TAKAO 599 MUSEUM

ขุมทรัพย์ของภูเขาทาคาโอะ

Plants

ความหลากหลายของแมลงที่อยู่อาศัยหลายพันชนิดที่ยังมีความทับซ้อนในทาคาโอะโดยอาศัยอยู่หลายพันชนิด สามารถนับและจัดอันดับในญี่ปุ่นได้เป็นสามลำดับที่อยู่อาศัยที่สำคัญ คือ มิโน่ (โอซาก้า) และคิบูเนะ (เกียวโต) เป็นเขตของแมลงที่มีการศึกษามาเป็นเวลานาน สายพันธุ์หลากหลายเหล่านี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในทาคาโอะยังแมลงจำนวนมากที่เป็นราชาและยังมีทากาโอะ คิลฟิช และนักฆ่าวาฬซึ่งในปัจจุบันนั้นชื่อของทาคาโอะก็ยังปรากฏอยู่

  • เซมบงยาริ (เลนีเซีย อนันเดรีย) ตระกูลดอกเบญจมาศ
    เซมบงยาริ (เลนีเซีย อนันเดรีย)
    เซมบงยาริ (เลนีเซีย อนันเดรีย) ตระกูลดอกเบญจมาศ
    สมุนไพรยืนต้น (พัฒนาจากสมุนไพรที่เป็นสายพันธ์เดียวกันเป็นเวลาหลายปี) ที่พบในทุ่งหญ้าแดด จากการเจริญเติบโตในฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง ทำให้ทั้งพืชมีลักษณะที่แตกต่างกันทั้ง2ฤดู ในฤดูใบไม้ผลิเป็น 15 ซม. ความสูงและขนาดเล็กสีขาวบานสะพรั่ง ดอกไม้ที่มีแสงสีม่วงที่ด้านหลังของกลีบดอกจึงจะเรียกว่ามูราซากิ-ทังโปโป่ะ สีม่วง นอกจากนี้ยังมีลักษณะคล้ายกับดอกไดเดอไลอ้อน ในฤดูใบไม้ร่วงเติบโตของลำต้นตรงถึง 60 ซม. ดอกยาวแต่บานสวยงาม แต่จะหุบกลางดอกไว้ (เนื่องจากดอกจะผสมเกสรด้วยตัวเอง) ปกคลุมด้วยขนปุย. มีลำต้นตรงคล้ายหอกด้วยขนนก บ้างก็เรียกชื่อว่า Senbon-Yari อันหมายถึง ด้ามหอก

    ●ฤดูกาล ประมาณกลางเดือนเมษายน ถึงปลายเดือนพฤษภาคม
    ●ความสูง ฤดูใบไม้ผลิ 5-15 ซม. , ฤดูใบไม้ร่วง 30 ถึง 60 เซนติเมตร
    ●สถานที่ Trail 1 Trail 5 เมาท์อินาริ , โอขุ-ทาคาโอะ
  • นิกานา แอสเทอร์ ตระกูลดอกเบญจมาศ
    นิกานา แอสเทอร์
    นิกานา แอสเทอร์ ตระกูลดอกเบญจมาศ
    สมุนไพร ยืนต้น(พัฒนาจากสมุนไพรที่เป็นสายพันธ์เดียวกันเป็นเวลาหลายปี) พบในป่าที่โล่งกว้าง พื้นที่ในทุ่งหญ้า ในภูเขา หรือ เนินเขา . ในภเทือกเขาทาคาโอะ ตามริมถนน เมื่อเกิด รอยขีดข่วน จะปรากฏรอยเป็นสีส่วง ใบมีรสขม นำไปผลิต นมขาว จึงมีชื่อ ญี่ปุ่น นิกาน้า หมายตามตัวอักษร พืช ที่มีรสขม (มีรสขม ไม่เป็นพิษ) ลำต้น และใบ มีความบาง เรียว ยาว ด้านล่างของใบมี ฟัน ( ขอบใบเป็นเหมือนฟันเล็ก ๆ ) ดอกไม้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม. มี 5-7 กลีบ สีเหลือง มีกิ่งก้านแบ่งออกเป็นหลายแขนง และมีดอกบานกระจายอยู่ทั่ว สีของดอกที่หายาก จะเป็นสีขาว เรียกว่า Shiro - nigabana หมายถึง ดอกนิกาน้าสีขาว หากมีขนาดใหญ่โดยมีกลีบระหว่าง 7-11 กลีบ จะเรียกว่า Hana - nigana หมายถึง ดอกไม้นิกาน่ายักษ์

    ● ฤดูกาล พฤษภาคม-กรกฎาคม
    ● ความสูง ประมาณ 20 ถึง 50 ซม.
    ● สถานที่ Trail 1 Trail 5 Mt . Inari , Ura - ทาคาโอะ Oku - ทาคาโอะ
  • โนอาซามิ แอสเตอร์ ตระกูลดอกเบญจมาศ
    โนอาซามิ แอสเตอร์
    โนอาซามิ แอสเตอร์ ตระกูลดอกเบญจมาศ
    สมุนไพรยืนต้น (พัฒนาจากที่เป็นสายพันธ์เดียวกันเป็นเวลาหลายปี) พบในบริเวณภูเขาริมแม่น้ำและทุ่งหญ้า ที่มีแดดจัด มีดอกสีแดง ม่วงหันหน้าเชิดขึ้น ลำต้นตั้งตรง ดอกจะบานสะพรั่ง เป็นดอกขนาดใหญ่กว่าดอกไม้อื่น ๆ ที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน มองเห็นได้ชัดจากระยะไกล. ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 4 -5 ซม. ขอบใบมีหนามคม ซึ่งมีหลายสายพันธ์ที่มีลักษณะใกล้ๆ กันจนยากที่จะจำแนกออกได้ทั้งหมดแต่ดอกจะบานเฉพาะฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนเท่านั้น ดอกไม้นี้มีชื่อเรียกอีกชื่อ คือ azamuku หมายถึงการหลอกลวง เพราะดอกไม้มีความสวยงาม แต่ใบที่มีครีบหลังที่เป็นหนามแหลมคมเป็นอันตรายได้

    ●ฤดูกาล ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ถึงปลายเดือนมิถุนายน
    ●ความสูง ประมาณ 60 ซม. ถึง 1 เมตร
    ●สถานที่ Trail 5 อุระ-ทาคาโอะ Oku-ทาคาโอะ
  • เจอร์ซี่ แอสเทอร์ ตระกูลดอกเบญจมาศ
    เจอร์ซี่  แอสเทอร์
    เจอร์ซี่ แอสเทอร์ ตระกูลดอกเบญจมาศ
    สมุนไพรยืนต้น (พัฒนาจากสมุนไพรที่เป็นสายพันธ์เดียวกันเป็นเวลาหลายปี) ที่พบในนาข้าวริม แม่น้ำ และริมถนน ดอกไม้จะบานระหว่างฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อน แต่บางครั้งบางสายพันธ์ยังคงบานสะพรั่งตลอดจนถึงในฤดูใบไม้ร่วง ส่วนสายพันธ์ที่อยู่ในภูเขาทาคาโอะ จะพบตามถนนหนทางที่มีแดดจัด เป็นหนึ่งในเจ็ดของสมุนไพรในฤดูใบไม้ผลิและซึ่งมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า Gogyo (หรือ Ogyo) ลำต้นมีรสขม เป็นสมุนไพรที่จำเป็นสำหรับโจ๊ก เรียกว่า Nanakusa-gayu (หมายถึง เจ็ดสมุนไพรโจ๊ก) นอกจากนี้ยังถูกใช้สำหรับการทำขนมโมจิ และในระยะหลังนำไปหมักสกัดเป็นน้ำหอมที่ยอดเยี่ยม รอบโคนต้นมักเกิดวัชพืชขึ้นบ่อย ใบและลำต้นมีขนสีขาววางอยู่หนาแน่นและมองเห็นได้ชัดจากระยะไกล ต้นจะมีการแตกหน่อมาจากพื้นดิน จำนวนใบลดลงในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิอย่างเห็นได้ชัด ดอกไม้เป็นหัวดอกไม้ ประกอบด้วยท่อหลายรูปดอกไม้สีเหลืองขนาดเล็ก

    ●ฤดูกาล เมษายน-มิถุนายน
    ●ความสูง ประมาณ 20 ถึง 30 ซม.
    ●สถานที่ Trail 1 ถึง 6, Mt. Inari, Oku-ทาคาโอะ
  • ฟิลาเดล แอสเทอร์ ตระกูลดอกเบญจมาศ
    ฟิลาเดล แอสเทอร์
    ฟิลาเดล แอสเทอร์ ตระกูลดอกเบญจมาศ
    สมุนไพรยืนต้น (พัฒนาจากสายพันธ์เดียวกัน เป็นเวลาหลายปี) เติบโตในฤดูใบไม้ผลิ และบ่อยครั้งได้พบว่า มีการเติบโตในดงบนทุ่งหญ้า มีสายพันธุ์มาจากต่างประเทศพื้นเมืองของทวีปอเมริกาเหนือ แต่นำเข้าในยุค Taisho เป็นพืชประดับ ขยายพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว การเติบโตไม่เพียงแต่เทือกเขาทาคาโอะเท่านั้น แต่ยังอยู่ในพื้นที่โล่ง และริมถนนในเมืองทั่วประเทศญี่ปุ่น เส้นผ่าศูนย์กลางดอกไม้ประมาณ 2 ซม.มีสีขาวหรือสีชมพูอ่อน ก้านดอกไม่ยาวมาก ดอกไม้บานหันหน้าขึ้นไป กลีบดอกมีความบางและมองที่ละเอียดอ่อนมาก ภาษาญี่ปุ่นชื่อ Haru-shion หมายถึง ดอกแอสเตอร์ในฤดูใบไม้ผลิ เป็นชื่อที่ไพเราะดอกไม้สีม่วงบานสะพรั่งในฤดูใบไม้ผลิ. มีผมกับพืชทั้งหมดและโพรงในลำต้น. ใบพายเรือเป็นรูปและส่วนล่างครอบคลุมลำต้น

    ●ฤดูกาล เมษายน-พฤษภาคม
    ●ความสูง ประมาณ 30-80 เซนติเมตร
    ●สถานที่ Trail 1 Trail 5 เทือกเขาอินาริ, อุร่ะ-ทาคาโอะ โอคุ-ทาคาโอะ
  • ฟูกิ แอสเตอร์ ตระกูลดอกเบญจมาศ
    ฟูกิ แอสเตอร์
    ฟูกิ แอสเตอร์ ตระกูลดอกเบญจมาศ
    สมุนไพร ยืนต้น (พัฒนาจากสายพันธ์เดียวกัน เป็นเวลาหลายปี) พบ ในแถบเนินเขา และที่ชายป่า ใกล้ลำธารในภูเขา ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิผลิดอก ออกกิ่งก้านสวยงาม (ดอกบานสะพรั่ง ไร้ใบ) และในช่วงดอกตูม นิยมที่จะนำมาประกอบอาหาร ให้รสขม รสชาติดี เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง สำหรับการเทมปุระ หรือสำหรับการหมัก ส่วนการผสมเกสร เป็นไปตามหลักการการสืบพันธ์ทางธรรมชาติ โดยละอองเกสารสีขาวของต้นตัวผู้ คล้ายขนนกจะลอยไปตามแรงลม ผสมกับเกสรในดอกตัวเมียเกิดเป็นดอกออกเมล็ด ลักษณะต้นมีการเจริญเติบโต ในแนวนอน . ดอกและใบ งอกออกมาจากลำต้น ใต้ดิน ใบมีความยาว 15 ถึง 30 ซม. และ ก้านใบยาวถึง60 ซม. ใบยังสามารถนำมาต้มหรือผัด ในการประกอบอาหารได้

    ● ฤดูกาล เดือนมีนาคมถึง เดือนพฤษภาคม
    ● ความสูง ประมาณ 10-25 เซนติเมตร
    ● สถานที่ Trail 1 Trail 4-6 , Jyataki , อุระ - ทาคาโอะ , มินามิ- ทาคาโอะ
  • ทซึรุคาโนโคโซ ตระกูลดอกวาเลนเซีย
    ทซึรุคาโนโคโซ
    ทซึรุคาโนโคโซ ตระกูลดอกวาเลนเซีย
    พืชสมุนไพรยืนต้น (ที่พัฒนาจากสมุนไพรที่เป็นสายพันธ์เดียวกันเป็นเวลาหลายปี) เจริญเติบโตดีในที่ร่ม ตามบึง ตามภูเขา เติบโตได้ดีในฤดูใบไม้ร่วง และพร้อมบานสะพรั่งในฤดูใบไม้ร่วง ชือภาษาญี่ปุ่น ทซึรถคาโนโคโซ นั้น เนื่องจากรูบร่างดอกไม้มีลักษณะคล้ายเขากวาง คาโนโคชิโบริ และคล้ายกับเคลือบด้วยสีวายน์ขาว ขณะที่ดอกบานเต็มที่ ลำต้นสามารถขยายเถาออกมาทดแทนต้นกล้าเดิม ที่หนาได้อย่างรวดเร็ว รูปร่างดอกจะออกเริ่มออกเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ ขนาดเล็กแล้ว ค่อยๆ กลายเป็นสีขาว กลีบดอกแยกออกเป็นห้ากลีบ มีละอองเกสรไม่มาก มีขอบใบหยักเหมือนฟันของเลื่อยคม ๆ แต่ถ้ายังอยู่ในฤดูใบไม้ผลิ ขอบใบจะยังไม่แหลมคม จะเหมือน ๆ กับใบไม้ทั่วๆไป มีการขยายพันธ์โดยใช้เมล็ดที่อยู่ภายในดอกที่แก่ตัวแล้ว

    ● ฤดูกาล กลางเดือนพฤษภาคมถึง ต้น ฤดู เมษายน
    ● ความสูง ประมาณ 20-40 ซม.
    ● สถานที่ ถนน 1 ~ 6 , Inariyama , Hebitaki , Uratakao
  • อินาโมริโซ ตระกุลรูเบียเซีย
    อินาโมริโซ
    อินาโมริโซ ตระกุลรูเบียเซีย
    สมุนไพรยืนต้น (พัฒนาจากสมุนไพรที่เป็นสายพันธ์เดียวกันเป็นเวลาหลายปี) ที่พบในพื้นที่เปียกชื้น ร่มรื่นที่ริมถนนใกล้ลำธาร ชื่อภาษาญี่ปุ่น Inamori เนื่องจากพบครั้งแรกในเทือกเขาอินาโมริ ในจังหวัดมิเอะ และยังพบในภูเขาทาคาโอะ แต่มีจำนวนไม่มากนก ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว หากไม่ใช่พืชยืนต้น จะไม่พบในกลางป่าเช่นนี้ได้ ขนาดของใบประมาณ 3-6 ซม. ยาวและรูปไข่ มีขนอ่อนนุ่ม. ในเทือเขาทาคาโอะ จำนวนใบจะมี 4 ถึง 6 ต่อก้าน และดอกบานแสงสีแดงสีม่วงเหมือนลอยอยู่ในอากาศ. ดอกไม้กำลัง 2.5cm ในเส้นผ่าศูนย์กลางและห้อยเป็นตุ้มในห้าที่มีขอบหยักซึ่งมีลักษณะที่ละเอียดอ่อน. ขึ้นอยู่กับสถานที่ของเกสรที่มีเกสรยาวหรือสั้น

    ●ฤดูกาล ประมารณช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ถึงปลายเดือนมิถุนายน
    ●ความสูง ประมาณ 5 ถึง 10 ซม.
    ●สถานที่ Trail 1 ~ 2, Trail 6 เทือกเขาอนาริ
  • คุวากาตะโซ ตระกูลโสม
    คุวากาตะโซ
    คุวากาตะโซ ตระกูลโสม
    สมุนไพรยืนต้น ขึ้นอยู่บนพื้นดินที่เป็นแอ่งน้ำใกล้ป่าลำธาร ดอกจะบานในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ หลังจากต้นไม้ผลิตาของกิ่งออก กลีบเลี้ยงที่มีใบรูพัด จะเริ่มผลิออก ลักษณะดอกจะบานคล้ายหมวกกันน็อกครอบ จึงมีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า Kuwagata เป็นดอกขนาดเล็ก สีของดอกมีสีแดงสีม่วงและเบ่งบาน 1-5 กลีบ จากฐานของดอกสู่ด้านบนลำต้น ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกประมาณ 1 ซม และมีเส้นสีม่วงบางแผ่จากจุดศูนย์กลางของกลีบ กลีบจานรูปที่แยกการทำดอกไม้ มีสี่กลีบ รูปทรงของใบเป็นรูปไข่ที่มีปลายแหลมคล้ายขอบฟัน ลำต้นมีขนาดใหญ่ประมาณ 3 ถึง 5 ซม. และใบมีขนสั้น ๆ อยู่รอบ ๆ

    ●ฤดูกาล ระหว่างช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ถึงต้นเดือนมิถุนายน
    ●ความสูง ประมาณ 10 ถึง 20 ซม.
    ●สถานที่ 6 อุระ - เทือกเขาทาคาโอะ
  • มูระซากิซากิโกเก่ะ ตระกูลโสม
    มูระซากิซากิโกเก่ะ
    มูระซากิซากิโกเก่ะ ตระกูลโสม
    สมุนไพรยืนต้น ที่พบในพื้นที่ที่มีแดดและแอ่งน้ำ ตามริมถนน ตามทุ่งนา.พืชมักจะครอบคลุมพื้นดินเช่นพรม, ด้วยเหตุนี้ญี่ปุ่นชื่อมูราซากิ-โคเก่ะ ซึ่งหมายถึงตะไคร่น้ำสีม่วง แต่ไม่ได้อยู่ในตระกูลของมอส ฐานของใบมีความยาว 4-7 ซม.ใบมีรูปไข่ ขยายลำต้นตรงในระหว่างใบ ใบมีสีม่วง กับสีแดง ดอกไม้เป็นรูปริมฝีปาก ยาว 1.5 - 2 ซม. บางสายพันธ์มีสีขาว ที่เรียกว่า Sagi-goke หมายถึงมอสสีขาว

    ●ฤดูกาล ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน
    ●ความสูง ประมาณ 10 ถึง 15 ซม.
    ●สถานที่ อุระ- เทือกเขาทาคาโอะ
SHOW MORE

Insects

ทาคาโอะยังเป็นที่ป่าธรรมชาติซึ่งยังคงเป็นป่าที่มีความกว้างใหญ่ซึ่งแตกต่างจากป่าสวนรอบ ๆ ซึ่งทากาโอะเป็นป่าไม้เมืองหนาวที่อบอุ่นเช่นโอ๊ก ป่าไม้เมืองหนาวของบีชและมีการแพร่กระจายไปลาดขึ้นจากทางเหนือบนเนินลงไปทางด้านทิศใต้ โดยไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยและอาหารในพืชผักที่มีความหลากหลายเหล่านี้ รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่นกระรอก และกระรอกบินที่อยู่อาศัยเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง สัตว์เลื้อยคลานครึ่งบกครึ่งน้ำ, ปลา, สัตว์ประมาณกว่า 30 ชนิดมีชีวิตที่จะเดินในขณะที่มองหารังของพวกเขา ยังเป็นหนึ่งในวิธีที่จะเพลิดเพลินไปกับทาคาโอะได้

  • ผีเสื้อลายแฉก Asian Swallowtail ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อลายแฉก Asian Swallowtail
    ผีเสื้อลายแฉก Asian Swallowtail ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู โอกินาวาและเกาะซาโดะ เกาะยากุ ผีเสื้อเป็นสัตว์ที่เป็นที่รู้จักกันดีและมักจะเห็นในพื้นที่ที่อยู่อาศัยในเมืองหรือในพื้นที่แถบชานเมือง เพราะฟักตัวมาจากตัวหนอนกินพืชใบอ่อนเป็นอาหาร ที่นำมาปลูกไว้สวนหรือไม้พุ่ม
    ชนิดนี้เป็นสายพันธุ์ที่เรียกว่า Swallowtails ชอบบินเกาะต้นไม้กลางแดดจ้าและตามทุ่งหญ้าเพื่อกินน้ำหวานของดอกไม้
    สีของปีกมีสีเหลืองซีดๆ ออกขาว หรือสีขาวออกซีดๆ มีเส้นสีดำตามแนวเส้นปีกและมีลายแถบวางพาดที่ซับซ้อน และมีแถบสีฟ้าและสีแดงที่ด้านล่างของปีกด้านหลัง ความแตกต่างระหว่างตัวผู้และตัวเมียคือของช่องท้องตัวผู้จะมีลักษณะเป็นเหลี่ยมคมๆ เพราะเป็นที่เก็บอวัยวะสืบพันธุ์ ส่วนตัวเมียมีลักษณะเป็นวงกลม

    ● (ความยาวปีกเมื่อกางออก) ประมาณ 65-90 มิลลิเมตร
    ●ตัวเต็มวัย ฤดูกาล ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนตุลาคม
  • ผีเสื้อ Papilio machaon (Old World Swallowtail) ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อ Papilio machaon (Old World Swallowtail)
    ผีเสื้อ Papilio machaon (Old World Swallowtail) ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: พบเห็นได้ในฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู เกาะซาโดะ เกาะโกโตะ เกาะยากุ ชอบแสงแดดชอบอยู่ตามทุ่งหญ้าทุ่งนาจากที่ราบ ไปจนถึงบนภูเขา มักจะมองเห็นได้ตามสวนสาธารณะและพื้นที่ที่อยู่อาศัยในเมือง และยังพบจากที่ราบไปจนถึงระดับที่สูง 3000 เมตร พื้นที่ที่อยู่อาศัยแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศและภูมิอากาศของแต่ละแห่ง ชอบบินไปยังทุ่งหญ้าสีเขียวในช่วงกลางวันและกินน้ำหวานในดอกไม้ น้ำหวานของ พืชพันธุ์ เมื่อยังเป็นตัวหนอนกินใบไม้ในพืชตระกูล APIACEAE Javanica Dropwort ลำตัวจะมีลักษณะเป็นสามรูปแฉก โดดเด่นด้วยสีปีกที่ดูสะดุดตา มีสีเหลืองเข้ม มีชื่อญี่ปุ่นว่า Ki-Ageha หมายถึงแถบสีเหลือง และฐานของปีกเป็นสีดำไม่มีแถบ ตัวผู้มักชอบบินไปในที่สูงๆ และมักจะมองเห็นได้รอบตามยอดภูเขา

    ●ปีกกว้างประมาณ 70 90 มิลลิเมตร
    ●ตัวเต็มวัย เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน
  • ผีเสื้อแพรวพราว Papilio protenor ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อแพรวพราว  Papilio protenor
    ผีเสื้อแพรวพราว Papilio protenor ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: ฮอนชู (ทางตอนใต้ของโตโฮกุ) ชิโกกุ คิวชู โอกินาวาและเกาะ ยาเอะยาม่า ชอบอยู่ในพื้นที่สลับซับซ้อนและมักจะถูกพบในพื้นที่ที่เป็นป่าไม้ บางครั้งมองเห็นได้ตามสวนสาธารณะและพื้นที่ที่อยู่อาศัยในเมือง ในภูเขาทาคาโอะมักจะพบได้ที่ตามเส้นทางขึ้นภูเขา สีลำตัวเป็นสีดำด้านๆ และที่หางด้านล่างของปีกหลังมีขนาดเล็กกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ในสายพันธุ์ Papilionidae เคลื่อนที่ได้ช้าดูจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะจับมัน ตัวผู้มีจุดที่ด้านหลังของปีกด้านเดียว ส่วนตัวเมียมีทั้งสองด้านของปีก ชอบบินไปยังพื้นที่ร่มรื่นหลีกเลี่ยงแสงแดดและกินน้ำหวานของพืชในตระกูล Ericaceae
    เป็นหนอนกินใบของพืชตระกูลRutaceae

    ● ขนาดลำตัวกว้างประมาณ 80-120 มม.
    ● ตัวเต็มวัย เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม
  • ผีเสื้อหางยาว Papilio macilentus ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อหางยาว Papilio macilentus
    ผีเสื้อหางยาว Papilio macilentus ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู เกาะโอกุชิริ เกาะซาโดะ เกาะโชดะ พบในป่าไม้ บนเนินเขาเตี้ยๆ หรือที่ ริมลำธารในภูเขา
    ปีกมีสีดำเงางามและตัวเมียจะมีรูปจันทร์เสี้ยวดวงจันทร์สีแดงบนขอบของปีกหลังซึ่งจะมีความแตกต่างจากตัวผู้คือมีขอบด้านหน้าของปีกหลังมีสีขาว แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะมีคลุมที่ปีกด้านหน้าคล้ายกับ Papilio protenor แต่สายพันธุ์นี้มีหางยาวกว่า มีชื่อญี่ปุ่นว่า Onaga-Ageha ความหมาย หางยาวเป็นแถบ ชอบบินรอบริมลำธารเล็กๆในภูเขาและกินอาหารโดยดูดน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ จะมีเฉพาะตัวผู้เท่านั้นที่ดูดน้ำที่หนองน้ำและบางครั้งก็ในบ่อน้ำขนาดเล็ก เมื่อยังเป็นตัวหนอนชอบกินใบของต้นปอ และพริกไทยญี่ปุ่น

    ●ปีกกว้าง ประมาณ 90-110 มม.
    ●ตัวเต็มวัย เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน
  • ผีเสื้อนกยูงจีน Papilio bianor ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อนกยูงจีน  Papilio bianor
    ผีเสื้อนกยูงจีน Papilio bianor ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชูและเกาะอื่น ๆ รวมทั้ง เกาะโกโตะ พบมากในป่าที่ราบ บนภูเขา สีปีกเป็นสีดำและปกคลุมด้วยเกล็ดสีเขียวและสีที่สว่างสดใส และมีสีสันที่แตกต่างในแต่ละมุมมองซึ่งดูสวยงามมาก ด้านหลังของปีกเป็นสีดำมีจุดสีแดงบนปีกหลัง ตัวผู้มีสีด้านๆ และอีกด้านจะมีขนบนปีก ซึ่งจะเป็นจุดแตกต่างที่แยกได้ว่าเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย ออกหากินในช่วงกลางวันและบินได้เร็วมาก และกินน้ำหวานของพืชในครัวเรือน และต้นฟลอกตะไคร่น้ำ เมื่อเป็นตัวหนอนชอบกินใบของต้นปอ และใบพริกไทยญี่ปุ่น เฉพาะตัวผู้เท่านั้นที่ดูดน้ำจืด พบเห็นได้บนเส้นทางขึ้นภูเขาทาคาโอะ
    และเฉพาะตัวผู้เท่านั้นที่บินไปมาในเส้นทางเดิมเสมอซึ่งเรียกว่าเส้นทางบิน

    ●ปีกกว้างประมาณ 80-110 มม.
    ●ตัวเต็มวัย เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน
  • ผีเสื้อหางแพนนกยูง (Maackii) Papilio maackii ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อหางแพนนกยูง (Maackii) Papilio maackii
    ผีเสื้อหางแพนนกยูง (Maackii) Papilio maackii ตระกูล Papilionidae
    ภาคหลัก: ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู โอกินาวา เกาะซาโดะ เกาะทาเนงะ เกาะยากุ พบได้ในป่าจากพื้นที่ระดับต่ำไปถึงภูเขา ยังอยู่ในป่าตามแนวชายฝั่ง ไม่ได้เป็นที่น่าสนใจเกินไป แต่สวยงามมากด้วยปีกสีดำปกคลุมด้วยเกล็ดสีฟ้าสีเขียวสีฟ้าซึ่งอาจแตกต่างกันไปบ้างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะด้วยมุมมองที่แตกต่างกัน บางคนบอกว่าสายพันธุ์นี้เป็นผีเสื้อที่สวยงามที่สุดซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศญี่ปุ่น ที่ด้านหลังของปีกมีขนลักษณะเหมือนขนนกสีสันสดใส ด้านหลังของหน้าและหลังปีกจะแตกต่างจาก bianor Papilio คล้ายกัน แต่บางชนิดมีรูปแบบแตกต่างกันน้อยลง ตัวผู้ชอบบินไปยังที่ต่างๆในสถานที่แม้แต่ตามยอดภูเขา ส่วนเมื่อตัวเต็มวัยจะชอบกินน้ำหวานของพืชในตระกูลEricaceae เมื่อตอนเป็นตัวหนอนชอบกินใบของต้นพืชชนิดหนึ่งของญี่ปุ่นที่มีหนาม

    ●ขนาดลำตัวประมาณ 90 ถึง 120 มม
    ●ช่วงโตเต็มวัยประมาณ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน
  • ผีเสื้อ Jakouageha ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อ  Jakouageha
    ผีเสื้อ Jakouageha ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: กระจายอยู่ทั่วไปฮอนชู ชิโกกุ คิวชู โอกินาวา เกาะโกโตะ เกาะยากุ เกาะอามามิ มักพบในที่โล่งแจ้ง เช่นตามทุ่งหญ้าและริมลำธาร ในพื้นที่ที่เป็นป่าไม้โปร่งๆ และจุดที่เป็นพื้นราบบนภูเขา ปีกมีสีสันที่แตกต่างกันไป โดยตัวผู้มีสีดำด้านควัน ส่วนตัวเมียมีสีเทาออกเหลือง ไปจนถึงเทาเข้ม แต่ละตัวจะแตกต่างที่สีของปีก ตัวผู้จะสีดำทั้งตัว และตัวเมียที่ด้านหลังของปีกหลังจะมีลายพระจันทร์เสี้ยวสีแดง เมื่อเป็นตัวหนอนลำตัวจะมีพิษเมื่อสัมผัสโดน และมีสีสันลวดลายสีแดง แสดงว่ามีพิษมาก เมื่อโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อออกหากินในช่วงกลางวันและกินน้ำหวานจากพืชในตระกูล Ericaceae, Deutzia crenata และในตระกูล Cirsium มีชื่อญี่ปุ่นว่า Jyako-Ageha หมายถึงชะมด ซึ่งตัวผู้จะปล่อยกลิ่นหอมๆ ออกจึงมีลักษณะเหมื่อนชะมดหอม

    ●ปีกกว้างประมาณ 75-100 มม.
    ●ฤดูกาลตัวเต็มวัย เดือนพฤษภาคมถึงกันยายน
  • ผีเสื้อแดงเฮเลน Papilio helenus ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อแดงเฮเลน Papilio helenus
    ผีเสื้อแดงเฮเลน Papilio helenus ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: พบได้ในฮอนชู (ทางตอนใต้ของจังหวัดมิยากิจังหวัด) ชิโกกุ คิวชู โอกินาวา เกาะโกโตะ เกาะยากุ เกาะทาเนงะ เป็นผีเสื้อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น พบในพื้นที่ป่าไม้และร่มรื่นจากที่ราบสู่บนภูเขา มีขนาดรูปร่างใหญ่มีสีเหลืองปนขาวบนปีกหลัง และมีชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า Monki-Ageha ความหมายแฉกสีเหลือง เป็นชื่อเรียกตามสีนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีจุดสีแดงที่ขอบปีกด้านหลังซึ่งจะเป็นตัวเมีย เป็นลักษณะที่แตกต่างกันจึงแยกเพศได้ง่ายขึ้น จะออกหากินในช่วงกลางวัน บินอยู่ในป่าและกินน้ำหวานของดอก Crenata deutzia, Clerodendrum trichotomum และลิลลี่สีแดง หรือบางครั้งกินแมงมุมเป็นอาหาร เมื่อเป็นตัวหนอนกินใบของต้น Prickly ญี่ปุ่น
    ตัวผู้ชอบบินไปมาตามเส้นทางเดิมของตัวเองที่ริมลำธาร ตัวเมียจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าตัวผู้มาก


    ลำตัวเมื่อกางปีกกว้างประมาณ 110-140 มม.
    ฤดูกาลตัวเต็มวัย เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน
  • ผีเสื้อ Graphium Sarpedon ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อ Graphium Sarpedon
    ผีเสื้อ Graphium Sarpedon ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: พบในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศที่อบอุ่นของเกาะฮอนชู (ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้), ชิโกกุ คิวชูและโอกินาวา พบในป่าจากพื้นราบลุ่ม มีลักษณะเด่นคือมีสีฟ้าอ่อนอยู่ขอบวงในของปีก ปีกมีสีดำ มีจุดสีแดงหรือสีส้มที่ด้านหลังของปีก พบมากที่สวนสาธารณะในเมือง ขณะที่เป็นตัวหนอนกินใบของต้นลอเรลการบูรที่มักจะปลูกเป็นต้นไม้ริมถนน บินอย่างรวดเร็วในช่วงกลางวันและอาหารที่ชอบคือน้ำหวานของดอกไม้เช่นดอก Cayratia Japonica ตัวผู้ชอบดูดน้ำริมลำธารในฤดูร้อน ซึ่งมักจะมองเห็นได้ในที่ริมลำธาร

    ปีกกว้างประมาณ 50-60 มิลลิเมตร
    ฤดูกาลตัวเต็มวัย เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
  • ผีเสื้อขาว Parnassius citrinarius ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อขาว  Parnassius citrinarius
    ผีเสื้อขาว Parnassius citrinarius ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ และพบมากในป่า ในทุ่งหญ้า และฟาร์มในพื้นที่เพาะปลูก ไปถึงยอดภูเขา มีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่าShirocho หมายถึง กระหล่ำปลี อยู่ในตระกูล Papilionidae มีขนาดเล็กสีขาว ปีกมีสีขาวโปร่งมีแถบสีดำเป็นลักษณะโดดเด่นดูสวยงามมาก ช่วงอกและช่องท้องปกคลุมด้วยขนยาวมีสีเหลือง ออกหากินในช่วงกลางวันตามทุ่งหญ้า บินช้า และกินน้ำหวานของดอกไม้กลิ่นหอมเช่นดอก Astragalus sinicus ( เถานมจีน ) Fleabane และ Daikon จะพบเห็นได้ในช่วงสั้นๆ คือช่วงเดือนเมษายนถึง เดือนพฤษภาคม เมื่อเป็นตัวหนอนชอบกินใบต้น Incisa Corydalis และ Corydalis lineariloba

    ปีกกว้าง ประมาณ 50-60 มิลลิเมตร
    วัยเต็มตัว เดือนเมษายนถึง เดือนพฤษภาคม
SHOW MORE

สัตว์

ทาคาโอะปลูกพืขในขอบเขตของสภาพภูมิอากาศหนาวเย็นเพียงหนาวและอบอุ่น ผสมผสานกันไป ชนิดของพืชที่เจริญเติบโตในหลาย ๆ กรณี สามารถเพลิดเพลินกับความหลากหลายของดอกไม้ตามฤดูกาล ชนิดพืชที่มีมากกว่า 1500 ชนิดที่ได้รับการระบุจำนวนชนิดซึ่งจำนวนใกล้เคียงกับจำนวนของชนิดที่เติบโตในสหราชอาณาจักร โดยทั้งนี้พืชที่ถูกค้นพบครั้งแรกในทาคาโอะมีหลายชนิดและจำนวนที่พบในที่สูงๆจากการปีนเขาเช่น ทากาโอะฮิโกได และ ทากาโอะซึมิเระและยังมีอีก 60 กว่าชนิด

  • ลิงญี่ปุ่น Macaca fuscata Macaca fuscata
    ลิงญี่ปุ่น  Macaca fuscata
    ลิงญี่ปุ่น Macaca fuscata Selected
    ภูมิภาคหลัก: พบในฮอนชูชิโกกุและคิวชู อาศัยอยู่ในคาบสมุทรชิโมกิตะ ในจังหวัดอาโอโมริตะเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นลิงขั้วโลกเหนือ (ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Hokugen nosaru ) พบมากในป่าแถบภูเขาทาคาโอะเป็นสายพันธุ์ป่าและบางครั้งก็พบว่าพวกมันอยู่กันเป็นกลุ่มแถบเส้นทางขึ้นภูเขา มีใบหน้าสีแดงและที่ก้นมีสีแดงที่โดดเด่นมาก ปกติอาศัยอยู่เป็นกลุ่มใหญ่หรือเรียกว่าฝูง ประกอบไปด้วยตัวผู้และตัวเมียมีลูกเล็กรวมกันอยู่หลายร้อยตัว ดังนั้นจึงหาได้ง่ายมากในกลุ่มสัตว์มักมีลิงปะปนอยู่อย่างน้อยหนึ่งตัว และส่วนใหญ่กินพืชผักผลไม้ไบไม้ต้นอ่อนของพืขเป็นอาหาร และแมลง หรือแม้แต่เปลือกของต้นไม้ในช่วงฤดูหนาวที่มีอาหารขาดแคลน พวกมันมีวิธีการกักเก็บอาหารไว้ที่แก้มหรือที่เรียกว่า “ถุงแก้ม” เก็บไว้ในปาก เพื่อเป็นทีเก็บกักตุนอาหารชั่วคราว

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 47-70 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล....มีตลอดทั้งปี
  • หมูป่าญี่ปุ่น Suidae
    หมูป่าญี่ปุ่น
    หมูป่าญี่ปุ่น Selected
    ภูมิภาคหลัก: .. ฮอนชู (ทางทิศตะวันตกของพื้นที่คันโต) ชิโกกุและคิวชูพบได้ในป่าซาโตยามา (ซาโตยามา คือย่านที่อยู่อาศัยและป่าในเขตชนบท) และป่าในแถบภูเขา มีขนเป็นสีเทาปนสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำมัน หรือ สีน้ำตาล ลูกหมูป่าจะมีลาย จะเรียกว่า ลูกหมูป่า (Uribo) ออกหากินเวลากลางคืน ใช้จมูกขุดพื้นดินเพื่อหาอาหารจำพวกรากของพืช แมลงและไส้เดือน ใช้จมูกในการดมกลิ่นได้ดีเยี่ยม ซึ่งช่วยให้พวกมันขุดหามันฝรั่งในดินได้ มีนิสัยที่ไม่เหมือนสัตว์ตัวอื่นเรียกว่า Nuta (Nota) คือชอบอาบน้ำโคลน คือเป็นการล้างตัวเพื่อไล่แมลงหรือปรสิตในแอ่งน้ำโคลนหรือที่ที่พวกมันสร้างขึ้น ตลอดเส้นทางขึ้นภูเขาทาคาโอะบางครั้งมักจะพบเห็นหมูป่าเหล่านี้นอนแช่ในแอ่งน้ำโคลน

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 140 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล.....ตลอดทั้งปี
  • แบดเจอร์ญี่ปุ่น Meles anakuma Meles anakuma
    แบดเจอร์ญี่ปุ่น   Meles anakuma
    แบดเจอร์ญี่ปุ่น Meles anakuma Selected
    ภูมิภาคหลัก: ... กระจายอยู่ในฮอนชูชิโกกุและคิวชูพบในป่าดิบในที่ลุ่ม มีชื่ออื่น ๆ ในภาษาญี่ปุ่นว่า Mujina คือสุนัขแรคคูนหรือจะเรียกว่า แบดเจอร์ เป็นแรคคูนในตระกูล Canidae บางครั้งในประเทศญี่ปุ่นทั้งแบดเจอร์และสุนัขแรคคูน จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ทั้งลักษณะและนิสัย แต่ไม่ได้เป็นสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด มีชื่อญี่ปุ่นว่า Nihon-anagumaคือ หมี (guma) แต่ก็ไม่ได้อยู่ในตระกูลเดียวกันกับหมี ชอบขุดดินมาก จึงมีชื่อว่า Guma ทำรังใต้ดินโดยใช้เล็บขุดหลุมเป็นอุโมงค์ยาว 10 ถึง 20 เมตร ออกหากินในเวลากลางคืน รอบ ๆ ภูเขาและกินผลไม้ ไส้เดือน แมลงกบและหอยทาก

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 44-68 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล....ช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายน
  • กระรอกญี่ปุ่น Sciurus Momonga Pteromys
    กระรอกญี่ปุ่น  Sciurus
    กระรอกญี่ปุ่น Sciurus Selected
    ภูมิภาคหลัก: .... ฮอนชู ชิโกกุและคิวชู ไม่ค่อยพบเห็นมากนักในคิวชูและชูโกกุเนื่องจากเป็นป่าเสื่อมโทรม จะพบมากในพื้นที่ราบต่ำ ซึ่งมันชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ แต่มักจะลงมาที่พื้นดินเพื่อสร้างรังจากเศษกิ่งไม้เป็นรูปทรงกลม และนำตะใคร่น้ำแห้งๆ มาสร้างรังตามจุดต่างๆ หรืออยู่ในโพรงไม้ เป็นกิจกรรมที่มันทำในช่วงเช้าและช่วงบ่าย แต่บางครั้งพบได้ตามเส้นทางขึ้นภูเขา อาหารที่มันชอบกินคือถั่วและผลของต้นโอ๊ก และมันจะกักเก็บอาหารไว้กินในช่วงฤดูหนาว มีหางยาวเป็นพวงดูน่ารักมากเมื่อขณะกำลังถือวอลนัท บางครั้งพวกมันจะกระโดดได้ใกลกว่า 10 เมตรและย้ายจากกิ่งหนึ่งไปยังอีกกิ่งหนึ่ง

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 20 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล....พบได้ตลอดทั้งปี
  • กระรอกบินยักษ์ญี่ปุ่น ( บ่าง ) Leucogenys Petaurista Momonga Pteromys
    กระรอกบินยักษ์ญี่ปุ่น  ( บ่าง )  Leucogenys Petaurista
    กระรอกบินยักษ์ญี่ปุ่น ( บ่าง ) Leucogenys Petaurista Selected
    ภูมิภาคหลัก: ... พบในแถบฮอนชู ชิโกกุและบางส่วนของคิวชู จะกระจายอยู่ในป่าจากที่ราบถึงภูเขา เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ใช้พังพืดที่ยึดติดระหว่างแขนมาช่วงลำตัวเป็นปีกกางออกเพื่อร่อนบินเหินจากต้นไม้หนึ่งไปอีกต้นหนึ่งเพื่อหาอาหาร อาหารที่โปรดปรานเช่นใบยอดอ่อน หน่อตาต้นไม้ ดอกไม้และเมล็ดของต้นไม้ มันสามารถร่อนเหินได้ในระยะใกลถึงกว่า 100 เมตรเลยทีเดียว ส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้และอยู่ในรังที่สร้างขึ้นในโพรงต้นไม้ใหญ่ มันจะนอนหลับพักผ่อนในช่วงเวลากลางวัน ส่วนหลังจากพระอาทิตย์ตกดินจะเป็นเวลาออกล่าเหยื่อหาอาหาร มักจะพบได้ในเขตภูเขาทาคาโอะ โดยส่วนใหญ่จะมีคณะทัวร์เข้าเที่ยวชม หรือจะพบเห็นได้ในคู่มือการท่องเทียว

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 34-50 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล.....พบเจอได้ตลอดปี

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • กระรอกบินแคระญี่ปุ่น Momonga Pteromys Momonga Pteromys
    กระรอกบินแคระญี่ปุ่น  Momonga Pteromys
    กระรอกบินแคระญี่ปุ่น Momonga Pteromys Selected
    ภูมิภาคหลัก: ... ฮอนชู ชิโกกุและคิวชู พบในป่าเขตภูเขา มีลักษณะที่โดดเด่นคือมีดวงตากลมใหญ่โต มีความสามารถในการบินเหมือนกระรอกบินยักษ์ ลักษณะการบินของพวกมันเหมือนกัน คือร่อนเหินโดยการยืดปีกออกเหมือนเครื่องร่อน และบินได้ในระยะ 20 ถึง 30 เมตร หรืออาจมากกว่า 100 เมตร ส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้และออกหากินในเวลากลางคืน แหล่งอาหารคือกินใบไม้ หน่อตาไม้ ผลไม้ เมล็ดและเปลือกของต้นไม้ โดยร่อนจากต้นหนึ่งไปสู่อีกต้นหนึ่ง ขนาดของร่างกายมีขนาดเล็กมากกว่ากระรอกบินยักษ์ถึงสองเท่า แต่มีความคล่องตัวมากกว่า 10 เท่าเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 14-20 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล ...มีตลอดปี
  • หนูใหญ่ญี่ปุ่น Apodemus speciosus สายพันธ์หนู
    หนูใหญ่ญี่ปุ่น   Apodemus speciosus
    หนูใหญ่ญี่ปุ่น Apodemus speciosus Selected
    ภูมิภาคหลัก: ... ในฮอกไกโด คิวชู มีหนูหลากหลายสายพันธ์กระจายอยู่ทั่วในญี่ปุ่น มีบางสายพันธ์ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ แต่สายพันธุ์นี้อาศัยอยู่บนพื้นดินและปีนต้นไม้ไม่ได้ และขุดอุโมงค์ใต้ดินเพื่อทำรัง กินเมล็ดพืชที่อยู่ตามพื้นดินและแมลงขนาดเล็ก จัดเก็บอาหารที่มันหาได้ไว้ในโพรงที่เป็นรังของมัน จะเป็นจำพวกถั่วและเมล็ดพืชรวมทั้งผลโอ๊ก มีลำตัวและขนเป็นสีน้ำตาลแดง มีชื่อญี่ปุ่นเรียกว่า Aka-nezumi หมายถึงหนูสีแดง มีลักษณะที่แตกต่างจากหนูทั้วไปคือมีดวงตากลมใหญ่ แต่จะไม่ค่อยพบเห็นในช่วงกลางวัน เพราะส่วนใหญ่มันจะออกหากินในเวลากลางคืน มันมีขาหลังที่แข็งแรงมากสามารถเดินได้หลายกิโลเมตรต่อวัน

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 8 ถึง 14 ซม.
    ●ฤดูกาล.....พบเจอได้ตลอดทั้งปี
  • หนูเล็กญี่ปุ่น Apondemus argenteus สายพันธ์หนู
    หนูเล็กญี่ปุ่น    Apondemus argenteus
    หนูเล็กญี่ปุ่น Apondemus argenteus Selected
    ภูมิภาคหลัก: มีกระจายเกือบทุกที่ในญี่ปุ่นรวมทั้งฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู เกาะซาโดะ เกาะมิยาเกะ เกาะยากุ หนูเล็กเป็นสัตว์พื้นเมืองในญี่ปุ่น ที่พบได้ในที่ลุ่มตามแนวป่าจากเทือกเขา มีลักษณะคล้ายกับหนูใหญ่ แต่ขนาดของลำตัวเล็กกว่ามาก และมีหางยาวกว่าหนูใหญ่ ชอบอาศัยอยู่บนพื้นดิน แต่หนูชนิดนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนต้นไม้เนื่องจากด้วยน้ำหนักตัวของพวกมันมีน้ำหนักเบาและมีความยืดหยุ่นดีและมีนิ้วมือนิ้วเท้าบาง ปรับสมดุลของลำตัว หางที่ยาวได้ดี แม้ขณะที่มันเกาะเถาองุ่นมีความคล่องแคล่วว่องไว ใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้ได้ในความสูงถึง 10 เมตร และบางครั้งก็สร้างรังอยู่บนต้นไม้ กินผลโอ๊ก เมล็ดพืช และแมลงเป็นอาหาร

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 6-10 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล.....พบเจอได้ตลอดปี
  • หนูสมิธ (Smith) สายพันธ์หนู
    หนูสมิธ  (Smith)
    หนูสมิธ (Smith) สายพันธ์หนู
    มีสายพันธุ์ที่กระจายอยู่ตามที่ต่างๆของเกาะฮอนชู และคิวชู ชิโกกุ นิงาตะ และฟูกูชิม่า และจังหวัดทางตอนใต้ของญี่ปุ่น พบได้ตั้งแต่ที่ลุ่มไปถึง​​เทือกเขาขนาดใหญ่ ถึงเขตเทือกเขาสูง
    ภูเขาทาคาโอะ มีรถเคเบิ้ลคาร์สายที่ 1ที่สถานีทาคาโอะ ขึ้นไปที่ ที่ระดับความสูงเกือบๆ 350m
    ลักษณะลำตัวหนูสมิธมีโทนสีสีเหลืองค่อนไปทางสีน้ำตาล ส่วนด้านหลังมีสีน้ำตาลแดง ผิวหน้าท้องมีสีส้มถึงสีเหลืองอ่อน
    ชอบอยู่ตามพื้นหญ้าและกินหญ้าอ่อนและถั่วเป็นอาหารหลักและอาศัยตามซอกหิน
    มีหูและตาขนาดเล็ก และหูหางค่อนข้างสั้นซึ่งสามารถปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตใต้ดินในบ้านกึ่งใต้ดิน (เหมาะสำหรับการใช้งานทั้งในพื้นดินและใต้ดิน) สามารถขุดอุโมงค์ตื้นในพื้นดินเพื่อเป็นที่เก็บอาหารในช่องหิน และทำรังอยู่ในเป็นโพรง

    ● ความยาวลำตัวประมาณ 7-11 เซนติเมตร
    ● ฤดู / ตลอดปี
  • ตุ่นขนาดเล็กญี่ปุ่น Mogera imaizumii ตุ่น
    ตุ่นขนาดเล็กญี่ปุ่น    Mogera imaizumii
    ตุ่นขนาดเล็กญี่ปุ่น Mogera imaizumii ตุ่น
    ภูมิภาคหลัก: ฮอนชู (ภูมิภาคโตโฮกุลงไปติดกับจังหวัดนากาและจังหวัดอิชิ) จังหวัดเกียวโตและฮิโรชิมา ชิโกกุและบางส่วนของคาบสมุทรคิอิ พบเห็นในทุ่งหญ้าและในเขตเมืองที่ทำการเกษตร และบริเวณป่าบนภูเขา มันใช้ขาหน้าที่แข็งแรงขุดหลุมใต้ดินเพื่อทำรัง ลำตัวเป็นทรงกระบอกเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะอาศัยอยู่ในอุโมงค์และขนมีลักษณะเหมือนกำมะหยี่ที่ปกคลุมลำตัวของพวกมันเพื่อป้องกันไม่ให้เปียกน้ำ หรือสิ่งสกปรก ออกล่าเหยื่อในโพรงหรืออุโมง อาหารเป็นจำพวกไส้เดือนตะขาบและตัวอ่อนของแมลง ใช้จมูกในการดมกลิ่นได้ดีและขุดหลุมใต้ภูเขาได้ซับซ้อนมาก มักจะพบเห็นได้ในเขตภูเขาทาคาโอะ

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 12 ถึง16 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล...พบเจอได้ตลอดทั้งปี
SHOW MORE

Birds

คุณจะพบกับจำนวนของนกป่ายังเป็นหนึ่งในส่วนที่ดีที่สุดของทาคาโอะ จำนวนปีนขึ้นไปประมาณ 150 ชนิด สอดคล้องกับหนึ่งในสามของนกป่าในญี่ปุ่น จะอยู่ที่ทาคาโอะเป็นสวรรค์ที่แท้จริงของนก สามารถเพลิดเพลินได้ด้วยสายตาและการฟังเสียง นิเวศวิทยาและการปรากฏตัวในฤดูหนาวนกที่ลงมาจากภูเขาสูงและนกฤดูร้อนมาข้ามและในฤดูใบไม้ผลิ เช่นความไพเราะของเพลงที่สวยงามที่อ้างว่าดินแดนในช่วงฤดูผสมพันธุ์, ความหลากหลายของนกป่า

  • ไก่ฟ้าทองแดง ชื่อญี่ปุ่น “Yamadori” วงศ์: ไก่ฟ้า
    ไก่ฟ้าทองแดง ชื่อญี่ปุ่น “Yamadori”
    ไก่ฟ้าทองแดง ชื่อญี่ปุ่น “Yamadori” Selected
    เป็นไก่ฟ้าที่พบเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
    ขนาดจะโตกว่าไก่ฟ้าธรรมดาหนึ่งเท่า ไก่ฟ้าเพศผู้จะมีปีกยาวกว่าลำตัว
    และชอบอยู่ตามป่าทึบ เมื่อเทียบกับไก่ฟ้าชนิดอื่นๆ ที่ชอบอยู่ตามพื้นที่โล่งแจ้ง ไก่ฟ้าเพศผู้กับเพศเมียมีสีน้ำตาล เมื่ออยู่ในป่าก็ดูกลมกลืนกับสิ่งแวคล้อม และเสียงร้องไม่ค่อยโดดเด่น " คุ คุ คุ คุ " จะเดินวนไปรอบ ๆโคนต้นไม้ในป่าเพื่อจับแมลง ไส้เดือน เมล็ดหญ้าและตาอ่อนของต้นไม้ ประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนเป็นช่วงฤดูผสมพันธ์ เพศผู้จากที่ไม่ค่อยแสดงตัวก็จะมีการตีปีกเพื่อให้เกิดเสียง
    เพื่อประกาศอาณาเขต ทำรังใต้ร่มเงาของต้นไม้ที่ล้ม
    โดยการนำใบไม้และเปลือกไม้มากองสร้างรัง วางไข่ครั้งละ 7-10 ฟอง

    ●ขนาด/เพศผู้ประมาณ125เซนติเมตร(รวมปลายปีก)เพศเมียประมาณ55เซนติเมตร
    ●ฤดู/เดือน1~12
    เป็นนกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกกระทาไม้ไผ่ ชื่อญี่ปุ่น “Kojukei” วงศ์: ไก่ฟ้า
    นกกระทาไม้ไผ่ ชื่อญี่ปุ่น “Kojukei”
    นกกระทาไม้ไผ่ ชื่อญี่ปุ่น “Kojukei” วงศ์: ไก่ฟ้า
    เป็นไก่ฟ้าที่มีแหล่งกำเนิดจากภาคใต้ของประเทศจีน
    ในปีไทโช 8 (1919) มีการนำมาปล่อยให้อยู่ในแหล่งธรรมชาติที่โตเกียวและจังหวัดคะนะกาว่าเพืยงแค่ 20 ตัว แต่ปัจจุบันแพร่กระจายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น อาศัยในพื้นที่ราบป่าละเมาะหรือดงไผ่ จะอยู่รวมกันเป็นฝูงในช่วงฤดูใบไม้ร่วงถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ หากินไส้เดือน ยอดหญ้า พืชอ่อน ๆ เมล็ดพืชและผลไม้บางชนิดเป็นอาหาร มีลักษณะเด่นอยู่ที่เสียงร้องคือ " โจะ โตะ โคะ อิ " ซึ่งเสียงร้องนั้นได้มีการนำมาทำเป็นซาวนด์เอฟเฟค (sound effect)ในภาพยนตร์ย้อนยุดและรายการโทรทัศน์อื่นๆ ถือว่เป็นนกท้องถิ่นที่มีถิ่นอาศัยในป่า มีการจับคู่ออกหากิน ในฤดูผสมพันธ์ช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
    ทำรังตามพื้นดินใต้กอไม้รองรังด้วยใบหญ้าแห้ง วางไข่ครั้งละประมาณ 7 - 8 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 27 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • เป็ดลายจุด ชื่อญี่ปุ่น “Karugamo” วงศ์: เป็ด
    เป็ดลายจุด  ชื่อญี่ปุ่น “Karugamo”
    เป็ดลายจุด ชื่อญี่ปุ่น “Karugamo” วงศ์: เป็ด
    เป็นเป็ดสายพันธ์เดียวที่มีกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น
    อาศัยในทะเลสาบ หนอง บึง และบางครั้งก็อาศัยตามริมน้ำในสวนสาธารณะ ในกลุ่มของเป็ดโดยทั่วไปนั้นเพศผู้จะมีสีฉูดฉาดหลายสีขณะที่เพศเมียสีสันไม่ฉูดฉาดเท่า แต่ในส่วนของสายพันธ์นี้ ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีสีที่ไม่แตกต่างกันมาก ปกติมีพฤติกรรมหลับพักผ่อนตอนกลางวัน แต่ปัจจุบันจำนวนก็ได้เพิ่มมากขึ้นจึงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมออกหากินในช่วงเวลากลางวันตามบ่อในสวนสาธารณะในเมืองเป็นต้น โดยอาหารหลักที่ชอบคือ เมล็ดของหญ้า และกินอาหารที่หลากหลายได้ เช่น ปลา แมลง เป็นต้น ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนเมษายนถึงปลายเดือนกรกฏาคม ทำรังตามพุ่มไม้ใกล้แหล่งน้ำ โดยใช้ใบไม้แห้งหรือหญ้าแห้งที่อยู่ในบริเวณที่สร้างรังและใช้ขนที่ร่วงหล่นโดยมากเป็นขนบริเวณท้องของพ่อแม่เป็ดเองมาวางซ้อนกัน เพื่อรองรับไข่ ซึ่งในการวางไข่แต่ละครั้งประมาณ 8-13 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 61 เซนติเมตร
    ●ฤดู/เดือน1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกพิราบขนาดเล็ก ชื่อญี่ปุ่น “Kijibato” วงศ์:นกพิราบ
    นกพิราบขนาดเล็ก ชื่อญี่ปุ่น “Kijibato”
    นกพิราบขนาดเล็ก ชื่อญี่ปุ่น “Kijibato” วงศ์:นกพิราบ
    ด้วยขนที่มีลวดลายสีน้ำตาลแดงคล้ายไก่ฟ้า จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก "คิจิบะโตะ" และก็มีการเรียกว่า "ยะมะบะโตะ"ด้วย เดิมทีชอบอาศัยอยู่ตามภูเขาหรือในพื้นที่เกษตรกรรม แต่ปัจจุบันได้มีการขยายพันธ์เพิ่มมากขี้นจึงกระจายกันมายังย่านที่อยู่อาศัยหรือสวนสาธารณะในเมือง จะเกาะตามเสาไฟฟ้าและร้องด้วยโทนเสียงต่ำๆว่า "เดะ-เดะโพะ-โพะ" อาหารหลักๆที่ชอบคือ เมล็ดของต้นพืชหรือเมล็ดของธัญพืชเป็นต้น และบางครั้งก็บินมายังถาดอาหารที่ผู้คนนำมาวางให้เช่น เศษขนมปังหรือเมล็ดธัญพืช นกคิจิบะโตะนั้นจะชอบอยู่เป็นคู่โดยที่เมื่อจับคู่กันแล้วจะไม่แยกจากกันเลยตลอดทั้งปี เมื่อเข้าฤดูผสมพันธ์เพศผู้จะเกี้ยวพาราสีเพศเมียโดยการขันและก้มหัวอย่างเป็นจังหวะและบินขึ้นลงเร็วๆ ประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฏาคมจะมีการทำรังแบบง่ายๆโดยการเอากิ่งไม้เล็กมาวางทับกันตามกิ่งไม้ วางไข่ครั้งละประมาณ 2 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 33เซนติเมตร
    ●ฤดู/เดือน1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกพิราบสีฟ้า ชื่อญี่ปุ่น “Aobato” วงศ์:นกพิราบ
    นกพิราบสีฟ้า ชื่อญี่ปุ่น “Aobato”
    นกพิราบสีฟ้า ชื่อญี่ปุ่น “Aobato” Selected
    เป็นนกที่มีความสวยงามมาก ลักษณะเด่นคือ ลำตัวมีสีเขียวเหลืองและจงอยเป็นสีฟ้า เพศผู้และเพศเมียมีสีที่ใกล้เคียงกันมาก ลักษณะความแตกต่างคือ ปีกของเพศผู้จะมีขนสีม่วง ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบ หรือป่าทึบ โดยจะอยู่เป็นฝูงตามป่าใบไม้กว้างเขียวชอุ่มเช่น ต้นโอ๊คฟันเลื่อย ต้นเมเปิ้ล ต้นโอ๊คมองโกเลีย เป็นต้น สำหรับป่าโปร่งนั้นแทบจะไม่ได้พบเห็นเลย จะกินผลของต้นไม้ ตาอ่อน หรือผลของต้นโอ๊ค นอกจากนั้นในต้นฤดูร้อนถึงฤดูใบไม้ผลิจะมีการบินมายังชายฝั่งทะเลเพื่อกินน้ำทะเลหรือตามแหล่งน้ำที่มีเกลือ แหล่งน้ำพุร้อนตามภูเขา เป็นการกินเกลือแร่เพื่อเพิ่มเสริมให้ร่างกายแข็งแรง ในฤดูผสมพันธ์เพศผู้จะร้องเสียงแบบเหงา ๆ " โอะ อะ โอะ"อย่างยาวๆแบบต่อเนื่อง ช่วงเดือนมิถุนายนทำรังโดยการเอากิ่งไม้เล็กๆมาทำเป็นรูปจานบนกิ่งไม้ ในหนึ่งครั้งวางไข่ประมาณ 2 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 33 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ) หรือว่า
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกพิราบหิน ชื่อญี่ปุ่น “Dobato” วงศ์:นกพิราบ
    นกพิราบหิน ชื่อญี่ปุ่น “Dobato”
    นกพิราบหิน ชื่อญี่ปุ่น “Dobato” วงศ์:นกพิราบ
    เป็นนกที่สามารถพบเห็นได้ตามศาลเจ้าหรือสวนสาธารณะ โดยส่วนใหญ่เรียกว่า "โดะบะโตะ" แต่ทางยุโรปในสมัยโบราณได้มีการปรับปรุงสายพันธ์มาจากพันธ์ "คะวะระบะโตะ"เพื่อใช้ในการสื่อสาร แต่กลายพันธ์มาเป็นนกพิราบป่า ลวดลายเดิมๆนั้นตรงคอจะมีสีเขียวม่วงเป็นมันวาวกับมีแถบสีดำสองแถบบนปีกแต่ละข้าง แต่เนื่องจากเป็นนกที่มีการปรับปรุ่งสายพัน์จึงมีหลายหลากไม่ว่าจะเป็นสีดำหรือเทา สีเกาลัด เป็นต้น ลักษณะพิเศษที่นกชนิดนี้แตกต่างจากนกชนิดอื่นก็คือการกินน้ำ จะกินน้ำโดยการเอาปากแช่ไว้ในน้ำแล้วกลืนน้ำ แต่นกชนิดอื่นจะเอาน้ำเข้าปากให้เต็มก่อนแล้วเงยหัวขึ้นและกลืน และคายออกมาเพื่อใช้เลี้ยงลูกอ่อน ในเพศผู้และเพศเมียจะมีอวัยวะที่เรียกว่า"กระเพาะอาหารสัตว์ของนก" หรือเรียกว่าสารคัดหลั่งที่เรียกว่านมให้กับลูกนกของมัน

    ●ขนาด/ประมาณ 31〜34 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกมิโซะโกย ชื่อญี่ปุ่น “Mizogoi “ วงศ์: นกกระสา
    นกมิโซะโกย ชื่อญี่ปุ่น “Mizogoi “
    นกมิโซะโกย ชื่อญี่ปุ่น “Mizogoi “ วงศ์: นกกระสา
    เป็นหนึ่งในนกกระสาที่มาขยายพันธ์ในประเทศญี่ปุ่นในช่วงฤดูร้อน
    ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ที่ค่อนข้างร่มครึ้ม อยู่ใกล้บึงของภูเขาเตี้ยๆ แบบตัวเดียวหรืออยู่เป็นคู่ เพศผู้และเพศเมียคล้ายกัน ขนทั่วๆ ไปมีสีน้ำตามเข้ม ในเวลากลางวันจะนอน เมื่อใกล้ค่ำจะพากันออกบินตามแหล่งอาหารเช่นลำธาร บึง หนอง อาหารได้แก่กุ้ง ปลา กบ ไส้เดือน เมื่อรู้สึกถึงอันตรายจะเอาหัวตั้งขึ้นมาตรงๆอยู่นิ่งๆ เป็นการทำเลียนแบบให้ลำตัวเป็นเหมือนกิ่งไม้ ฤดูผสมพันธุ์ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม เพศผู้จะร้องเสียงดังๆช้าๆว่า"โบะ-โบะ"เพื่อให้เพศเมียสนใจ ทำรังบนกิ่งไม้ที่ยื่นไปในบึงด้วยกิ่งไม้แห้งเล็กๆ ขัดสานกันตรงกลางเป็นแอ่งสำหรับวางไข่ วางไข่ครั้งละ 4-5 ฟอง เมื่อเลี้ยงลูกในฤดูร้อนจนโตเต็มวัยก็จะพากันอพยพไปทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ●ขนาด/ประมาณ 49 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน4~9
    นกฤดูร้อน(Natsudori: จะมาจากพื้นที่อื่นเพื่อผสมพันธ์ฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อน พอฤดูใบไม้ร่วงก็บินไปทางทิศใต้)
  • นกกระสามงกุฎดำ ชื่อญี่ปุ่น “Goisagi” วงศ์: นกกระสา
    นกกระสามงกุฎดำ ชื่อญี่ปุ่น “Goisagi”
    นกกระสามงกุฎดำ ชื่อญี่ปุ่น “Goisagi” วงศ์: นกกระสา
    จะอาศัยรวมกับนกกระสาชนิดอื่นๆในป่าที่เป็นพื้นราบหรือว่าหุบเขา โดยจะอยู่ในพื้นที่อาณาเขตของตัวเองเพื่อการผสมพันธ์ ตอนกลางวันจะนอนหลับในรัง พอตกกลางคืนจะออกมาหากินตามแหล่งน้ำเช่น ลำธาร บึง หนอง อาหารได้แก่กุ้ง ปลา กบ ใช้วิธีการเดินย่องช้า ๆ และฉกเหยื่อด้วยความรวดเร็ว เพศผู้และเพศเมียมีสีเหมือนกัน ลักษณะเหมือนนกเพนกวิน นกตัวเต็มวัยจะมีลักษณะเหมือนเปียสีขาวยื่นจากท้ายทอยลงมาทาบกับหลัง และลำตัวมีสีดำทำให้ดูเด่นมาก ในช่วงเป็นลูกนกจะมีลายจุดๆขาวๆบนปีกมองเห็นได้ชัด เรียกว่า "โฮะชิโกย" เมื่อเทียบกับนกที่เป็นพ่อแม่แล้วดูเหมือนคนละประเภทเลย ในฤดูผสมพันธ์คือประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม จะทำรังบนต้นไม้ที่เป็นอาณานิคมโดยการใช้กิ่งไม้แห้งมาขัดสานกันหนาๆ วางไข่ครั้งละ 4-6 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 57 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกกระสาสีเทา ชื่อญี่ปุ่น “Aosagi “ วงศ์: นกกระสา
    นกกระสาสีเทา ชื่อญี่ปุ่น “Aosagi “
    นกกระสาสีเทา ชื่อญี่ปุ่น “Aosagi “ วงศ์: นกกระสา
    เป็นนกกระสาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศญี่ปุ่น
    มีลำตัวเรียวเล็ก มีขาและคอยาว ถือว่าเป็นนกกระสาที่สวยงามมาก
    เพศผู้และเพศเมียมีสีเหมือนกันคือ สีเทาออกฟ้า นกที่โตเต็มวัยจะมี
    ขนยาวสีดำคาดจากบริเวณหัวตายาวไปยังท้ายทอย ส่วนนกที่ยังไม่โตเต็มวัยจะยังไม่มี จะอาศัยตามป่าชายเลน หนอง บึงและจุดน้ำขึ้นน้ำลงตามชายหาดของทะเล สำหรับหนองหรือบึงตามภูเขาทะคาโอะนั้นนานๆ ทีจะเห็น ช่วงกลางวันจะพักผ่อนรวมกันเป็นฝูง พอตกเย็นตลอดถึงเช้าวันรุ่งขึ้นเป็นช่วงหาเหยื่อ เช่น ปลา กบ กั้ง กุ้ง งู หนู และกินลูกนกของนกชนิดอื่นด้วย สำหรับการจับปลาในกรณีที่เป็นปลาเล็กๆจะใช้จงอยจับและกลืนทั้งตัว แต่ถ้าเป็นปลาใหญ่จะจับโดยการเอาจงอยแทงปลา มีการสร้างอาณาเขตของตัวเองเพื่อเตรียมการผสมพันธ์ จะทำรังบนกิ่งไม้ใหญ่ด้วยการเอาเศษกิ่งไม้มาสานเป็นรูปจานเป็นรังใหญ่ ซึ่งฤดูผสมพันธ์คือประมาณเดือน เมษายนถึงเดือนพฤาภาคม ในหนึ่งครั้งมีการวางไข่ 3-6 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 93เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกกระสาน้อย ชื่อญี่ปุ่น ” Kosagi “ วงศ์: นกกระสา
    นกกระสาน้อย ชื่อญี่ปุ่น ” Kosagi “
    นกกระสาน้อย ชื่อญี่ปุ่น ” Kosagi “ วงศ์: นกกระสา
    เป็นสายพันธ์นกกระสาเล็กได้รับการเรียกขานว่าเป็น "นกกระสาสีขาว" เป็นนกกระสาที่มีขนาดเล็กสุดเมื่อเทียบกันในกลุ่มของนกกระสา
    เมื่อเทียบขนาดใหญ่ไปหาเล็กตามลำดับคือ "นกไดซะกิ/นกจูซะกิ/นกโคซะกิ" ลักษณะเด่นคือที่โคนปากและขาจะเป็นสีเหลือง เป็นจุดที่ใช้สังเกตถึงความแตกต่างระหว่างชนิดอื่น จะอาศัยอยู่ตามจุดที่มีช่วงน้ำขึ้นๆลงๆของทะเลสาบ นาดำ บึง บ่อ และสามารถพบเห็นได้ตามแม่น้ำในเมืองด้วย จะบินออกหาอาหารในช่วงเช้าตรู่ตามแหล่งน้ำ ตกเย็นจะบินกลับรัง อาหารที่ชอบคือ ปลา กบ แมลงน้ำเป็นต้น ลักษณะการจับเหยื่อโดยการเดินย่ำในน้ำตื้นๆ ไปตามที่ซ่อนของเหยื่อให้ออกมาและจับกิน ฤดูผสมพันธ์คือ ประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม ทำรังบนกิ่งของต้นไม้โดยการเอากิ่งไม้แห้งมากองเป็นรูปจาน ในการวางไข่ครั้งละประมาณ 4-6 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 61เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
SHOW MORE

Others

ทาคาโอะที่นี่มีสภาพแวดล้อมที่อุดมไปด้วยป่าไม้ที่หนาวและภูมิอากาศที่อบอุ่นกระจาย กล่าวได้ว่าได้พบกับสิ่งมีชีวิตที่มีที่อยู่อาศัยอยู่จำนวนมาก มีหลากหลายชนิดและก็มีพฤติกรรมการเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน จะขอกล่าวถึง แมงมุม " ซึ่งเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่เป็นประโยชน์ที่กินศัตรูพืชกว่า 300ชนิดที่มีอยู่ มีทั้งชนิดที่หาได้ง่ายและที่หาไพบได้ยาก ซึ่งตามภูเขา เมาทน์ทาคาโอะ เป็นที่รู้จักกันในประเทศญี่ปุ่นว่าเป็นสวรรค์ของภูเขาแมงมุมหลายชนิดของแมงมุมมากที่สุด"

  • จิ้งจก Japonicas Plestiodon ตระกูล Scincidae
    จิ้งจก  Japonicas Plestiodon
    จิ้งจก Japonicas Plestiodon ตระกูล Scincidae
    พวกมันอาศัยอยู่ ในเขตภาคตะวันออกของญี่ปุ่น พื้นที่แถบโฮชุ ตั้งแต่โตเกียวไปถึงวากานามา ยกเว้นในคาบสมุทร ฮอกไกโดและ อิซุ ซึ่งคาดว่าพวกมันน่าจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันกับ Japnicus Plestiodon ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น จนกระทั่งในปี 2012 ได้พบว่าพวกมันเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน และมีชื่อว่า Plestiodon japonicas อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกของญี่ปุ่น (ชื่อใช้เรียกเหมือนกันในเขตตะวันตกของญี่ปุ่น ) พวกมันอาศัยอยู่ได้ทั่วไปทั้งในทุ่งหญ้าและป่าไม้ ภูเขา อยู่ได้ทุกระดับสูงหรือต่ำ และเรามักจะเห็นพวกมันนอนอาบแดดบนพื้นดิน และตามใหล่ภูเขา และบนเนินภูเขาทาคาโอะ ลำตัวจะมีสีสันสดใสเต็มไปด้วยสีเหลือง สีน้ำตาล และที่ลำตัวจะมีผิวสัมผัสที่เนียนเรียบ พวกมันมีหางยางมากจาก1ใน 5ของลำตัว เมื่อตัวยังไม่เจริญเต็มวัยลำตัวมีสีดำ และหางแต่งแต้มด้วยสีฟ้า ซึ่งทำให้ดูโดดเด่นมาก เคลื่อนไหวได้รวดเร็วว่องไวมาก และระวังภัยอยู่ตลอดเวลา และจะหลบอยู่ในเงามืดทันที่เมื่อพบสิ่งแปลกปลอม แต่เมื่อถูกศัตรูจับที่ลำตัว มันสามารถตัดหรือสลัดหางทิ้งไปแล้วงอกขึ้นมาใหม่ได้อีก ซึ่งเรียกว่า ' Jigiri ( ตัดหางตัวเองเพื่อรักษาชีวิต ) กินอาหาร เช่น แมลงเล็ก แมงมุม เดือนมิถุนายนเป็นช่วงวางไขและเลี้ยงลูกอ่อน

    ● ขนาดลำตัว ประมาณ 15-25 เซนติเมตร
    ● ฤดูกาล....พบได้ในช่วงเมษายน-ตุลาคม
  • จิ้งจกหญ้าญี่ปุ่น Tachydromoides Takydromus Rhabdophis tigrinus ( Keelback Tiger )
    จิ้งจกหญ้าญี่ปุ่น   Tachydromoides Takydromus
    จิ้งจกหญ้าญี่ปุ่น Tachydromoides Takydromus Rhabdophis tigrinus ( Keelback Tiger )
    ภูมิภาคหลัก: .. พบมากในฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู เกาะยากุ เกาะทาเนะงะ และเกาะนากาโน่ พบได้ในทุ่งหญ้าและพุ่มไม้ในเขตเมืองทั้งในระดับความสูงหรือต่ำ แม้กระทั่งรอบพื้นที่อยู่อาศัยของคน และมักจะ เห็นพวกมันนอนอาบแดดบน รั้วหิน และหินแต่งสวน มีชื่อญี่ปุ่นเรียกว่า Nihon-kana-Hebi หมายถึง งูน่ารักญี่ปุ่น แต่พวกมันจัดอยู่ในกลุ่มของ จิ้งจก งู ซึ่งไม่แตกต่างกันระหว่าง จิ้งเหลน คือมีผิวหยาบเป็นเกล็ด ออกหากินในช่วงกลางวัน และนอนหลับในช่วงเวลากลางคืนบนใบหญ้า ล่าเหยื่อจำพวกแมงมุมและ แมลงเป็นอาหาร มีหางยาวเป็น2เท่าของลำตัวสามารถที่จะตัดหางของตัวเองเพื่อเอาตัวรอดจากศัตรู ลำตัวมีสีน้ำตาลจากด้านหลังถึงด้านข้างช่องหน้าท้องเป็นสีขาว มีเส้นสีขาวจากใต้ ตายาวไปถึงช่องท้อง

    ● มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 16-27 เซนติเมตร
    ● ฤดูกาล...พบได้บ่อยช่วงเมษายน-ตุลาคม"
  • งูหนูญี่ปุ่น Elaphe climacophora Rhabdophis tigrinus ( Keelback Tiger )
    งูหนูญี่ปุ่น   Elaphe climacophora
    งูหนูญี่ปุ่น Elaphe climacophora Rhabdophis tigrinus ( Keelback Tiger )
    ภูมิภาคหลัก: ....พบได้ในฮอกไกโด คิวชู เกาะคุนาชิริ เกาะซาโดะ และหมู่เกาะทั่วไปที่มีป่าและทุ่งหญ้า เขตเมืองบนภูเขาและยังอยู่ในเพดานของบ้าน เป็นงูที่รู้จักกันมากที่สุดในฮอนชู ที่ลำตัวมีสีน้ำตาลมะกอก จะแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์ ขนาดความยาวของลำตัวมีขนาดมากกว่า 2 เมตร แต่พวกมันชอบอยู่ในที่สงบและไม่มีพิษ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ปีนขึ้นต้นไม้ได้ดี แม้ว่าต้นไม้จะเป็นแนวตั้งหรือแนวเสาไฟฟ้า กินลูกนกหรือไข่ในรังของนกเป็นอาหาร สายพันธุ์นี้มีสีขาวที่เรียกว่า shirohebi หมายถึงงูสีขาว หรือเป็นพันธุ์เผือก เป็นงูเผือกที่อาศัยอยู่ในเมืองอิวะคุนิของจังหวัดยามากูชิและได้ถูกกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 100-200 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล....พบได้ในช่วงเมษายน-ตุลาคม
  • งูลายญี่ปุ่น Elaphe quadrivirgata Rhabdophis tigrinus ( Keelback Tiger )
    งูลายญี่ปุ่น   Elaphe quadrivirgata
    งูลายญี่ปุ่น Elaphe quadrivirgata Rhabdophis tigrinus ( Keelback Tiger )
    ภูมิภาคหลัก: พบได้ในฮอกไกโดฮอนชูชิโกกุ เกาะคุนะชิริ เกาะซาโดะ และหมู่เกาะโอซุมิ พบได้ในทุ่งหญ้าริมแม่น้ำ และทุ่งหญ้าจากเมืองบนภูเขาที่มักจะพบพวกมันนอนอาบแสงอาทิตย์ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่างูหนู "Ratsnake" และงูเสือ "Keelback" จะมีลำตัวที่แตกต่างกัน แต่ส่วนมากพวกมันจะมีสีดำสี่แถบ มีชื่อญี่ปุ่นว่า Shima-Hebi หมายถึงงูลาย บางชนิดมีลำตัวสีดำและเรียกว่า karasu-Hebi หมายถึงงูกา ออกหากินช่วงเวลากลางวันและล่ากบ หนู จิ้งจก ซาลาแมนเดอร์และไข่ของนกเป็นอาหาร นอกจากนี้ยังชอบกินงูด้วยกันอีก จะขดตัวเป็นรูปตัว S เมื่อมีภัยคุกคาม

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 80-200 ซม.
    ●ฤดูกาล...พบมากในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม
  • งูป่าญี่ปุ่น Conspicillata Elaphe Rhabdophis tigrinus ( Keelback Tiger )
    งูป่าญี่ปุ่น   Conspicillata Elaphe
    งูป่าญี่ปุ่น Conspicillata Elaphe Rhabdophis tigrinus ( Keelback Tiger )
    ภูมิภาคหลัก: ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู เกาะคุนาชิริ เกาะอิซุ และเกาะทาเนงะ พบมากในพื้นที่ราบตามแนวทุ่งหญ้า ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่า มีหัวขนาดเล็กเหมาะสำหรับการใช้ชีวิตใต้ดิน มีชื่อญี่ปุ่นว่า Jimuguri ความหมายคืออยู่ใต้ดิน กินหนูใต้ดินและสัตว์ขนาดเล็ก มุดตามโพรงต่าง ๆเพื่อล่าเหยื่อที่อาศัยอยู่ในโพรง เป็นงูที่ชอบความสงบ ไม่มีพิษและไม่กัด จะกัดเฉพาะเมื่อมีการป้องกันตัวเองเท่านั้น เช่นมนุษย์ที่พยายามจะจับตัวมัน ขับถ่ายตามกอหน้า ช่วงฤดูหนาวมันจะจำศิลในโพรง หรือแม้แต่ฤดูร้อนมักอยู่ใต้ดินในขณะที่อากาศร้อนอบอ้าวก็ตาม

    ●ความยาวลำตัว ประมาณ 70-100 ซม.
    ●ฤดูกาล... พบได้ช่วงเมษายน-ตุลาคม
  • งูคีลแบ็ค keelback Amphiesma vibakari vibakari Rhabdophis tigrinus ( Keelback Tiger )
    งูคีลแบ็ค keelback      Amphiesma vibakari vibakari
    งูคีลแบ็ค keelback Amphiesma vibakari vibakari Rhabdophis tigrinus ( Keelback Tiger )
    ภูมิภาคหลัก: ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู เกาะซาโดะ เกาะอิกิ เกาะโอกิ และเกาะโกโตะ เป็นงูขนาดเล็กที่พบได้ทั่วไปในป่า รวมทั้งทุ่งหญ้า ทุ่งนาและในพื้นที่ราบทั่วไป มีชื่อญี่ปุ่นว่า Hibakari เมื่อถูกกัดและพิษจะไม่รุนแรงมาก ชอบความสงบไม่มีพิษภัยและไม่กัด เมื่อมึภัยคุกคามเพืยงแค่ขู่และม้วนตัวเป็นรูปตัว S ออกหาอาหารกินตามพื้นดิน และว่ายน้ำได้ดีเมื่อเทียบกับงูชนิดอื่น อยู่ใต้น้ำเพื่อหาอาหารตามริมน้ำจำพวกกบขนาดเล็ก ลูกอ๊อด และปลาด้วย

    ● ความยาวลำตัวประมาณ 40 ถึง 65 เซนติเมตร
    ● ฤดูกาล...พบได้ในช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม
  • งูคีลแบ็ค ไทเกอร์ Rhabdophis tigrinus ( Keelback Tiger )
    งูคีลแบ็ค  ไทเกอร์
    งูคีลแบ็ค ไทเกอร์ Rhabdophis tigrinus ( Keelback Tiger )
    ภูมิภาคหลัก: ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู เกาะซาโดะ เกาะโกโตะ เกาะยากุ เกาะทาเนงะ พบได้ตามที่ราบต่ำ และชอบอยู่ตามแอ่งน้ำในนาข้าว หรือในพื้นที่ที่เป็นแอ่งน้ำ กินกบจิ้งจกและปลาเป็นอาหาร แต่ชอบกบมากที่สุด หรือแม้กระทั่งคางคกที่ซึ่งงูชนิดอื่น ๆ ไม่สามารถกินได้ ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เมื่อเปรียบเทียบกับลำตัวที่มีขนาดใหญ่ แต่ที่เป็นอันตรายก็คือการถูกกัดเพราะมีพิษที่เขี้ยวอยู่ภายในซอกลึกของปาก แต่พิษที่ทำให้เสียชีวิตก็ขึ้นอยู่กับสภาพของร่างกายมนุษย์แต่ละคน นอกจากนี้ยังมีพิษที่ต่อมด้านหลังในลำคอเมื่อหลั่งออกมา โดยปกติแล้วงูประเภทนี้จะชอบความสงบและไม่กัด เว้นแต่มนุษย์พยายามที่จะสัมผัสหรือจับพวกมัน

    ●ความยาวลำตัว ประมาณ 70-150 ซม.
    ●ฤดูกาล...พบมากช่วงเมษายน-ตุลาคม
  • งู Gloydius blomhoffii ตระกูล Viperinae
    งู  Gloydius blomhoffii
    งู Gloydius blomhoffii ตระกูล Viperinae
    พวกมันอาศัยอยู่กันอย่างแพร่หลายในฮอกไกโด แถบฮนชุ ชิโกกุ คิวชิว และเกาะโอซึมิ - โชโตะ หมู่เกาะแถบคาบสมุทรอิซุ
    ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ ริมลำธาร เชิงเขา ในป่า และป่าเขตภูเขา แต่บางครั้งเราเห็นพวกมันอาศัยอยู่ในไร่การเกษตร พวกมันเป็นงูพิษที่มีพิษรุนแรงมาก และมีอัตราการเสียชีวิตสูงจากการถูกงูประเภทนี้กัด
    ลำตัวจะถูกแต่งแต้มด้วยสีน้ำตาลอ่อนๆ จนถึงสีน้ำตาลแก่ และมีรูปวงรี มีแถบสีดำอยู่ตรงกลาง และบางตัวแต่งแต้มด้วยสีแดง แต่โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นสีดำ โดยทั่วไปพวกมันเป็นสัตว์ที่ออกหากินเวลากลางคืนในช่วงเวลาที่อุณหภูมิลดต่ำลง หรือแม้แต่ในช่วงเวลากลางวันที่มีอากาศเย็น บางครั้งเราสามารถพบเห็นได้ในเขตภูเขาทาคาโอะ แต่เราจะไม่พบเจอมันตามเส้นทางเดินขึ้นภูเขา และหากเราพบเจอมันโดยบังเอิญ ควรปฎิบัติดังนี้คือ ให้ออกห่างจากมันในระยะ 1 เมตร และให้พวกมันเลื้อยผ่านไป โดยไม่ทำอันตรายกับเราเลย อาหารที่โปรดปรานคือ สัตว์ขนาดเล็ก แมลง หนู จิ้งจก กบ เป็นต้น โดยใช้ประสาทสัมผัสหรือ ที่เรียกว่า พิท ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับจมูก รับรู้ประสาทสัมผัสโดยผ่านอินฟราเรด เพื่อค้นหาเหยื่อ
    ( ตัวเมีย จะฟักไข่อยู่ภายในร่างกายของตัวเองแล้วออกลูกเป็นตัว )ออกลูกครั้งละประมาณ 10 ตัว ในช่วงฤดูร้อนจนถึงช่วงฤดูใบไม้ร่วง

    ขนาดลำตัวยาวประมาณ 45-60 เซนติเมตร
    ฤดูกาล...พบได้ในช่วงเมษายน-ตุลาคม
  • ซาลาแมนเดอร์โตเกียว Hynobius tokyoensis Hynobius kimurae
    ซาลาแมนเดอร์โตเกียว   Hynobius tokyoensis
    ซาลาแมนเดอร์โตเกียว Hynobius tokyoensis Hynobius kimurae
    ภูมิภาคหลัก: ในเขตคันโต (ยกเว้นจังหวัดกุนมะ ) และบางส่วนของจังหวัดฟูกูชิม่า พบได้ในป่าบนเนินเขาและริมน้ำในภูเขาและส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนพื้นราบ ยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งตัวอ่อนนั้นจะมีลักษณะคล้ายๆกับตัวโตเต็มวัยทุกประการ หรือมีลักษณะเหมือนรุ่นเล็กของ Axolotl และอาศัยอยู่ใต้น้ำส่วนใหญ่ กินแมลงที่อาศัยอยู่บนพื้นดินรวมทั้งไส้เดือน แมงมุมและ สัตว์เล็กๆที่หากินกับซากพืชซากสัตว์ต่าง ๆ ลำตัวจะมีสีที่แตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด แต่ส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลเข้มมีจุดสีดำบนร่างกาย ออกหากินเฉพาะในเวลากลางคืน ไม่ออกหากินในช่วงกลางวันซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน และอยู่ใต้ก้อนหิน ออกล่าเหยื่อในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ล่าเหยื่อเพื่อเตรียมไว้สำหรับช่วงฤดูฤดูหนาว และช่วงฤดูผสมพันธุ์คือเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม และมักจะพบในน้ำนิ่งรวมทั้งบ่อหรือคูนาข้าว

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 8 ถึง 13 ซม.
    ●ฤดูกาล...พบมากในเดือนเมษายน-ตุลาคม
  • ฮิดะซาลาแมนเดอร์ Hynobius kimurae Hynobius kimurae
    ฮิดะซาลาแมนเดอร์   Hynobius kimurae
    ฮิดะซาลาแมนเดอร์ Hynobius kimurae Hynobius kimurae
    ภูมิภาคหลัก: พื้นที่แถบคันโต พื้นที่ตอนกลางของประเทศ แถบตอนเหนือ และแถบคินกิ แถบชูโกกุ พบในพื้นที่ชื้นแชะของหุบเขาและลำธาร ในป่าภูเขา ลำตัวเป็นสีม่วงสีน้ำตาลมีจุดสีเหลืองเหมือนโรยทอง ออกหากินในเวลากลางคืนและในช่วงกลางวันที่ฝนตก และอาศัยหากินอยู่ใต้เงามืดตามซอกหินและใต้กองใบไม้ที่ร่วง อาหารคือไส้เดือน ทาก แมงมุมและแมลงขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มวัยมักจะอาศัยอยู่บนพื้นดิน และย้ายไปอยู่ริมน้ำเพื่อวางไข่ในฤดูผสมพันธุ์ วางไข่ในลำธารที่ไหลเบาๆ และวางไข่ในถุงไข่บนพื้นหิน ถุงไข่จะเรืองแสงเป็นสีฟ้าสะดุดตา

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 10 ถึง 18 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล ตลอดทั้งปี
SHOW MORE

Selected

นิทรรศการตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ที่ได้รับการจัดให้เพื่อทุกคนและเป็นรูปแบบของการจัดนิทรรศการแบบเปิดโล่งล้อมรอบดอกไม้ที่สวยงามตามฤดูกาลทั้งสี่ฤดู ที่พบหลากหลายที่มีความโดดเด่นก็คือแมลงที่อาศัยอยู่ในภูเขา ถูกจัดวางอยู่บนผนังซึ่งสตาฟเอาไว้ แสดงให้เห็นถึงมนต์เสน่ห์ของการพัฒนาแบบไดนามิกของทาคาโอะที่เป็นภาพยนตร์ เช่น กำแพงธรรมชาติ"ที่พิพิธภัณฑ์ ทาคาโอะ 599 ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงนิทรรศการเพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของสิ่งมีชีวิตที่มีส่วนร่วมในสภาพแวดล้อมแห่งธรรมชาติ "

  • ผีเสื้อลายแฉก Asian Swallowtail ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อลายแฉก Asian Swallowtail
    ผีเสื้อลายแฉก Asian Swallowtail ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู โอกินาวาและเกาะซาโดะ เกาะยากุ ผีเสื้อเป็นสัตว์ที่เป็นที่รู้จักกันดีและมักจะเห็นในพื้นที่ที่อยู่อาศัยในเมืองหรือในพื้นที่แถบชานเมือง เพราะฟักตัวมาจากตัวหนอนกินพืชใบอ่อนเป็นอาหาร ที่นำมาปลูกไว้สวนหรือไม้พุ่ม
    ชนิดนี้เป็นสายพันธุ์ที่เรียกว่า Swallowtails ชอบบินเกาะต้นไม้กลางแดดจ้าและตามทุ่งหญ้าเพื่อกินน้ำหวานของดอกไม้
    สีของปีกมีสีเหลืองซีดๆ ออกขาว หรือสีขาวออกซีดๆ มีเส้นสีดำตามแนวเส้นปีกและมีลายแถบวางพาดที่ซับซ้อน และมีแถบสีฟ้าและสีแดงที่ด้านล่างของปีกด้านหลัง ความแตกต่างระหว่างตัวผู้และตัวเมียคือของช่องท้องตัวผู้จะมีลักษณะเป็นเหลี่ยมคมๆ เพราะเป็นที่เก็บอวัยวะสืบพันธุ์ ส่วนตัวเมียมีลักษณะเป็นวงกลม

    ● (ความยาวปีกเมื่อกางออก) ประมาณ 65-90 มิลลิเมตร
    ●ตัวเต็มวัย ฤดูกาล ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนตุลาคม
  • ผีเสื้อ Papilio machaon (Old World Swallowtail) ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อ Papilio machaon (Old World Swallowtail)
    ผีเสื้อ Papilio machaon (Old World Swallowtail) ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: พบเห็นได้ในฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู เกาะซาโดะ เกาะโกโตะ เกาะยากุ ชอบแสงแดดชอบอยู่ตามทุ่งหญ้าทุ่งนาจากที่ราบ ไปจนถึงบนภูเขา มักจะมองเห็นได้ตามสวนสาธารณะและพื้นที่ที่อยู่อาศัยในเมือง และยังพบจากที่ราบไปจนถึงระดับที่สูง 3000 เมตร พื้นที่ที่อยู่อาศัยแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศและภูมิอากาศของแต่ละแห่ง ชอบบินไปยังทุ่งหญ้าสีเขียวในช่วงกลางวันและกินน้ำหวานในดอกไม้ น้ำหวานของ พืชพันธุ์ เมื่อยังเป็นตัวหนอนกินใบไม้ในพืชตระกูล APIACEAE Javanica Dropwort ลำตัวจะมีลักษณะเป็นสามรูปแฉก โดดเด่นด้วยสีปีกที่ดูสะดุดตา มีสีเหลืองเข้ม มีชื่อญี่ปุ่นว่า Ki-Ageha หมายถึงแถบสีเหลือง และฐานของปีกเป็นสีดำไม่มีแถบ ตัวผู้มักชอบบินไปในที่สูงๆ และมักจะมองเห็นได้รอบตามยอดภูเขา

    ●ปีกกว้างประมาณ 70 90 มิลลิเมตร
    ●ตัวเต็มวัย เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน
  • ผีเสื้อแพรวพราว Papilio protenor ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อแพรวพราว  Papilio protenor
    ผีเสื้อแพรวพราว Papilio protenor ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: ฮอนชู (ทางตอนใต้ของโตโฮกุ) ชิโกกุ คิวชู โอกินาวาและเกาะ ยาเอะยาม่า ชอบอยู่ในพื้นที่สลับซับซ้อนและมักจะถูกพบในพื้นที่ที่เป็นป่าไม้ บางครั้งมองเห็นได้ตามสวนสาธารณะและพื้นที่ที่อยู่อาศัยในเมือง ในภูเขาทาคาโอะมักจะพบได้ที่ตามเส้นทางขึ้นภูเขา สีลำตัวเป็นสีดำด้านๆ และที่หางด้านล่างของปีกหลังมีขนาดเล็กกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ในสายพันธุ์ Papilionidae เคลื่อนที่ได้ช้าดูจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะจับมัน ตัวผู้มีจุดที่ด้านหลังของปีกด้านเดียว ส่วนตัวเมียมีทั้งสองด้านของปีก ชอบบินไปยังพื้นที่ร่มรื่นหลีกเลี่ยงแสงแดดและกินน้ำหวานของพืชในตระกูล Ericaceae
    เป็นหนอนกินใบของพืชตระกูลRutaceae

    ● ขนาดลำตัวกว้างประมาณ 80-120 มม.
    ● ตัวเต็มวัย เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม
  • ผีเสื้อหางยาว Papilio macilentus ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อหางยาว Papilio macilentus
    ผีเสื้อหางยาว Papilio macilentus ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู เกาะโอกุชิริ เกาะซาโดะ เกาะโชดะ พบในป่าไม้ บนเนินเขาเตี้ยๆ หรือที่ ริมลำธารในภูเขา
    ปีกมีสีดำเงางามและตัวเมียจะมีรูปจันทร์เสี้ยวดวงจันทร์สีแดงบนขอบของปีกหลังซึ่งจะมีความแตกต่างจากตัวผู้คือมีขอบด้านหน้าของปีกหลังมีสีขาว แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะมีคลุมที่ปีกด้านหน้าคล้ายกับ Papilio protenor แต่สายพันธุ์นี้มีหางยาวกว่า มีชื่อญี่ปุ่นว่า Onaga-Ageha ความหมาย หางยาวเป็นแถบ ชอบบินรอบริมลำธารเล็กๆในภูเขาและกินอาหารโดยดูดน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ จะมีเฉพาะตัวผู้เท่านั้นที่ดูดน้ำที่หนองน้ำและบางครั้งก็ในบ่อน้ำขนาดเล็ก เมื่อยังเป็นตัวหนอนชอบกินใบของต้นปอ และพริกไทยญี่ปุ่น

    ●ปีกกว้าง ประมาณ 90-110 มม.
    ●ตัวเต็มวัย เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน
  • ผีเสื้อนกยูงจีน Papilio bianor ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อนกยูงจีน  Papilio bianor
    ผีเสื้อนกยูงจีน Papilio bianor ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชูและเกาะอื่น ๆ รวมทั้ง เกาะโกโตะ พบมากในป่าที่ราบ บนภูเขา สีปีกเป็นสีดำและปกคลุมด้วยเกล็ดสีเขียวและสีที่สว่างสดใส และมีสีสันที่แตกต่างในแต่ละมุมมองซึ่งดูสวยงามมาก ด้านหลังของปีกเป็นสีดำมีจุดสีแดงบนปีกหลัง ตัวผู้มีสีด้านๆ และอีกด้านจะมีขนบนปีก ซึ่งจะเป็นจุดแตกต่างที่แยกได้ว่าเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย ออกหากินในช่วงกลางวันและบินได้เร็วมาก และกินน้ำหวานของพืชในครัวเรือน และต้นฟลอกตะไคร่น้ำ เมื่อเป็นตัวหนอนชอบกินใบของต้นปอ และใบพริกไทยญี่ปุ่น เฉพาะตัวผู้เท่านั้นที่ดูดน้ำจืด พบเห็นได้บนเส้นทางขึ้นภูเขาทาคาโอะ
    และเฉพาะตัวผู้เท่านั้นที่บินไปมาในเส้นทางเดิมเสมอซึ่งเรียกว่าเส้นทางบิน

    ●ปีกกว้างประมาณ 80-110 มม.
    ●ตัวเต็มวัย เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน
  • ผีเสื้อหางแพนนกยูง (Maackii) Papilio maackii ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อหางแพนนกยูง (Maackii) Papilio maackii
    ผีเสื้อหางแพนนกยูง (Maackii) Papilio maackii ตระกูล Papilionidae
    ภาคหลัก: ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู โอกินาวา เกาะซาโดะ เกาะทาเนงะ เกาะยากุ พบได้ในป่าจากพื้นที่ระดับต่ำไปถึงภูเขา ยังอยู่ในป่าตามแนวชายฝั่ง ไม่ได้เป็นที่น่าสนใจเกินไป แต่สวยงามมากด้วยปีกสีดำปกคลุมด้วยเกล็ดสีฟ้าสีเขียวสีฟ้าซึ่งอาจแตกต่างกันไปบ้างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะด้วยมุมมองที่แตกต่างกัน บางคนบอกว่าสายพันธุ์นี้เป็นผีเสื้อที่สวยงามที่สุดซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศญี่ปุ่น ที่ด้านหลังของปีกมีขนลักษณะเหมือนขนนกสีสันสดใส ด้านหลังของหน้าและหลังปีกจะแตกต่างจาก bianor Papilio คล้ายกัน แต่บางชนิดมีรูปแบบแตกต่างกันน้อยลง ตัวผู้ชอบบินไปยังที่ต่างๆในสถานที่แม้แต่ตามยอดภูเขา ส่วนเมื่อตัวเต็มวัยจะชอบกินน้ำหวานของพืชในตระกูลEricaceae เมื่อตอนเป็นตัวหนอนชอบกินใบของต้นพืชชนิดหนึ่งของญี่ปุ่นที่มีหนาม

    ●ขนาดลำตัวประมาณ 90 ถึง 120 มม
    ●ช่วงโตเต็มวัยประมาณ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน
  • ผีเสื้อ Jakouageha ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อ  Jakouageha
    ผีเสื้อ Jakouageha ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: กระจายอยู่ทั่วไปฮอนชู ชิโกกุ คิวชู โอกินาวา เกาะโกโตะ เกาะยากุ เกาะอามามิ มักพบในที่โล่งแจ้ง เช่นตามทุ่งหญ้าและริมลำธาร ในพื้นที่ที่เป็นป่าไม้โปร่งๆ และจุดที่เป็นพื้นราบบนภูเขา ปีกมีสีสันที่แตกต่างกันไป โดยตัวผู้มีสีดำด้านควัน ส่วนตัวเมียมีสีเทาออกเหลือง ไปจนถึงเทาเข้ม แต่ละตัวจะแตกต่างที่สีของปีก ตัวผู้จะสีดำทั้งตัว และตัวเมียที่ด้านหลังของปีกหลังจะมีลายพระจันทร์เสี้ยวสีแดง เมื่อเป็นตัวหนอนลำตัวจะมีพิษเมื่อสัมผัสโดน และมีสีสันลวดลายสีแดง แสดงว่ามีพิษมาก เมื่อโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อออกหากินในช่วงกลางวันและกินน้ำหวานจากพืชในตระกูล Ericaceae, Deutzia crenata และในตระกูล Cirsium มีชื่อญี่ปุ่นว่า Jyako-Ageha หมายถึงชะมด ซึ่งตัวผู้จะปล่อยกลิ่นหอมๆ ออกจึงมีลักษณะเหมื่อนชะมดหอม

    ●ปีกกว้างประมาณ 75-100 มม.
    ●ฤดูกาลตัวเต็มวัย เดือนพฤษภาคมถึงกันยายน
  • ผีเสื้อแดงเฮเลน Papilio helenus ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อแดงเฮเลน Papilio helenus
    ผีเสื้อแดงเฮเลน Papilio helenus ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: พบได้ในฮอนชู (ทางตอนใต้ของจังหวัดมิยากิจังหวัด) ชิโกกุ คิวชู โอกินาวา เกาะโกโตะ เกาะยากุ เกาะทาเนงะ เป็นผีเสื้อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น พบในพื้นที่ป่าไม้และร่มรื่นจากที่ราบสู่บนภูเขา มีขนาดรูปร่างใหญ่มีสีเหลืองปนขาวบนปีกหลัง และมีชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า Monki-Ageha ความหมายแฉกสีเหลือง เป็นชื่อเรียกตามสีนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีจุดสีแดงที่ขอบปีกด้านหลังซึ่งจะเป็นตัวเมีย เป็นลักษณะที่แตกต่างกันจึงแยกเพศได้ง่ายขึ้น จะออกหากินในช่วงกลางวัน บินอยู่ในป่าและกินน้ำหวานของดอก Crenata deutzia, Clerodendrum trichotomum และลิลลี่สีแดง หรือบางครั้งกินแมงมุมเป็นอาหาร เมื่อเป็นตัวหนอนกินใบของต้น Prickly ญี่ปุ่น
    ตัวผู้ชอบบินไปมาตามเส้นทางเดิมของตัวเองที่ริมลำธาร ตัวเมียจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าตัวผู้มาก


    ลำตัวเมื่อกางปีกกว้างประมาณ 110-140 มม.
    ฤดูกาลตัวเต็มวัย เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน
  • ผีเสื้อ Graphium Sarpedon ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อ Graphium Sarpedon
    ผีเสื้อ Graphium Sarpedon ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: พบในพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศที่อบอุ่นของเกาะฮอนชู (ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้), ชิโกกุ คิวชูและโอกินาวา พบในป่าจากพื้นราบลุ่ม มีลักษณะเด่นคือมีสีฟ้าอ่อนอยู่ขอบวงในของปีก ปีกมีสีดำ มีจุดสีแดงหรือสีส้มที่ด้านหลังของปีก พบมากที่สวนสาธารณะในเมือง ขณะที่เป็นตัวหนอนกินใบของต้นลอเรลการบูรที่มักจะปลูกเป็นต้นไม้ริมถนน บินอย่างรวดเร็วในช่วงกลางวันและอาหารที่ชอบคือน้ำหวานของดอกไม้เช่นดอก Cayratia Japonica ตัวผู้ชอบดูดน้ำริมลำธารในฤดูร้อน ซึ่งมักจะมองเห็นได้ในที่ริมลำธาร

    ปีกกว้างประมาณ 50-60 มิลลิเมตร
    ฤดูกาลตัวเต็มวัย เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
  • ผีเสื้อขาว Parnassius citrinarius ตระกูล Papilionidae
    ผีเสื้อขาว  Parnassius citrinarius
    ผีเสื้อขาว Parnassius citrinarius ตระกูล Papilionidae
    ภูมิภาคหลัก: ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ และพบมากในป่า ในทุ่งหญ้า และฟาร์มในพื้นที่เพาะปลูก ไปถึงยอดภูเขา มีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่าShirocho หมายถึง กระหล่ำปลี อยู่ในตระกูล Papilionidae มีขนาดเล็กสีขาว ปีกมีสีขาวโปร่งมีแถบสีดำเป็นลักษณะโดดเด่นดูสวยงามมาก ช่วงอกและช่องท้องปกคลุมด้วยขนยาวมีสีเหลือง ออกหากินในช่วงกลางวันตามทุ่งหญ้า บินช้า และกินน้ำหวานของดอกไม้กลิ่นหอมเช่นดอก Astragalus sinicus ( เถานมจีน ) Fleabane และ Daikon จะพบเห็นได้ในช่วงสั้นๆ คือช่วงเดือนเมษายนถึง เดือนพฤษภาคม เมื่อเป็นตัวหนอนชอบกินใบต้น Incisa Corydalis และ Corydalis lineariloba

    ปีกกว้าง ประมาณ 50-60 มิลลิเมตร
    วัยเต็มตัว เดือนเมษายนถึง เดือนพฤษภาคม
SHOW MORE
もっと見る 閉じる