TAKAO 599 MUSEUM

ขุมทรัพย์ของภูเขาทาคาโอะ

Selected

นิทรรศการตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ที่ได้รับการจัดให้เพื่อทุกคนและเป็นรูปแบบของการจัดนิทรรศการแบบเปิดโล่งล้อมรอบดอกไม้ที่สวยงามตามฤดูกาลทั้งสี่ฤดู ที่พบหลากหลายที่มีความโดดเด่นก็คือแมลงที่อาศัยอยู่ในภูเขา ถูกจัดวางอยู่บนผนังซึ่งสตาฟเอาไว้ แสดงให้เห็นถึงมนต์เสน่ห์ของการพัฒนาแบบไดนามิกของทาคาโอะที่เป็นภาพยนตร์ เช่น กำแพงธรรมชาติ"ที่พิพิธภัณฑ์ ทาคาโอะ 599 ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงนิทรรศการเพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของสิ่งมีชีวิตที่มีส่วนร่วมในสภาพแวดล้อมแห่งธรรมชาติ "

  • นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Ruribitaki” วงศ์ นกแซว
    นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Ruribitaki”
    นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Ruribitaki” วงศ์ นกแซว
    ตัวผู้จะมีขนสีน้ำเงินสวยมากตั้งแต่หัวถึงหาง ใต้รักแร้มีขนสีส้มที่โดดเด่นมาก ตัวเมียเป็นสีน้ำตาลเขียว เป็นนกที่จะเปลี่ยนที่อยู่อาศัยไปตามฤดูกาล จากฤดูใบไม้ผลิไปถึงฤดูร้อนจะอยู่ที่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร เพื่อเลี้ยงลูกอ่อน อยู่ตามต้นสน พอเข้าฤดูหนาวจะย้ายลงมาอยู่ในพื้นที่ต่ำ จะพบเห็นตามต้นไม้หรือป่าตามสวนสาธารณะ ป่าใกล้ภูเขาทะคาโอะ ชอบอยู่ตัวเดียวเป็นส่วนใหญ่ หรืออยู่เป็นคู่เพื่อสร้างอาณาเขต อาหารที่ชอบคือแมลงหรือตะขาบ ช่วงฤดูหนาวจะกินผลไม้ ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมเป็นฤดูผสมพันธ์ ตัวผู้จะไปเกาะตามกิ่งไม้สูงร้องหาคู่ 「พีจีจิวริ、ฮิวโระโระ」
    สร้างรังโดยนำเอาใบไม้แห้งหรือตะไคร่น้ำมากองเป็นรูปถ้วยที่โคนต้นไม้ หรือต้นไม้ล้ม วางไข่ครั้งละประมาณ 3-5 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 14 เซนติมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 11~3
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป)

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Johitaki” วงศ์ นกแซว
    นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Johitaki”
    นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Johitaki” วงศ์ นกแซว
    ฤดูใบไม้ร่วงจะอพยพมาญี่ปุ่นซึ่งย้ายมาจากไซบีเรียถิ่นกำเนิด
    จะอาศัยตามป่าภูเขาเตี้ย แหล่งต้นน้ำ พื้นที่โล่งแจ้ง เช่น ในสวนสาธารณะ ในช่วงฤดูหนาว ตัวผู้จะมีสีเงินที่หัวและหลังคอ หน้าอกมีสีส้มเด่นมาก ตัวเมียที่หางก็มีสีส้มปนอยู่บ้าง แต่โดยทั่วลำตัวแล้วเป็นสีเทา ตอนอพยพมาใหม่ๆ จะเกาะอยู่ตามกิ่งไม้หรือเสาตรงจุดที่เห็นเด่นชัด มีเสียงร้อง「ฮิอิ ฮิอิ」เพื่อประกาศอาณาเขต ชอบทำหัวเหมือนการคาราวะพร้อมกระดิกหางและร้องเสียง「คัทคัท」 เสียงนี้เหมือนเสียงเอาหินมาเคาะเพื่อจุดไฟจึงเป็นที่มาชื่อญี่ปุ่น 「Hitaki」 ชอบอยู่ตัวเดียวเป็นส่วนใหญ่ จับแมลงหรือแมงมุมกินเป็นอาหาร หรือกินผลของไม้ MasakiหรือTokiwa Crataeg​​us ที่ปลูกเป็นแนวรั้ว ก่อนที่จะถึงฤดูใบไม้ผลิจะอพยพกลับไปทางเหนือเพื่อฟักไข่และเลี้ยงลูกอ่อน

    ●ขนาด/ประมาณ 14เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 10~3
    นกฤดูหนาว(Fuyudori:เป็นนกที่เข้ามาหลบหนาวตอนฤดูใบไม้ร่วง พอฤดูใบไม้ผลิก็อพยพไป)
  • นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Kibitaki” วงศ์ นกแซว
    นกชื่อญี่ปุ่นว่า  “Kibitaki”
    นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Kibitaki” วงศ์ นกแซว
    บินกลับมาที่ญี่ปุ่นจากทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฤดูใบไม้ผลิ
    จะอาศัยตามพื้นราบไปถึงป่าที่มีต้นไม้สูงตามภูเขา
    ตัวผู้จะมีลักษณะเหมือนชื่อเรียกคือตั้งแต่คอถึงหน้าอกเป็นสีเหลืองสดใสเป็นจุดเด่นสะดุดตา ตัวเมียตั้งแต่หัวถึงด้านหลังจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนปนเขียว ชอบเกาะตามกิ่งไม้ของต้นไม้ ไม่ค่อยร่าเริ่งไม่ค่อยเคลื่อนไหว จะกินแมลงหรือแมงมุมที่อยู่ตามยอดใบไม้หรือกิ่งไม้ หรือบางครั้งก็บินไปจับแมลงกลางอากาศ ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมเป็นฤดูผสมพันธ์ ตัวผู้จะร้องหาคู่ 「พิทโคะโระโระ」 หรือ 「ทซึทะ ทซึทะโอน」เป็นต้น โดยสามารถร้องได้หลายแบบมากและการเลียนแบบเสียงของนกอื่นก็เก่ง สร้างรังในโพรงต้นไม้โดยจะใช้ใบไม้ร่วงหรือตะไคร่น้ำมากองๆ เพื่อรองพื้น หรือสร้างรังใต้ชายคาของอาคาร ตามช่องหน้าต่าง เป็นต้น วางไข่ครั้งละประมาณ 4-6 ฟอง
    ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงจะเป็นเวลาอพยพ(มีการย้ายที่อยุ่อาศัยไปตามฤดูกาล)แต่ก็จะสามารถเห็นได้ตามสวนสารธาณะของเมืองบ้าง

    ●ขนาด/ประมาณ 15 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน4~10
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าฤดูใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Ooruri” (Cyanoptila cyanomelana) วงศ์ นกแซว
    นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Ooruri” (Cyanoptila cyanomelana)
    นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Ooruri” (Cyanoptila cyanomelana) วงศ์ นกแซว
    ในฤดูใบไม้ผลิจะอพยพกลับจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาที่ญี่ปุ่น
    และอาศัยตามป่าของภูเขา สวนมากจะอาศัยตามแหล่งต้นน้ำ ทะเลสาบหรือหนองน้ำ ตัวผู้ตั้งแต่หัวจนถึงหางจะมีขนสีน้ำเงินเป็นมันวาว ส่วนตัวเมียมีสีน้ำตาลอ่อนๆ พอเข้าฤดูผสมพันธ์ ตัวผู้จะร้อง「พี-ริ-ริ-,จิว-บี-บี,จีจี 」 เป็นการร้องเพื่อประกาศอาณาเขตและหาคู่ เสียงร้องนั้นไพเราะมากเมื่อเปรียบเทียบกับเสียงนกจำพวก นกกระจิบ (Cettia diphone)、นกโรบิน(Erithacus Akahige)「จัดเป็นนกสวยงามทั้ง3ชนิด 」 และถือได้ว่านกสายพันธ์นี้เป็นหนึ่งในนั้นด้วย เป็นการร้องเพื่อประกาศอาณาเขต ตัวผู้จะร้องตามจุดเพียงไม่กี่จุด และมีนิสัยคือร้องเวลาเดิมตลอดในทุกๆจุด ช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงกรกฏาคม จะสร้างรังในที่ลุ่มตามขอบหน้าผาโดยการเอาตะไคร่น้ำมารวมกันเป็นรูปถ้วยและวางไข่ครั้งละประมาณ 3-5 ฟอง พอฤดูในไม้ร่วงจะอพยพไปยังพื้นที่อื่นเพื่อหลบหนาว

    ●ขนาด/ประมาณ 16 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 4~10
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าฤดูใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกเด้าลมเทา ชื่อญี่ปุ่น “Kisekirei” วงศ์ นกเด้าลม
    นกเด้าลมเทา ชื่อญี่ปุ่น “Kisekirei”
    นกเด้าลมเทา ชื่อญี่ปุ่น “Kisekirei” วงศ์ นกเด้าลม
    อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำ ริมน้ำบ่อ หรือทะเลสาบ ลำธารเป็นสิ่งที่ชอบสุด
    หรือบางครั้งจะพบเห็นตามสวนสาธารณะบ้าง ลำตัวเพลียวและขนหางยาวเป็นลักษณะที่สวยงามมาก ตัวผู้กับตัวเมียสีเกือบเหมือนกัน
    ด้านหลังเป็นสีเทา อกสีเหลือง คอปกติสีขาว ในหน้าร้อนขนนกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ นอกจากฤดูผสมพันธ์จะใช้ชีวิตอยู่ตัวเดียว จะกระดิกหางขึ้นๆลงๆ เวลาเดินไปตามน้ำ หาแมลงน้ำที่ซ่อนตามซอกหิน กอวัชพืชในน้ำกิน หรือจับแมลงที่บินในอากาศกินก็มีบ้าง
    เดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมเป็นฤดูผสมพันธ์ ตัวผู้เกาะตามสายไฟหรือหลังคา ร้องหาคู่ 「จิจิจิท」
    สร้างรังด้วยกิ่งไม้เล็ก หรือหญ้าแห้งที่ใต้ชายคาของบ้าน หรือที่ตามซอกหิน ไข่ครั้งละประมาณ 4-6 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 20 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ) หรือว่า
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกเด้าลมญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Segurosekirei” วงศ์ นกเด้าลม
    นกเด้าลมญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Segurosekirei”
    นกเด้าลมญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Segurosekirei” วงศ์ นกเด้าลม
    เป็นกลุ่มนกเด้าลมที่อยู่ที่ญี่ปุ่นเท่านั้น
    จะอาศัยอยู่มากตามชายฝั่งของทะเลสาบ บ่อน้ำ ต้นแม่น้ำ
    สีคล้ายกับนกเด้าลมขาวมาก แต่หน้าดำกับมีลายเส้นสีขาวเหมือนคิ้วคือจุดแตกต่าง ตัวผู้และตัวเมียมีสีเกือบเหมือนกัน แต่ตัวผู้จะมีขนสีที่เป็นสีดำเข้มกว่า กลางวันจะอยู่ตัวเดียวหรือเป็นคู่ กลางคืนจะพักผ่อนตามชายคาบ้านหรือบนต้นไม้เป็นฝูงเล็ก จะกระดิกหางขึ้นๆลงๆและเดินตามริมน้ำอย่างรวดเร็ว เพื่อหาไส้เดือนหรือตัวอ่อนของแมลงกิน
    เดือนมีนาคมถึงประมาณกรกฏาคมจะเป็นฤดูผสมพันธ์ ตัวผู้จะร้อง 「โจโจจอยจอยจอย」 สร้างรังโดยนำกิ่งไม้แห้งมารวมกันไว้ในพื้นที่ว่างของอาคารหรือที่ลุ่มริมตลิ่ง วางไข่ครั้งละประมาณ 4-5 ฟอง
    ถึงแม้จะเลี้ยงลูกจนโตเต็มวัยแล้วก็จะใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันในช่วงฤดูหนาว

    ●ขนาด/ประมาณ 21 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Ikaru “ นกกระจาบปีกอ่อน
    นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Ikaru “
    นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Ikaru “ นกกระจาบปีกอ่อน
    จะอาศัยตามพื้นราบถึงป่าในภูเขาเตี้ยๆ สามารถพบเห็นได้ที่ภูเขาทะคะโอะได้ตลอดทั้งปี ตัวผู้และตัวเมียสีเหมือนกัน
    หัวสีดำมีหางยาว จงอยปากกว้างและใหญ่สีส้มเป็นจุดเด่นมาก
    เสียงร้องเหมือนนกหวีด「ทซึคิ―(พระจันทร์)、ฮิー(พระอาทิตย์)、โฮชิ(ดาว)」เนื่องจากมีเสียงร้องแบบนี้จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งคือ 「ซันโคโจ」(นกที่ได้ชื่อญี่ปุ่นว่า ซันโคโจ จะเป็นนกอีกชนิดคือนกกางเขน)
    หลักๆแล้วจะอาศัยบนต้นไม้ จะกินผลไม้อ่อน หรือตาของต้นMukunoki หรือ ต้น Nurude บางครั้งจะลงมาตามพื้นดิน ลักษณะการเดินแบบกระโดดหาเมล็ดพืชกิน สำหรับเมล็ดที่ใหญ่จะใช้จงอยปากกระเทาะ เปลื่อกให้แยกออกอย่างชำนาญ ในฤดูผสมพันธ์คือจากกลางเดือนพฤษภาคมถึงปลายเดือนกรกฎาคม จะเก็บรากไม้หรือลำต้นมากองที่กิ่งไม้สูงมาเพื่อสร้างรังเป็นรูปถ้วย วางไข่ครั้งละประมาณ 3-4 ฟอง
    จากฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาวจะเข้ามาอยู่ในป่าหรือต้นไม้ที่ใกล้ที่อยู่อาศัยของคนเพื่อหาอาหาร

    ●ขนาด/ประมาณ 23 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ) หรือว่า
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกชนบทตอม่อ ชื่อญี่ปุ่น ” Kashiradaka” วงศ์ นกตอม่อ
    นกชนบทตอม่อ ชื่อญี่ปุ่น ” Kashiradaka”
    นกชนบทตอม่อ ชื่อญี่ปุ่น ” Kashiradaka” วงศ์ นกตอม่อ
    เป็นนกที่บินอพยพมาจากแหล่งกำเนิดทางไซบีเรียมาที่ญี่ปุ่นในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ขนส่วนบนหัวตั้งทำให้ดูเหมือนสูงจึงเป็นที่มาของชื่อญี่ปุ่น「คะชิระดะคะ(หัวสูง)」、และดูเหมือน「ทรงผมอินเดียแดง」ด้วย
    มีลักษณะคล้ายกับนกทุ่งหญ้าตอม่อแต่พอเห็นหัวจะรู้ทันที
    ตัวผู้ขนที่หัวและที่หน้าในฤดูหนาวกับฤดูร้อนจะไม่เหมือนกัน ในฤดูหนาวจะเป็นสีน้ำตาล แต่ในฤดูร้อนหัวเป็นสีดำ ที่ดวงตาจะมีเส้นสีขาวเป็นริ้ว ๆ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามพื้นราบชายป่า ไร่เกษตร เลียบริมแม่น้ำของภูเขา มารวมตัวกันในพื้นที่โล่งกว้างใกล้ ๆ ป่า ลักษณะการเดินแบบกระโดดไปด้วยและหาจิกเมล็ดหญ้าไปด้วย
    เวลาที่ตกใจจะบินไปที่กิ่งต้นไม้ ขนหัวจะตั้ง
    มีเสียงร้อง「จิ๊ด」ด้วยเสียงเล็กๆ พอเข้าช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิจะร้องเหมือนนกสกายลาร์ว่า 「พี-จูคึ,พี-จูคึ」

    ●ขนาด/ประมาณ 15 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 11~3
    นกฤดูหนาว(Fuyudori:เป็นนกที่อพยพเข้ามาหลบหนาวตอนฤดูใบไม้ร่วง พอฤดูใบไม้ผลิก็อพยพไป)
  • นกสีดำหน้าตอม่อ ชื่อญี่ปุ่น ” Aoji” วงศ์ นกตอม่อ
    นกสีดำหน้าตอม่อ  ชื่อญี่ปุ่น ” Aoji”
    นกสีดำหน้าตอม่อ ชื่อญี่ปุ่น ” Aoji” วงศ์ นกตอม่อ
    เป็นนกที่มีการย้ายที่อยุ่อาศัยไปตามฤดูกาล
    พอเข้าฤดูใบไม้ร่วงจะอพยพมุ่งไปทางพื้นที่ที่อบอุ่นทางใต้ ที่ภูเขาทะคาโอะ ถือว่าเป็นนกฤดูหนาว(Fuyudori:เป็นนกที่เข้ามาหลบหนาวตอนฤดูใบไม้ร่วง พอฤดูใบไม้ผลิก็อพยพไป)แค่ผ่านมา
    ในกลุ่มของนกตอม่อนั้นส่วนใหญ่ลำตัวจะเป็นสีออกน้ำตาล แต่นกสีดำหน้าตอม่อจะมีสีเหลือง ซึ่งนั่นถือว่าเป็นลักษณะพิเศษ
    จะทำกิจกรรมร่วมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามพุ่มไม้ไผ่และป่าละเมาะสลัว ๆหรือตามกอต้นกก(สถานที่ที่ต้นกกขึ้นเยอะ)
    บนพื้นดินจะเดินโดยใช้วิธีกระโดดเพื่อหาเมล็ดหญ้า แมลงหรือแมงมุมกินเป็นอหาร ในฤดูผสมพันธ์คือ ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม ตัวผู้ร้อง「โจพพี-โจ,จีจีจีจีด」 เกาะที่ปลายกิ่งไม้เพื่อเป็นการประกาศอาณาเขต สร้างรังที่กิ่งไม้ใกล้ๆกับพื้นดิน โดยการนำกิ่งไม้แห้งและก้านดอกไม้มาดัดเป็นรูปถ้วย วางไข่ทีละประมาณ 4-5 ฟอง
    พอเข้าฤดูหนาวหาอาหารตามสวนสาธารณะในเมือง

    ●ขนาด/ประมาณ 16 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 11〜3
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • นกสีเทาตอม่อ ชื่อญี่ปุ่น ” Kuroji” วงศ์ นกตอม่อ
    นกสีเทาตอม่อ ชื่อญี่ปุ่น ” Kuroji”
    นกสีเทาตอม่อ ชื่อญี่ปุ่น ” Kuroji” วงศ์ นกตอม่อ
    ช่วงฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูร้อนจะอาศัยอยู่ในฮอกไกโดหรือฮอนชู ตามพื้นที่รอบภูเขา พอเข้าฤดูใบไม้ร่วงจะอพยพลงทางใต้
    พบที่ภูเขาทะคาโอะถือว่าเป็นนกฤดูหนาว(Fuyudori:เป็นนกที่เข้ามาหลบหนาวตอนฤดูใบไม้ร่วง พอฤดูใบไม้ผลิก็อพยพไป)แค่ผ่านมา
    ตัวผู้จะเป็นสีหมอก ตัวเมียจะเป็นสีน้ำตาลออกดำ
    ชื่อ "คึโรจิ" นั้นมาจากสีของลำตัว
    ปกติจะชอบใช้ชีวิตตามป่ารก จะบินไปๆมาๆ ระหว่างพุ่มไม้และกอไผ่
    นานๆทีออกมาตามถนนในป่าบ้าง แต่เมื่อรู้สึกว่ามีอันตรายจะโดดไปหลบซ่อนในพุ่มไม้ทันที เป็นนกที่มีความระมัดระวังตัวสูง
    อาหารหลักจะกินเมล็ดหญ้า หรือแมลง และแมงมุม
    ปกติจะไม่ออกมายังที่โล่งแจ้งนอกจากฤดูผสมพันธ์คือ ประมาณเดือนมิถุนายน ตัวผู้ก็จะออกมาเกาะตามปลายกิ่งไม้และร้อง「โฮ-อิจีจีจี」
    สร้างรังโดยเก็บใบร่วงหรือก้านดอกไม้มารวมกันเป็นรูปถ้วย วางไข่ครั้งละประมาณ 3-5 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 17 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 11~3
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่หรือในบางฤดูและก็อพยพไป

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • ลิงญี่ปุ่น Macaca fuscata Cercopithecidae
    ลิงญี่ปุ่น  Macaca fuscata
    ลิงญี่ปุ่น Macaca fuscata Cercopithecidae
    ภูมิภาคหลัก: พบในฮอนชูชิโกกุและคิวชู อาศัยอยู่ในคาบสมุทรชิโมกิตะ ในจังหวัดอาโอโมริตะเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นลิงขั้วโลกเหนือ (ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Hokugen nosaru ) พบมากในป่าแถบภูเขาทาคาโอะเป็นสายพันธุ์ป่าและบางครั้งก็พบว่าพวกมันอยู่กันเป็นกลุ่มแถบเส้นทางขึ้นภูเขา มีใบหน้าสีแดงและที่ก้นมีสีแดงที่โดดเด่นมาก ปกติอาศัยอยู่เป็นกลุ่มใหญ่หรือเรียกว่าฝูง ประกอบไปด้วยตัวผู้และตัวเมียมีลูกเล็กรวมกันอยู่หลายร้อยตัว ดังนั้นจึงหาได้ง่ายมากในกลุ่มสัตว์มักมีลิงปะปนอยู่อย่างน้อยหนึ่งตัว และส่วนใหญ่กินพืชผักผลไม้ไบไม้ต้นอ่อนของพืขเป็นอาหาร และแมลง หรือแม้แต่เปลือกของต้นไม้ในช่วงฤดูหนาวที่มีอาหารขาดแคลน พวกมันมีวิธีการกักเก็บอาหารไว้ที่แก้มหรือที่เรียกว่า “ถุงแก้ม” เก็บไว้ในปาก เพื่อเป็นทีเก็บกักตุนอาหารชั่วคราว

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 47-70 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล....มีตลอดทั้งปี
  • หมูป่าญี่ปุ่น Suidae
    หมูป่าญี่ปุ่น
    หมูป่าญี่ปุ่น Suidae
    ภูมิภาคหลัก: .. ฮอนชู (ทางทิศตะวันตกของพื้นที่คันโต) ชิโกกุและคิวชูพบได้ในป่าซาโตยามา (ซาโตยามา คือย่านที่อยู่อาศัยและป่าในเขตชนบท) และป่าในแถบภูเขา มีขนเป็นสีเทาปนสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำมัน หรือ สีน้ำตาล ลูกหมูป่าจะมีลาย จะเรียกว่า ลูกหมูป่า (Uribo) ออกหากินเวลากลางคืน ใช้จมูกขุดพื้นดินเพื่อหาอาหารจำพวกรากของพืช แมลงและไส้เดือน ใช้จมูกในการดมกลิ่นได้ดีเยี่ยม ซึ่งช่วยให้พวกมันขุดหามันฝรั่งในดินได้ มีนิสัยที่ไม่เหมือนสัตว์ตัวอื่นเรียกว่า Nuta (Nota) คือชอบอาบน้ำโคลน คือเป็นการล้างตัวเพื่อไล่แมลงหรือปรสิตในแอ่งน้ำโคลนหรือที่ที่พวกมันสร้างขึ้น ตลอดเส้นทางขึ้นภูเขาทาคาโอะบางครั้งมักจะพบเห็นหมูป่าเหล่านี้นอนแช่ในแอ่งน้ำโคลน

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 140 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล.....ตลอดทั้งปี
  • แบดเจอร์ญี่ปุ่น Meles anakuma Mustelidae
    แบดเจอร์ญี่ปุ่น   Meles anakuma
    แบดเจอร์ญี่ปุ่น Meles anakuma Mustelidae
    ภูมิภาคหลัก: ... กระจายอยู่ในฮอนชูชิโกกุและคิวชูพบในป่าดิบในที่ลุ่ม มีชื่ออื่น ๆ ในภาษาญี่ปุ่นว่า Mujina คือสุนัขแรคคูนหรือจะเรียกว่า แบดเจอร์ เป็นแรคคูนในตระกูล Canidae บางครั้งในประเทศญี่ปุ่นทั้งแบดเจอร์และสุนัขแรคคูน จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ทั้งลักษณะและนิสัย แต่ไม่ได้เป็นสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด มีชื่อญี่ปุ่นว่า Nihon-anagumaคือ หมี (guma) แต่ก็ไม่ได้อยู่ในตระกูลเดียวกันกับหมี ชอบขุดดินมาก จึงมีชื่อว่า Guma ทำรังใต้ดินโดยใช้เล็บขุดหลุมเป็นอุโมงค์ยาว 10 ถึง 20 เมตร ออกหากินในเวลากลางคืน รอบ ๆ ภูเขาและกินผลไม้ ไส้เดือน แมลงกบและหอยทาก

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 44-68 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล....ช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายน
  • กระรอกญี่ปุ่น Sciurus Momonga Pteromys
    กระรอกญี่ปุ่น  Sciurus
    กระรอกญี่ปุ่น Sciurus Momonga Pteromys
    ภูมิภาคหลัก: .... ฮอนชู ชิโกกุและคิวชู ไม่ค่อยพบเห็นมากนักในคิวชูและชูโกกุเนื่องจากเป็นป่าเสื่อมโทรม จะพบมากในพื้นที่ราบต่ำ ซึ่งมันชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ แต่มักจะลงมาที่พื้นดินเพื่อสร้างรังจากเศษกิ่งไม้เป็นรูปทรงกลม และนำตะใคร่น้ำแห้งๆ มาสร้างรังตามจุดต่างๆ หรืออยู่ในโพรงไม้ เป็นกิจกรรมที่มันทำในช่วงเช้าและช่วงบ่าย แต่บางครั้งพบได้ตามเส้นทางขึ้นภูเขา อาหารที่มันชอบกินคือถั่วและผลของต้นโอ๊ก และมันจะกักเก็บอาหารไว้กินในช่วงฤดูหนาว มีหางยาวเป็นพวงดูน่ารักมากเมื่อขณะกำลังถือวอลนัท บางครั้งพวกมันจะกระโดดได้ใกลกว่า 10 เมตรและย้ายจากกิ่งหนึ่งไปยังอีกกิ่งหนึ่ง

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 20 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล....พบได้ตลอดทั้งปี
  • กระรอกบินยักษ์ญี่ปุ่น ( บ่าง ) Leucogenys Petaurista Momonga Pteromys
    กระรอกบินยักษ์ญี่ปุ่น  ( บ่าง )  Leucogenys Petaurista
    กระรอกบินยักษ์ญี่ปุ่น ( บ่าง ) Leucogenys Petaurista Momonga Pteromys
    ภูมิภาคหลัก: ... พบในแถบฮอนชู ชิโกกุและบางส่วนของคิวชู จะกระจายอยู่ในป่าจากที่ราบถึงภูเขา เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ใช้พังพืดที่ยึดติดระหว่างแขนมาช่วงลำตัวเป็นปีกกางออกเพื่อร่อนบินเหินจากต้นไม้หนึ่งไปอีกต้นหนึ่งเพื่อหาอาหาร อาหารที่โปรดปรานเช่นใบยอดอ่อน หน่อตาต้นไม้ ดอกไม้และเมล็ดของต้นไม้ มันสามารถร่อนเหินได้ในระยะใกลถึงกว่า 100 เมตรเลยทีเดียว ส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้และอยู่ในรังที่สร้างขึ้นในโพรงต้นไม้ใหญ่ มันจะนอนหลับพักผ่อนในช่วงเวลากลางวัน ส่วนหลังจากพระอาทิตย์ตกดินจะเป็นเวลาออกล่าเหยื่อหาอาหาร มักจะพบได้ในเขตภูเขาทาคาโอะ โดยส่วนใหญ่จะมีคณะทัวร์เข้าเที่ยวชม หรือจะพบเห็นได้ในคู่มือการท่องเทียว

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 34-50 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล.....พบเจอได้ตลอดปี

    (未翻訳)鳴き声を聞く

  • กระรอกบินแคระญี่ปุ่น Momonga Pteromys Momonga Pteromys
    กระรอกบินแคระญี่ปุ่น  Momonga Pteromys
    กระรอกบินแคระญี่ปุ่น Momonga Pteromys Momonga Pteromys
    ภูมิภาคหลัก: ... ฮอนชู ชิโกกุและคิวชู พบในป่าเขตภูเขา มีลักษณะที่โดดเด่นคือมีดวงตากลมใหญ่โต มีความสามารถในการบินเหมือนกระรอกบินยักษ์ ลักษณะการบินของพวกมันเหมือนกัน คือร่อนเหินโดยการยืดปีกออกเหมือนเครื่องร่อน และบินได้ในระยะ 20 ถึง 30 เมตร หรืออาจมากกว่า 100 เมตร ส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้และออกหากินในเวลากลางคืน แหล่งอาหารคือกินใบไม้ หน่อตาไม้ ผลไม้ เมล็ดและเปลือกของต้นไม้ โดยร่อนจากต้นหนึ่งไปสู่อีกต้นหนึ่ง ขนาดของร่างกายมีขนาดเล็กมากกว่ากระรอกบินยักษ์ถึงสองเท่า แต่มีความคล่องตัวมากกว่า 10 เท่าเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 14-20 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล ...มีตลอดปี
  • หนูใหญ่ญี่ปุ่น Apodemus speciosus สายพันธ์หนู
    หนูใหญ่ญี่ปุ่น   Apodemus speciosus
    หนูใหญ่ญี่ปุ่น Apodemus speciosus สายพันธ์หนู
    ภูมิภาคหลัก: ... ในฮอกไกโด คิวชู มีหนูหลากหลายสายพันธ์กระจายอยู่ทั่วในญี่ปุ่น มีบางสายพันธ์ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ แต่สายพันธุ์นี้อาศัยอยู่บนพื้นดินและปีนต้นไม้ไม่ได้ และขุดอุโมงค์ใต้ดินเพื่อทำรัง กินเมล็ดพืชที่อยู่ตามพื้นดินและแมลงขนาดเล็ก จัดเก็บอาหารที่มันหาได้ไว้ในโพรงที่เป็นรังของมัน จะเป็นจำพวกถั่วและเมล็ดพืชรวมทั้งผลโอ๊ก มีลำตัวและขนเป็นสีน้ำตาลแดง มีชื่อญี่ปุ่นเรียกว่า Aka-nezumi หมายถึงหนูสีแดง มีลักษณะที่แตกต่างจากหนูทั้วไปคือมีดวงตากลมใหญ่ แต่จะไม่ค่อยพบเห็นในช่วงกลางวัน เพราะส่วนใหญ่มันจะออกหากินในเวลากลางคืน มันมีขาหลังที่แข็งแรงมากสามารถเดินได้หลายกิโลเมตรต่อวัน

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 8 ถึง 14 ซม.
    ●ฤดูกาล.....พบเจอได้ตลอดทั้งปี
  • หนูเล็กญี่ปุ่น Apondemus argenteus สายพันธ์หนู
    หนูเล็กญี่ปุ่น    Apondemus argenteus
    หนูเล็กญี่ปุ่น Apondemus argenteus สายพันธ์หนู
    ภูมิภาคหลัก: มีกระจายเกือบทุกที่ในญี่ปุ่นรวมทั้งฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู เกาะซาโดะ เกาะมิยาเกะ เกาะยากุ หนูเล็กเป็นสัตว์พื้นเมืองในญี่ปุ่น ที่พบได้ในที่ลุ่มตามแนวป่าจากเทือกเขา มีลักษณะคล้ายกับหนูใหญ่ แต่ขนาดของลำตัวเล็กกว่ามาก และมีหางยาวกว่าหนูใหญ่ ชอบอาศัยอยู่บนพื้นดิน แต่หนูชนิดนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนต้นไม้เนื่องจากด้วยน้ำหนักตัวของพวกมันมีน้ำหนักเบาและมีความยืดหยุ่นดีและมีนิ้วมือนิ้วเท้าบาง ปรับสมดุลของลำตัว หางที่ยาวได้ดี แม้ขณะที่มันเกาะเถาองุ่นมีความคล่องแคล่วว่องไว ใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้ได้ในความสูงถึง 10 เมตร และบางครั้งก็สร้างรังอยู่บนต้นไม้ กินผลโอ๊ก เมล็ดพืช และแมลงเป็นอาหาร

    ●ความยาวลำตัวประมาณ 6-10 เซนติเมตร
    ●ฤดูกาล.....พบเจอได้ตลอดปี
もっと見る 閉じる