนต้นไม้เพื่อหาแมงมุมหรือแมลงกินเป็นอาหาร เมื่อเอาอาหารมาวางที่ถาดอาหารจะมาร่วมวงกินทันที ชอบกินส้มเขียวหวานหรือแอปเปิล หรือบางที่อาจจำพวกน้ำผลไม้ด้วย ช่วงฤดูดอกไม้บานจะชอบกินน้ำหวานจากดอกเคมีเลียและดอกซากุระ ดอกบ๊วย และกินเกสรดอกไม้ด้วย ช่วงนี้จะเห็นที่ลำตัวของมันมีผงของเกสรดอกไม้เต็มไปหมด เปรียบเสมือนทำหน้าทีในการผสมเกสร ฤดูผสมพันธ์คือช่วงเดือนเมษายนถึงประมาณเดือนมิถุนายน จะทำรังเป็นรูปถ้วยโดยการนำใยแมงมุมมาร้อยก้านหญ้าและตะไคร่น้ำที่กิ่งไม้เตี้ยๆ วางไข่ทีละประมาณ 3-5 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 12 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกชื่อญี่ปุ่น”Kirenjaku” วงศ์ นกปีกขี้ผึ้ง
    นกชื่อญี่ปุ่น”Kirenjaku”
    นกชื่อญี่ปุ่น”Kirenjaku” วงศ์ นกปีกขี้ผึ้ง
    กลับมาจากหลบฤดูหนาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในไซบีเรีย ประมาณเดือนตุลาคมมายังป่าภูเขาและที่ราบ พบได้มากทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ที่ฮอกไกโดจะพบเห็นตามต้นไม้ข้างถนนและสวนสาธารณะตัวผู้กับตัวเมียมีสีเกือบเหมือนกัน ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงและมีแถบสีเหลืองที่ปลายหางสีดำ ที่หัวจะมีขนเหมือนมงกุฎ เวลาตื่นเต้นจะตั้งขึ้นเห็นได้ชัดเจน จะชอบอยู่ด้วยกันเป็นฝูง และอยู่ตามกองใบไม้กว้างที่ร่วงแล้ว มีเสียงร้อง 「จิริจิริจิริ」 เหมือนเสียงระฆัง อาหารที่ชื่นชอบคือ ผลของต้นไม้เช่น Yadorigi,Ibotanoki,Nanakama เป็นต้น และกินผลของต้นไม้อื่นด้วย บางครั้งบินจับแมลงกลางอากาศมากิน เมื่อถึงช่วงเวลาย้ายถิ่นบางปีก็มีการย้ายถิ่น( (การโยกย้ายที่อยู่ตามฤดูกาล)) แต่บางปีก็ไม่มีการย้ายถิ่นเลย

    ●ขนาด/ประมาณ 20 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 10~5
    นกฤดูหนาว(Fuyudori:เป็นนกที่เข้ามาหลบหนาวตอนฤดูใบไม้ร่วง พอฤดูใบไม้ผลิก็อพยพไป)
  • นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Hirenjaku” วงศ์ นกปีกขี้ผึ้ง
    นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Hirenjaku”
    นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Hirenjaku” Selected
    ในช่วงเดือนตุลาคมจะมาหลบฤดูหนาวอยู่ที่ญี่ปุ่นโดยอพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรีย จะอาศัยตามป่าภูเขาต่ำ สามารถพบเห็นได้บ่อยตามย่านที่อยู่อาศัยหรือสวนสาธารณะ ดูผิวเผินมีลักษณะเหมือนกับสายพันธ์ Garrulus Bombycilla ที่หัวจะมีขนเหมือนมงกุฎ และที่ลำตัวจะมีสีน้ำตาลแดงเหมือนกัน เสียงร้องก็ 「จิริจิริจิริ」 คล้ายๆกัน จุดที่แตกต่างกันคือ ลำตัวของนกชนิดนี้จะเล็กกว่า ขนหางมีสีดำที่ปลายมีลวดลายสีแดง ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตลอด จะเกาะตามกิ่งไม้1กิ่งกันเป็นกลุ่มๆ หรือเกาะเรียงกันตามสายไฟฟ้า เวลาออกบินจะบินพร้อมกัน กินผลไม้คืออาหารที่ชื่นชอบ หรือแมลงที่จับได้กลางอากาศขณะบิน อพยพไปทางเหนือประมาณปลายเดือนพฤษภาคมก่อนเข้าช่วงฤดูร้อน

    ●ขนาด/ประมาณ 18 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 10~5
    นกฤดูหนาว(Fuyudori:เป็นนกที่เข้ามาหลบหนาวตอนฤดูใบไม้ร่วง พอฤดูใบไม้ผลิก็อพยพไป)
  • นกไต่ไม้ ชื่อญี่ปุ่น”Gojukara” วงศ์ นกไต่ไม้
    นกไต่ไม้ ชื่อญี่ปุ่น”Gojukara”
    นกไต่ไม้ ชื่อญี่ปุ่น”Gojukara” วงศ์ นกไต่ไม้
    จะชอบอยู่ตามป่าที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่ผลัดใบของต้นไม้ใบกว้างเช่น ต้นเซลโคว่า(zelkova) ชอบอยู่ตัวเดียว หรือบางครั้งอยู่เป็นคู่ ชอบทำกิจกรรมร่วมกับนกติ๊ดหลังสีไพล นิวเท้าจะแข็ง และมีจงอยปากแข็งแรงแหลมคมอย่างเห็นได้ชัด สามารถคว่ำหัวลงและเคลื่อนไหวไปๆมาได้ จับแมลงและแมงมุมกินเป็นอาหาร หรือผลไม้ที่เปลือกแข็งจะเอาไปหนีบที่รอยแตกของต้นไม้แล้วแทะกิน ตัวผู้กับตัวเมียสีเกือบเหมือนกัน บนหัวถึงหลังจะเป็นสีฟ้าเทา จากหางตาจะมีเส้นสีดำ
    ประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนเป็นช่วงฤดูผสมพันธ์ ตัวผู้จะร้อง「ฟรีฟรี」ด้วยเสียงสูง การทำรังจะอาศัยรังเก่าของนกหัวขวาน
    และต่อเติมใหม่โดยทำทางเข้าให้แคบลงด้วยการเอาดินโคลนมาพอกใช้ใบไม้ที่ร่วงหรือเปลือกไม้มาปูที่รัง วางไข่ครั้งละประมาณ 5~8 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 14 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกกระจิบ ชื่อญี่ปุ่นว่า “Misosazai” วงศ์ นกเรน
    นกกระจิบ ชื่อญี่ปุ่นว่า “Misosazai”
    นกกระจิบ ชื่อญี่ปุ่นว่า “Misosazai” วงศ์ นกเรน
    เมื่อเทียบกับนกเครสต์ถือว่าเป็นนกเล็กอีกชนิดหนึ่ง ชอบอาศัยอยู่ในป่าทึบกลางหุบเขาและลำธาร ตัวผู้กับตัวเมียสีเหมือนกัน
    ทั่วลำตัวมีจุด ๆสีดำและพื้นสีน้ำตาลเข้ม จะไม่ค่อยห่างจากพื้นดิน ขนหางตั้งตลอดเวลาและเดินโดยการกระโดดไปมาระหว่างหินและต้นไม้ที่ล้มเพื่อกินแมลงและแมงมุม นอกจากฤดูผสมพันธ์จะใช้ชีวิตอยู่ตัวเดียว ส่วนมากแล้วจะไม่ค่อยออกมายังพื้นที่โล่งแจ้ง ฤดูผสมพันธ์คือเดือนพฤษภาคมถึงประมาณเดือนสิงหาคม ตัวผู้จะเกาะตามตอไม้หรือหิน และร้องว่า 「พีพีจิวจิวริริริ」 เสียงดังมาก ซึ่งขัดกับขนาดลำตัวที่มีขนาดเล็ก จะทำรังเป็นรูปทรงกลมเหมือนลูกบอลตามชายคาของกระท่อมน้อยในป่า ใต้สะพานข้ามแม่น้ำ ใต้โขดหิน วางไข่ครั้งละประมาณ 4-6 ฟอง
    บางครั้งวางหญ้าแห้งรอบรังเพื่อพรางไว้(เป็นการอำพรางซ่อนรังไว้)

    ●ขนาด/ประมาณ 11 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกกิ้งโครงแก้มขาว ชื่อญี่ปุ่น”Mukudori” วงศ์ นกกิ้งโครงแก้มขาว
    นกกิ้งโครงแก้มขาว ชื่อญี่ปุ่น”Mukudori”
    นกกิ้งโครงแก้มขาว ชื่อญี่ปุ่น”Mukudori” วงศ์ นกกิ้งโครงแก้มขาว
    จะอาศัยตามพื้นที่โล่งแจ้ง เช่น ไร่การเกษตร หรือริมแม่น้ำ เป็นนกที่สามารถพบเห็นได้ง่ายในเขตเมืองทั่วไป หรือสามารถเข้าใกล้ได้ด้วย
    จุดเด่นคือจงอยและเท้าเป็นสีส้ม ทั่วร่างกายเป็นสีเทาออกดำ แก้มเป็นสีขาว เนื่องจากตัวผู้หัวสีดำ ตัวเมียเป็นสีเทาจึงเป็นจุดสังเกตความแตกต่างได้ ในแต่ละปีจะอาศัยกันเป็นฝูงเป็นส่วนใหญ่ กลับรังพักผ่อนในเวลากลางคืน ในช่วงเย็น ๆของฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาวจะสามารถพบเห็นภาพที่บินกลับที่พักเป็นฝูงใหญ่มากๆ เป็นถึงหลักหมื่นตัวเลยทีเดียว กินแมลงหรือไส้เดือนเป็นอาหาร หรือกินผลไม้ด้วย โดยเฉพาะหลังจากมีการตัดหญ้าจะมีการบินมารวมตัวกันมากตามสนามหญ้าหรือทุ่งหญ้าเพื่อจับไล่แมลง เก็บขนนกหรือหญ้าแห้งมารวมกันสร้างรังในโพรงของต้นไม้ หรืออาจพบเห็นรังในที่ว่างของพนังบ้านขอบหน้าต่าง นอกจากนั้นก็มีบางตัวเข้าไปอาศัยตามกล่องรังด้วย
    ฤดูผสมพันธ์คือ จากเดือนมีนาคมถึงประมาณเดือนกรกฎาคม วางไข่ครั้งละประมาณ 5~6 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 24 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
※ใบเสนอราคาจากทาง app ภูเขาทาคาโอะ(แอนดี้)
もっと見る 閉じる