TAKAO 599 MUSEUM

ขุมทรัพย์ของภูเขาทาคาโอะ

Selected

นิทรรศการตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ที่ได้รับการจัดให้เพื่อทุกคนและเป็นรูปแบบของการจัดนิทรรศการแบบเปิดโล่งล้อมรอบดอกไม้ที่สวยงามตามฤดูกาลทั้งสี่ฤดู ที่พบหลากหลายที่มีความโดดเด่นก็คือแมลงที่อาศัยอยู่ในภูเขา ถูกจัดวางอยู่บนผนังซึ่งสตาฟเอาไว้ แสดงให้เห็นถึงมนต์เสน่ห์ของการพัฒนาแบบไดนามิกของทาคาโอะที่เป็นภาพยนตร์ เช่น กำแพงธรรมชาติ"ที่พิพิธภัณฑ์ ทาคาโอะ 599 ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงนิทรรศการเพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของสิ่งมีชีวิตที่มีส่วนร่วมในสภาพแวดล้อมแห่งธรรมชาติ "

  • อาคามัทซึ (สนแดง / สนฉัตร) ตระกูลต้นสน
  • สนโมมิ ตระกูลต้นสน
  • ซือกิ (สนซีดาร์) ตระกูลสน
  • ฮิโนกิ (ไซปรัส) ตระกูลไซปรัส
  • โค๊ะนารา(โอ๊คนารา) ตระกูลฟากาซี
  • ชิระ คาชิ (สนใบไผ่) ตระกูลฟากาซี
  • สุดาจี (chinquapin) ตระกูลฟากาซี
  • ฟุสะซากุระ ตระกูลซากุระ
  • โฮโอโนกิ ตระกุลแมกโนเลียซี
  • อาบุราจัน (ไม้หอมญี่ปุ่น) ตระกูลลอราซี
  • Lindera obtusiloba ตระกูลลอราซี
  • คาขุอุทซิกิ (เถาวัลย์เปรียงไฮเดรนเยีย) ตระกูลยูกิโน๊ะชิตะ
  • มารุบะ อุทซึกิ ตระกูลยูกิโน๊ะชิตะ
  • ทามาอาจิไซ (ไฮเดรนเยีย ดอกกลม) ตระกูลยูกิโน๊ะชิตะ
  • โมมิจิ อิจิโก่ะ ตระกูลเชอรรี่
  • จาเกทซึ บาร่ะ (ซีซัลพิเนียซี) ตระกูลถั่ว
  • มิยามา ชิคิมิ ตระกูลส้ม
  • อาคาเม่ะ คาชิว่า ตระกูล ยูฟอร์เบียซี (ไม้ประภาคาร)
  • เอโรฮ่า โมมิจิ (เมเปิ้ล) ตระกูลโมมิจิ
  • คาทซึระ ตระกูลคาทซึระ
  • ซาคากิ ตระกูลทซึบากิ
    ซาคากิ
    ซาคากิ ตระกูลทซึบากิ
    เป็นไม้ป่าดิบ ที่เติบโตในป่าบนพื้นที่ภูเขา เนินเขา ลำต้นจะเป็นสีเขียวอมแดง และสีน้ำตาลเข้ม ใบมีลักษณะกลม ขนาดเล็กจำนวนมาก ลำต้นยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เริ่มแตกกิ่งก้านตั้งแต่ช่วงฤดูหนาว ใบถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมของลัทธิชินโต ถือว่าเป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยนำใบประดับในแท่นบูชา ซึ่งมีความเชื่อนี้มาตั้งแต่อดีตกาล ใบเป็นรูปวงรี ยาวประมาณ 8 ถึง 10 ซม. กว้างประมาณ 2-4 ซม. หนา​​และเงางาม ฤดูกาลอกกดอกประมาณช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ใน 1 โคนกิ่งจะประกอบด้วยดอก 1-3ดอก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม. มีกลีบดอกไม้ 5 กลีบ ที่เริ่มเป็นขาวในตอนแรก และจากนั้นต่อมาก็จะเริ่มมีสีเหลืองมาแซม เมล็ดมีรูทรงกลม ยาวประมาณ 7 มม. กสรตัวผู้จะมีลักษณะเหมือนขนนกสีขาว และมีเดือยโผล่พ้นจากโคนดอก และเกสรตัวเมียจะมีละอองเกสร เพื่อใช้เป็นที่ผสมพันธ์และกลายเป็นเมล็ดแก่ที่ใช้ในการขยายพันธ์ และเริ่มแก่เต็มที่ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ซึ่งจะเปลียนเป็นสีดำ สีม่วง

    ● ความสูง ประมาณ 10 ถึง 12 เมตร
    ● สถานที่ ถนนสายTrail ที่ 1 ถึง 3
  • คิบุชิ ตระกูลคิบูชิ
    คิบุชิ
    คิบุชิ ตระกูลคิบูชิ
    เป็นไม้พุ่มผลัดใบ ที่เจริญเติบโตในป่าลึก เนินเขา ลำต้นแต่งแต้มด้วยสีน้ำตาลและ สีดำ และเมื่อลำต้นเติบโตเต็มที่แล้วลำต้นจะเริ่มตั้งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ใบรูปไข่ ยาวประมาณ 6 ถึง 12 ซม. กว้างประมาณ 3-6 ซม. ขอบเป็นรอยหยักคล้ายเป็นร่องฟันของใบเลื่อย ฤดูกาลออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ดอกมีลักษณะเป็นลักษณะคล้ายรูประฆังคว่ำ กว้างประมาณ 4 ถึง 10 ซม. โดยห้อยหัวลงมาเป็นตุ้ม มีสีขาว เกสรตัวผู้ยาว 8 มม.มีสีเหลือง และเกสรตัวเมียมีสีเขียวอมเหลือง เมล็ดรูปวงรีและทรงกลม ยาวประมาณ 8 มม. เมล็ดเมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีเขียว ซึ่งประมาณช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม เหตุผลที่ใช้ชื่อ คิบุชิ เนื่องจาก นิยมใช้เมล็ดพันธุ์เหล่านี้เป็นแทนสมอดีงูชนิดหนึ่งได้ จึงได้ใช้ชื่อนี้สืบมา

    ● ความสูง ประมาณ 3 ถึง 5 เมตร
    ● สถานที่ ถนนสายTrail 1 Trail 5 ภูเขาอุระ-ทาคาโอะ โอคุ-ทาคาโอะ , มินามิ-ทาคาโอะ
  • ฮานะอิคาดะ ตระกูลมิซูกิ
    ฮานะอิคาดะ
    ฮานะอิคาดะ ตระกูลมิซูกิ
    เป็นไม้พุ่มผลัดใบ ที่เจริญเติบโตในป่า เนินเขา และในบริเวณที่มีความชื้น เช่นใกล้กับริมธารบนภูเขา ลำต้นเมื่อเติบโตเต็มที่จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม มันเงา ลักษณะของดอกเป็นเอกลักษณะ เป็นดอกไม้ขนาดเล็ก ซึ่งดอกจะบานอยู่ตรงกลางโคนใบ ซึ่งใบจะมีลักษณะเป็นใบที่กว้างมาก ที่มองเห็นได้ชัดเจนและสวยงามมาก จึงได้รับการตั้งชื่อว่า ฮานะอิคาดะ แปลว่า ดอกไม้ใบกว้าง ใบเป็นรูปวงรี กว้าง 6 ถึง 12 ซม. ขอบใบเป็นรอยหยักเหมือนฟันของใบเลื่อย ฤดูกาลของดอกที่บานในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เป็นดอกไม้ที่มี สีเขียวอ่อน , ยาวประมาณ 5 มม. เกสรตัวผู้จะมีลักษณะเหมือนขนนกสีขาว และมีเดือยโผล่พ้นจากโคนดอก และเกสรตัวเมียจะมีละอองเกสร เพื่อใช้เป็นที่ผสมพันธ์และกลายเป็นเมล็ดแก่ที่ใช้ในการขยายพันธ์ เมล็ดมีรูปร่าง ทรงกลม ในเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.7-1 ซม.เมื่อสุกเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ สีม่วง ในเดือน สิงหาคม-ตุลาคม . เมล็ดมีรสหวาน และใบอ่อนนำมาปรุงอาหารรับประทาน ทอดกับแป้งเทมปุระ และใบสามารถนำไปต้ม ประกอบอาหารได้

    ● ความสูง ประมาณ 1-3 เมตร
    ● สถานที่ ถนนสายTrail 4 Trail 6 ภูเขาอุระ-ทาคาโอะ
  • มูราซากิ ชิกิบุ คุมะ ทซึจิระ
    มูราซากิ ชิกิบุ
    มูราซากิ ชิกิบุ คุมะ ทซึจิระ
    เป็นไม้พุ่มผลัดใบ ที่เติบโตในป่า เนินเขา บริเวณที่มีความชื้น แหล่มริมธาร หรือสามารถพบเห็นได้ตามป่าทั่ว ๆ ไป ลำต้นมีสีเขียวถูกแต่งแต้มด้วยสีเทาอ่อน และผิวเปลือกของลำต้นนั้นราบเรียบ ลำต้นจะตั้งตรงสวยงาม นิยมที่จะนำไม้พรรณนี้นำมาเป็นไม้ประดับในสวนหย่อม ประดับตามอาคารบ้านเรือน ซึ่งถือได้ว่าได้รับความนิยมอย่างมาก ใบเป็นรูปวงรี ยาวประมาณ 6-13 ซม. ขอบใบคมชัดสวยงาม และขอบใบด้านบนยังเป็นรอยหยักคล้ายกับร่องฟันของใบเลื่อย ฤดูกาล ออกดอกระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ดอกไม้มีสีม่วง เส้นผ่าศูนย์กลางดอกไม้ประมาณ 4 มิลลิเมตร กออกเป็น 4 จะแบน เปิดเป็น 4 เกสร เกสรตัวผู้จะมีลักษณะเหมือนขนนกสีขาว และมีเดือยโผล่พ้นจากโคนดอก และเกสรตัวเมียจะมีละอองเกสร เพื่อใช้เป็นที่ผสมพันธ์และกลายเป็นเมล็ดแก่ที่ใช้ในการขยายพันธ์ ละอองเรณูจะมีสีเหลือง และสามารถขยายพันธ์ได้อย่างง่าย

    ● ความสูง ประมาณ 2 ถึง 3 เมตร
    ● สถานที่ ภูเขาอินาริ , โอคุ-ทาคาโอะ
  • อุควิสุกะ คุระ ตระกูลสายน้ำผึ้ง
    อุควิสุกะ คุระ
    อุควิสุกะ คุระ ตระกูลสายน้ำผึ้ง
    เเป็นไม้พุ่มผลัดใบ ที่เติบโตในป่า เนินเขา บริเวณที่มีความชื้น แหล่มริมธาร หรือสามารถพบเห็นได้ตามป่าทั่ว ๆ ไป ลำต้นมีสีเขียวถูกแต่งแต้มด้วยดำ และผิวเปลือกของลำต้นนั้นราบเรียบ ลำต้นจะตั้งตรงสวยงาม เมื่อลำต้นโตเต็มที่ จะเป็นสีเขียวอมแดงเรื่อ ๆ นิด ใบเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 3-6 ซม. กว้างประมาณ 2-4 ซม. แตกหน่อจากด้านข้าง ด้านหลังของใบเป็นผิวบาง ๆ แต่งแต้มด้วยสีขาวฤดูกาลออกดอกประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม ดอกเป็นสีชมพูอ่อนฉูดฉาด กลีบดอกมีบาง รูปทรงกระบอก มีรูปร่างเหมือนแตรประมาณยาว 1-1.5 ซม. มีกลีบดอก 5 กลีบ จะแบน เปิดเป็น เกสรตัวผู้จะมีลักษณะเหมือนขนนกสีขาว และมีเดือยโผล่พ้นจากโคนดอก และเกสรตัวเมียจะมีละอองเกสร เพื่อใช้เป็นที่ผสมพันธ์และกลายเป็นเมล็ดแก่ที่ใช้ในการขยายพันธ์ เมล็ดรูปวงรี ยาวประมาณ 1-1.5 ซม. เมื่อสุกเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง ในเดือนมิถุนายน มีรสชาติหวาน รับประทานได้

    ● ความสูง ประมาณ 2 ถึง 3 เมตร
    ● สถานที ถนนสายTrail เพลส 1 , ภูเขาอินาริ
  • Viburnum plicatum var . tomentosum ตระกูลสายน้ำผึ้ง
    Viburnum plicatum var . tomentosum
    Viburnum plicatum var . tomentosum ตระกูลสายน้ำผึ้ง
    ต้นไม้ ผลัดใบ ขนาดเล็ก (น้อยกว่า 10 เมตร ต้นไม้สูง ที่ หาย ใบของมัน อีกครั้ง ในปีที่ผ่าน) ที่พบใน ขอบป่า เปียกและ waterside.Branches ขยาย ในแนวนอนและ ใบอ่อน มีสีน้ำตาล กับผม . เห่า เป็น สีเทา สีดำ เรียบและ มีการวาง lenticels บางครั้งบางคราว ( เปิด ที่ช่วยให้ ก๊าซ ที่จะ แลกเปลี่ยนระหว่าง อากาศและเนื้อเยื่อ ภายในของ พืช) . ใบ มี 5 ถึง 12 เซนติเมตรยาว และกว้าง รูปไข่ กับผม tip.Have แหลม บน เส้น ใบ ด้านหลังและ ขอบ ฟัน ( ขอบ ของใบ เป็นเหมือน ฟัน ของ เลื่อย) . บลูมมิ่ง ฤดู ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน บาน 5-6 มม. ใน เส้นผ่าศูนย์กลาง สี ครีม ดอก กะเทย ( เกสร ตัวเมีย และ อยู่ร่วมกัน ในหนึ่ง ดอก ) ล้อมรอบด้วย 3 ถึง 4 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง ดอกไม้ ประดับ สีขาว ( ช่อดอก รอบทิศทาง มี เกสร หรือ เกสร ) ใน ช่อดอก ( ต้นกำเนิด ด้วยดอกไม้ ) เติบโตจาก สาขา . นี้ดูเหมือนว่า ลูก ด้าย จึงชื่อ ญี่ปุ่นยาบุ demari หมายถึง ลูก ด้าย ใน พุ่มไม้ . ผลไม้ 5-7 มม. ยาวและ รูปไข่ และหลัง เปลี่ยนสีแดง จากเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม เปลี่ยนเป็นสีดำ ตามที่พวกเขา ทำให้สุก

    ● ความสูง ประมาณ 2 ถึง 6 เมตร
    ● สถานที่ Kita- ทาคาโอะ
  • กามาสุมิ ตระกูลสายน้ำผึ้ง
    กามาสุมิ
    กามาสุมิ ตระกูลสายน้ำผึ้ง
    พุ่มไม้ผลัดใบที่พบในชายป่า ในภูเขาที่มีแดดจัด ลำต้นเป็นสีเทาสีน้ำตาลและผิวเปลือกนั้นราบเรียบ มีท่อเพื่อที่จะทำการสังเคราะห์แสง เพื่อทำการให้ก๊าซที่จะแลกเปลี่ยนระหว่างอากาศและเนื้อเยื่อภายในของพืชอีกทางหนึ่ง ใบมีความยาว 6-14 ซม. กว้าง 3 ถึง 13 ซม. ขอบในมีรอยหยักคล้ายกับร่องฟันของใบเลื่อย มีขนทั้งสองด้านและต่อมใบที่แตกต่างกัน ฤดูกาลที่ดอกบานอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน. ดอกสีขาวขนาดเล็ก ๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 ถึง 10 ซม. ดอกมีลักษณะอยู่กันเป็นกลุ่มเป็นพวง อย่างน้อย 5 ดอก รวมเป็น 1 พวง กสรตัวผู้จะมีลักษณะเหมือนขนนกสีขาว และมีเดือยโผล่พ้นจากโคนดอก และเกสรตัวเมียจะมีละอองเกสร ผลไม้เป็นรูปไข่ยาวประมาณ 6 มม. และเปลี่ยนเป็นสีแดงจากกันยายน-พฤศจิกายน. ในฤดูหนาวเปลี่ยนเป็นแป้งสีขาวกลายเป็นหวานและกินได้

    ●ความสูง ประมาณ 2-4 เมตร
    ●สถานที่ ถนนสายTrail 4 ภูเขาอินาริ, โอคุ-ทาคาโอะ
  • ไก่ฟ้าทองแดง ชื่อญี่ปุ่น “Yamadori” วงศ์: ไก่ฟ้า
    ไก่ฟ้าทองแดง ชื่อญี่ปุ่น “Yamadori”
    ไก่ฟ้าทองแดง ชื่อญี่ปุ่น “Yamadori” วงศ์: ไก่ฟ้า
    เป็นไก่ฟ้าที่พบเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
    ขนาดจะโตกว่าไก่ฟ้าธรรมดาหนึ่งเท่า ไก่ฟ้าเพศผู้จะมีปีกยาวกว่าลำตัว
    และชอบอยู่ตามป่าทึบ เมื่อเทียบกับไก่ฟ้าชนิดอื่นๆ ที่ชอบอยู่ตามพื้นที่โล่งแจ้ง ไก่ฟ้าเพศผู้กับเพศเมียมีสีน้ำตาล เมื่ออยู่ในป่าก็ดูกลมกลืนกับสิ่งแวคล้อม และเสียงร้องไม่ค่อยโดดเด่น " คุ คุ คุ คุ " จะเดินวนไปรอบ ๆโคนต้นไม้ในป่าเพื่อจับแมลง ไส้เดือน เมล็ดหญ้าและตาอ่อนของต้นไม้ ประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนเป็นช่วงฤดูผสมพันธ์ เพศผู้จากที่ไม่ค่อยแสดงตัวก็จะมีการตีปีกเพื่อให้เกิดเสียง
    เพื่อประกาศอาณาเขต ทำรังใต้ร่มเงาของต้นไม้ที่ล้ม
    โดยการนำใบไม้และเปลือกไม้มากองสร้างรัง วางไข่ครั้งละ 7-10 ฟอง

    ●ขนาด/เพศผู้ประมาณ125เซนติเมตร(รวมปลายปีก)เพศเมียประมาณ55เซนติเมตร
    ●ฤดู/เดือน1~12
    เป็นนกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกพิราบสีฟ้า ชื่อญี่ปุ่น “Aobato” วงศ์:นกพิราบ
    นกพิราบสีฟ้า ชื่อญี่ปุ่น “Aobato”
    นกพิราบสีฟ้า ชื่อญี่ปุ่น “Aobato” วงศ์:นกพิราบ
    เป็นนกที่มีความสวยงามมาก ลักษณะเด่นคือ ลำตัวมีสีเขียวเหลืองและจงอยเป็นสีฟ้า เพศผู้และเพศเมียมีสีที่ใกล้เคียงกันมาก ลักษณะความแตกต่างคือ ปีกของเพศผู้จะมีขนสีม่วง ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบ หรือป่าทึบ โดยจะอยู่เป็นฝูงตามป่าใบไม้กว้างเขียวชอุ่มเช่น ต้นโอ๊คฟันเลื่อย ต้นเมเปิ้ล ต้นโอ๊คมองโกเลีย เป็นต้น สำหรับป่าโปร่งนั้นแทบจะไม่ได้พบเห็นเลย จะกินผลของต้นไม้ ตาอ่อน หรือผลของต้นโอ๊ค นอกจากนั้นในต้นฤดูร้อนถึงฤดูใบไม้ผลิจะมีการบินมายังชายฝั่งทะเลเพื่อกินน้ำทะเลหรือตามแหล่งน้ำที่มีเกลือ แหล่งน้ำพุร้อนตามภูเขา เป็นการกินเกลือแร่เพื่อเพิ่มเสริมให้ร่างกายแข็งแรง ในฤดูผสมพันธ์เพศผู้จะร้องเสียงแบบเหงา ๆ " โอะ อะ โอะ"อย่างยาวๆแบบต่อเนื่อง ช่วงเดือนมิถุนายนทำรังโดยการเอากิ่งไม้เล็กๆมาทำเป็นรูปจานบนกิ่งไม้ ในหนึ่งครั้งวางไข่ประมาณ 2 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 33 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ) หรือว่า
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป

    (未翻訳)鳴き声を聞く

    Audio Player
  • นกกาเหว่าน้อย ชื่อญี่ปุ่น“Hototogisu” วงศ์:นกกาเหว่า
    นกกาเหว่าน้อย ชื่อญี่ปุ่น“Hototogisu”
    นกกาเหว่าน้อย ชื่อญี่ปุ่น“Hototogisu” วงศ์:นกกาเหว่า
    อาศัยอยู่ในป่าโล่งกว้าง ภูเขาลูกต่ำ ๆ เมื่อเทียบกับนกกาเหว่าอื่นๆ
    ตัวผู้จะร้องมีเสียงว่า “Tokkyo Kyoka - Kyoku ” แต่ชนิดนี้จะมีเสียงคือ “ Kyo Kyo Kyo ”ด้วยเสียงที่ดังมาก บางทีอาจเป็นเสียง “Ho To To Gi Su ” จึงเป็นที่มาของชื่อนกชนิดนี้ ด้านหลังนกที่โตเต็มวัยจะมีสีเทา ส่วนหน้าอกจะเป็นลายสีดำ ตัวผู้กับตัวเมียมีสีเหมือนกัน แต่ตัวเมียจะมีสีน้ำตาลแดง อาหารที่ชอบจำพวกแมลง แต่ที่ชอบมากกว่าคือ ด้วงและหนอน ไม่สร้างรังเป็นของตนเอง จะไปไข่ไว้ที่รังนกชนิดอื่น ฝากเลี้ยงและฟักออกเป็นตัว (ฟักไข่หนึ่งลูกต่อหนึ่งรัง) นี่คือลักษณะนิสัยของนกกาเหว่า จะเลือกรังนกที่มีลักษณะสีของไข่เหมือนกันคือมีสีน้ำตาลคล้ายๆกัน ฤดูผสมพันธุ์คือ ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม
    จะขโมยไข่จากรังของนกชนิดอื่นออกมา 1 ใบและเติมไข่ของตัวเองเข้าไปแทน ในช่วงใบไม้ร่วงจะหลบหนาวโดยอพยพไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ●ขนาด/ประมาณ 28เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน5~10
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าฤดูใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )

    (未翻訳)鳴き声を聞く

    Audio Player
  • เหยี่ยวดำ ชื่อญี่ปุ่น “Tobi” วงศ์: เหยี่ยว
    เหยี่ยวดำ ชื่อญี่ปุ่น “Tobi”
    เหยี่ยวดำ ชื่อญี่ปุ่น “Tobi” วงศ์: เหยี่ยว
    เป็นเหยี่ยวที่ชอบอาศัยอยู่ชายฝั่งทะเล เลียบแม่น้ำและอยู่ในเมือง
    จะร้องเสียง「พี-เอียว โร โร โร」และบินบนอากาศวนเป็นรูปวงกลม ตามที่ทุกคนคุ้นเคยมีชื่อเรียกว่า ว่าวสีดำ ชอบอยู่เป็นฝูง ออกหากินในตอนเช้า กินซากสัตว์ที่ตายแล้ว หรือปลา แมลง และกบเป็นต้น และหรือบางครั้งก็กินเศษอาหารตามกองขยะ ตัวผู้กับตัวเมียสีเหมือนกัน เมื่อตัวโตเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลทั้งตัว ขณะบินจะเห็นหางเป็นรูปสี่เหลี่ยมคามหมู ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงผสมพันธ์ จะอยู่ด้วยกันและช่วยกันสร้างรังบนต้นไม้สูง โดยนำเศษกิ้งไม้แห้งมาทำรังเป็นรูปจานและวางไข่ทีละประมาณ 2-3 ฟอง

    ●ขนาด/ตัวผู้ประมาณ 58 ซม. ตัวเมียประมาณ 68 ซม.
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • เหยี่ยวนกเขาท้องขาว ชื่อญี่ปุ่น “Ootaka” วงศ์: เหยี่ยว
    เหยี่ยวนกเขาท้องขาว ชื่อญี่ปุ่น “Ootaka”
    เหยี่ยวนกเขาท้องขาว ชื่อญี่ปุ่น “Ootaka” วงศ์: เหยี่ยว
    อาศัยอยู่พื้นที่ราบจนถึงในป่าบนภูเขา บางที่ก็พบเห็นได้ในเมือง
    นกตัวเมียเมื่อโตเต็มวัยจะมีสีเทาฟ้า ส่วนนกตัวผู้จะสีน้ำตาล จะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน นอกจากฤดูผสมพันธ์แล้วจะอยู่ลำพังตัวเดียว อาหารที่ล่าคือไก้ฟ้า เป็ด กระรอก กระต่ายป่าเป็นต้น และจะจับนกพิราบหรือกาตามส่วนสาธารณะเป็นเหยื่อ ฤดูผสมพันธ์คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน จะสร้างรังที่รากต้นไม้ใหญ่เช่นรากต้นสน โดยการวางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ช่วยกันเลี้ยงลูก โดยตัวผู้จะทำหน้าที่ในการล่าเหยื่อ มีเสียงร้องว่า 「เคท,เคท 」 และเอาเหยื่อให้ตัวเมียมาเลี้ยงลูก จะสร้างรังที่เดิมทุกปี หรือไม่ก็มีการหมุนสลับเปลี่ยนกันในรังอื่นๆ ที่มีอยู่2-3รัง

    ●ขนาด/ตัวผู้ประมาณ 50 ซม. ตัวเมียประมาณ 56 ซม.
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ) หรือว่า
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป)
  • นกเค้าเเมว ชื่อญี่ปุ่น “Fukuroo” วงศ์: นกเค้าเเมว
    นกเค้าเเมว ชื่อญี่ปุ่น “Fukuroo”
    นกเค้าเเมว ชื่อญี่ปุ่น “Fukuroo” วงศ์: นกเค้าเเมว
    จะอาศัยในป่า และป่าที่ใกล้ผู้คนอาศัยอยู่ โดยจะชอบอาศัยบนต้นไม้ใหญ่ในวัดหรือศาลเจ้า ตัวผู้กับตัวเมียมีสีเหมือนกัน สีของลำตัวแตกต่างกันไปตามพื้นที่ โดยหลักแล้วเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีเทา ส่วนนกเค้าแมวที่อาศัยอยู่ทางเหนือจะออกเป็นสีขาว ชอบอยู่ตัวเดียว หรืออยู่เป็นคู่ ในกลางวันจะพักผ่อนบนต้นไม้ และเริ่มออกหากินในตอนเย็น
    จะบินไปรอบๆโดยไม้ให้มีเสียงบิน จะล่าเหยื่อจำพวก หนู นก จิ้งจก กบแมลงเป็นอาหาร พอเข้าฤดูผสมพันธ์ ทั้งตัวผู้และตัวเมียก็จะร้อง 「 โฮ-โฮ 」 ส่วนมากจะสร้างรังในโพรงของต้นไม้ใหญ่ บางทีก็ทำรังบนหลังหลังคาบ้าน หรือตามขอบเพดานศาลเจ้า ช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนเมษายนจะวางไข๋ครั้งละประมาณ 2-3 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 50 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน1~12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)

    (未翻訳)鳴き声を聞く

    Audio Player
  • นกเค้าเหยี่ยว ชื่อญี่ปุ่น “Aobazuku” วงศ์: นกเค้าเเมว
    นกเค้าเหยี่ยว ชื่อญี่ปุ่น “Aobazuku”
    นกเค้าเหยี่ยว ชื่อญี่ปุ่น “Aobazuku” วงศ์: นกเค้าเเมว
    เป็นอีกนกชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยของผู้คนมากที่สุด ทำรังตามต้นไม้ใหญ่ตามศาลเจ้า วัดในเมือง ชื่อนกเค้าเหยี่ยว (Aobazuku) มีการตั้งชื่อจากการทีเริ่มมีใบไม้เขียวขึ้นแน่นหนา จึงตั้งชื่อนี้ ตัวผู้กับตัวเมียสีเหมือนกัน หัวกลมสีน้ำตาลเข้ม มีลักษณะที่โดดเด่นคือ มีดวงตาสีเหลืองทอง ตอนกลางวันจะนอนหลับพักผ่อนบนต้นไม้ พอตกเย็นจะร้อง 「 โฮทโฮท, โฮทโฮท」 เป็นการส่งสัญญานว่าจะออกล่าเหยื่อทั้งตัวผู้และตัวเมีย จะไปบินรวมตัวกันที่โคมไฟในเมืองเพื่อดักจับมอดหรือแมลงทับกิน ค้างคาว หรือ นกเล็ก ๆด้วย ช่วงฤดูผสมพันธ์คือเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน จะทำรังตามช่องว่างของสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ หรือต้นไม้ใหญ่ วางไข่ทีละ 2-5 ฟอง ตัวเมียกกไข่ ตัวผู้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยและหาอาหาร พอหน้าหนาวจะหลบความหนาวมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ●ขนาด/ประมาณ 29 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 5-10
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าหน้าใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )

    (未翻訳)鳴き声を聞く

    Audio Player
  • นกหัวขวานแคระญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Kogera” วงศ์: นกหัวขวาน
    นกหัวขวานแคระญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Kogera”
    นกหัวขวานแคระญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Kogera” วงศ์: นกหัวขวาน
    เป็นนกหัวขวานที่เล็กที่สุดเท่าที่พบเห็นได้ที่ญี่ปุ่น
    ตัวผู้และตัวเมียมีสีเกือบเหมือนกันแต่ตัวผู้ด้านหลังหัวจะมีลายสีแดงเล็กๆ
    อาศัยอยู่ในป่าตามภูเขา แต่ปัจจุบันมีการขยายพันธ์เป็นจำนวนมากและกระจายอยู่ตามสวนสาธารณะในเมือง ชอบอาศัยเป็นคู่หรืออยู่ตัวเดียว โดยจะอยู่ปะปนกับฝูงนกกระจาบ ย้ายจากต้นหนึ่งไปสู่อีกต้นหนึ่งเพื่อหาอาหาร เช่นแมงมุม หรือแมลง หรืออาจเป็นน้ำหวานของดอกซากุระโดยใช้ลิ้นในการดูดน้ำหวาน ในฤดูผสมพันธ์ใช้เสียงร้องหาคู่ 「เกียー、เกียเกียกิกิกิ 」 ใช้ปากเจาะต้นไม้เป็นจังหวะ โคะโละโละโละโละ・・・ (เหมือนตีกลอง)เพื่อให้เป็นโพรงและทำรังในนั้น โดยจะเลือกต้นไม้ที่แห้งแล้ว ในการทำรังนั้นก็จะชอบต้นซากุระหรือต้นไม้ที่มีเห็ดเล็กๆขึ้น
    ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน จะวางไข่ทีละประมาณ 5 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 15 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)

    (未翻訳)鳴き声を聞く

    Audio Player
  • นกหัวขวานสีเขียวญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Aogera” วงศ์: นกหัวขวาน
    นกหัวขวานสีเขียวญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Aogera”
    นกหัวขวานสีเขียวญี่ปุ่น ชื่อญี่ปุ่น “Aogera” วงศ์: นกหัวขวาน
    เป็นนกหัวขวานที่อาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นเท่านั้น โดยจะอาศัยตามพื้นที่ราบไปถึงป่าในภูเขาตั้งแต่แถวฮอนชูไปทางตอนใต้ ปัจจุบันสามารถพบรังของมันได้ที่ต้นซากุระในสวนสาธารณะ ด้านหลังลำตัวมีสีเขียวแต่งแต้มด้วยสีเทา หัวกับจงอยเป็นสีแดงดูสวยงามและโดดเด่นมาก ตัวผู้กับตัวเมียสีเกือบเหมือนกันแต่ตัวผู้เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วส่วนสีแดงจะเยอะกว่าโดยจุดสังเกตคือส่วนหัวทั้งหมดจะเป็นสีแดง ย้ายจากต้นไม้ไปสู่อีกต้นหนึ่งเพื่อจับแมลง หรือแมงมุมที่เกาะบนต้นไม้มากิน บางทีก็ลงมาเล่งหามดตามพื้นดิน ในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวจะกินผลไม้หรือผลของต้นไม้ ฤดูผสมพันธ์คือ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน มีเสียงร้อง 「 เพียวー、เพียวー」เสียงเหมือนนกหวีด เจาะต้นไม้เสียงเหมือนดีกลอง (「โคะโละโละโละโละ・・・」) เพื่อสร้างรัง ส่วนใหญ่จะเลือกเจาะต้นไม้ที่ยังไม่แห้ง ในแต่ละครั้งจะวางไข่ประมาณ 7-8ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 29 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกเเซวสวรรค์หางดำ ชื่อญี่ปุ่น “Sankouchou” วงศ์: นกแซวสวรรค์
    นกเเซวสวรรค์หางดำ ชื่อญี่ปุ่น “Sankouchou”
    นกเเซวสวรรค์หางดำ ชื่อญี่ปุ่น “Sankouchou” วงศ์: นกแซวสวรรค์
    ประมาณเดือนเมษายนจะอพยพกลับมาจากทางเอชียตะวันออกเฉียงใต้หลังจากที่หมดฤดูหนาว โดยจะผสมพันธ์กันตามพื้นที่ราบไปถึงป่าในภูเขา มักได้ยินเสียงร้องเป็นTsukiーHiーHo-ShiーHoiHoi」 จึงมีการตังชื่อจากเสียงร้องที่ได้ยินเป็น"ซาน-โค-โจ" มีลักษณะพิเศษคือที่จงอยปากและบริเวณรอบดวงตาเป็นสีฟ้าสดใส หางของตัวผู้จะยาวกว่าลำตัว3เท่า ส่วนตัวเมียจะหางสั้นทำให้สามารถแยกแยะได้ทันทีที่เห็น
    ชอบอาศัยอยู่ในป่ารกทึบ บินวนไปมาอย่างว่องไวปราดเปรียวเพื่อจับแมลงหรือแมงมุมที่ปลายของใบไม้กิน ตัวผู้จะสร้างอาณาเขตของตัวเอง เมื่อมีผู้บุกรุกจะไล่ทันที ฤดูผสมพันธ์คือ เดือนพฤษภาคมถึงประมาณเดือนกรกฎาคม สร้างรังโดยเอาตะไคร่น้ำหรือใยแมงมุมมาติดระหว่างกิ่งไม้เพื่อทำรังเป็นรูปทรงกรวยกลับก้านเหมือนหมวกสามมุม วางไข่ครั้งละประมาณ 3-5 ฟอง

    ●ขนาด/ตัวผู้ 45 ซม.(รวมขนหาง)ตัวเมีย 18 ซม.
    ●ฤดู/ประมาณเดือน4~8
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าหน้าใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )

    (未翻訳)鳴き声を聞く

    Audio Player
  • นกปีกลายสก๊อต ชื่อญี่ปุ่น “Karasu” วงศ์ กา
    นกปีกลายสก๊อต ชื่อญี่ปุ่น “Karasu”
    นกปีกลายสก๊อต ชื่อญี่ปุ่น “Karasu” วงศ์ กา
    ตัวผู้และตัวเมียมีสีลำตัวเกือบเหมือนกันคือเป็นสีน้ำตาล ส่วนห้วมีลวดลายสีขาวสลับดำ ที่ปีกมีลวดลายสีดำ ขาว ฟ้า เวลาบินจะเด่นสะดุดตามาก อาศัยในพื้นที่ราบหรือป่าโปร่งในพื้นที่ภูเขา นอกจากฤดูผสมพันธ์จะรวมตัวกันเป็นฝูงเล็กๆ ลักษณะการเดินจะกระโดดไปบนต้นไม้หรือตามพื้นดินเพื่อหาแมลง จิ้งเหลน ผลไม้กินเป็นอาหาร
    อาหารที่ชื่นชอบคือลูกโอ๊ก โดยมีนิสัยซ่อนไว้ตามช่องว่างระหว่างต้นไม้หรือฝั่งดินเพื่อสะสม และค่อยมากินทีหลังแต่ส่วนมากมักถูกลืม
    ปกติร้องเสียง「แจะー、แจ-อิ」ด้วยเสียงแหบแห้ง แต่ก็มีความชำนาญในการเลียนแบบเสียงร้องของนกชนิดอื่นเช่น นกเล็กๆหรือเหยี่ยว
    จากช่วงเดือนเมษายนถึงประมาณเดือนมิถุนายนคือช่วงฤดูผสมพันธ์ วางไข่ครั้งละประมาณ 5-6 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 33 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกติ๊ด มีชื่อญี่ปุ่น “Yamagara” วงศ์ นกติ๊ด
    นกติ๊ด มีชื่อญี่ปุ่น “Yamagara”
    นกติ๊ด มีชื่อญี่ปุ่น “Yamagara” วงศ์ นกติ๊ด
    อาศัยตามพื้นที่ราบหรือในป่าภูเขาเตี้ยๆ ชอบใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้ใบกว้างที่ป่าเขียวตลอดปี เช่นต้นโอ๊คและต้นการบูร เป็นต้น
    เป็นนกที่คุ้นเคยกับผู้คนได้ง่าย พบได้บ่อยตามพื้นที่บ้านพักอาศัย
    นอกจากฤดูผสมพันธ์ชอบอยู่ตัวเดียวหรืออยู่เป็นฝูงเล็กๆ ซึ่งอาจรวมนกที่จับคู่กันอยู่ด้วยยาวไปตลอดทั้งปี ตัวผู้กับตัวเมียสีเหมือนกัน
    ปีกมีสีเทาอมฟ้า ด้านหลังและอกเป็นสีน้ำตาล(Kuriiro) โดดเด่นมาก
    กินแมลงหรือผลของต้นไม้ อาหารที่ชื่นชอบมากที่สุดคือลูกโอ๊ด จะใช้เท้าสองข้างหนีบและใช้จงอยผ่าอย่างเชี่ยวชาญ
    นอกจากนั้นยังมีนิสัยชอบเอาลูกโอ๊ดซ่อนไว้ตามช่องว่างระหว่างเปลือกไม้หรือในดินเพื่อเป็นเสบียงอาหารสำหรับช่วงฤดูหนาว
    เดือนเมษายนถึงประมาณเดือนกรกฎาคมเป็นฤดูผสมพันธ์ ตัวผู้จะร้องว่า「ทซึทซึพิーทซึทซึพี」
    การทำรังจะใช้รังร้างหรือรังเก่าของนกหัวขวาน วางไข่ครั้งละประมาณ 5-8 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 14 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)

    (未翻訳)鳴き声を聞く

    Audio Player
  • นกติ๊ดใหญ่ ชื่อญี่ปุ่น “shijū-kara” วงศ์ นกติ๊ด
    นกติ๊ดใหญ่ ชื่อญี่ปุ่น “shijū-kara”
    นกติ๊ดใหญ่ ชื่อญี่ปุ่น “shijū-kara” วงศ์ นกติ๊ด
    ตั้งแต่คอถึงท้องมีลายเส้นสีดำเหมือนเนทไทเป็นลักษณะที่โดดเด่นมาก
    ตัวผู้กับตัวเมียมีสีเกือบเหมือนกัน แต่ตัวผู้มีลายเส้นที่กว้างกว่าเป็นจุดที่สามารถแยกความแตกต่างได้ อาศัยตามพื้นราบถึงป่าในภูเขา หรือในที่อยู่อาศัยของผู้คน หรืออาจพบได้ในสวนสาธารณะ นอกจากฤดูผสมพันธ์จะทำกิจกรรมร่วมกันเป็นฝูงเล็กๆ ไม่ค่อยกลัวคน บางครั้งถึงขั้นทำรังที่กล่องรับจดหมายหรือกระถางดอกไม้ในสวนเลยทีเดียว จับแมลงหรือแมงมุมบนต้นไม้หรือบนพื้นดินกินเป็นอาหาร และเมล็ดพืชด้วย
    หรืออาจเห็นรวมตัวกันที่ถาดอาหาร อาหารที่ชอบคือ เมล็ดทานตะวัน
    ฤดูผสมพันธ์ตัวผู้จะร้อง「ทซึทซึพีーทซึทซึพีー」
    เดิมทีจะทำรังตามช่องว่างระหว่างโขดหินหรือโพรงของต้นไม้ แต่ตอนนี้ชอบใช้รังกล่องบ่อยๆ
    จากเดือนเมษายนถึงประมาณเดือนกรกฎาคมจะวางไข่ครั้งละประมาณ7~10ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 15 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)

    (未翻訳)鳴き声を聞く

    Audio Player
  • นกนางแอ่นขาวมาร์ติน ชื่อญี่ปุ่น”Iwatsubame “ วงศ์ นกนางแอ่น
    นกนางแอ่นขาวมาร์ติน ชื่อญี่ปุ่น”Iwatsubame “
    นกนางแอ่นขาวมาร์ติน ชื่อญี่ปุ่น”Iwatsubame “ วงศ์ นกนางแอ่น
    เมื่อเข้าฤดูใบไม้ผลิจะบินมาจากทางใต้เร็วกว่านกนางแอ่นชนิดอื่นเล็กน้อย ลำตัวจะค่อนข้างเล็กและขนปีกจะสั้น ส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลแดงจากหัวผ่านมาถึงลำคอ แต่นกนางแอ่นขาวมาร์ตินมีลำคอสีขาว ชอบอยู่เป็นฝูงในพื้นที่ราบและป่าเปิดในภูเขาสูง จับเหยื่อขณะบินได้เช่นยุง มอด แมลงวัน เดิมทีจะสร้างรังกันเป็นกลุ่มตามถ้ำตามชายฝั่งหรือผนังหินของภูเขาเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันจะทำรังใต้ชายคาบ้าน ใต้สะพาน สถานีต่าง ๆ หรือ ซอกตึก เป็นต้น
    จากเดือนเมษายนถึงประมาณเดือนสิงหาคมจะเข้าฤดูผสมพันธ์ ตัวผู้จะร้อง「พิริท、จูริ、จิท」
    สร้างรังเป็นรูปถ้วยโดยการเอาหญ้าแห้งและโคลนมายึดติดด้วยน้ำลายของตัวเอง วางไข่ครั้งละประมาณ3~4ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 15 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดืนอ 3~10
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าหน้าใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )
  • นกปรอทหูสีน้ำตาล ชื่อญี่ปุ่น “Hiyo-dori” วงศ์ นกปรอท
    นกปรอทหูสีน้ำตาล ชื่อญี่ปุ่น “Hiyo-dori”
    นกปรอทหูสีน้ำตาล ชื่อญี่ปุ่น “Hiyo-dori” วงศ์ นกปรอท
    อาศัยตามพื้นที่ราบหรือในป่าบนภูเขา หรือบางครั้งก็พบได้ในเมือง
    ร้องเสียงดังว่า「พีー、พีー、ฮิーโย、ฮิーโย」 จึงเป็นที่มาของชื่อญี่ปุ่น "Hiyo-dori" สวนมากจะใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้ จะไม่ค่อยลงมาที่พื้นดิน
    กินผลไม้ น้ำหวานของดอกไม้ แมลง หรือบางครั้งก็ลูกนกชนิดอื่น รวมทั้งจิ้งแหลนด้วย นกปรอทมีหูสีน้ำตาล เดิมทีในช่วงฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูร้อนจะเลี้ยงลูกอ่อนตามภูเขา ฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาวจะย้ายมาอยู่แถบที่อบอุ่นที่เป็นพื้นที่ราบ แต่ปัจจุบันพบว่ามาทำรังบนต้นไม้ในสวนสาธารณะหรือบ้านพักอาศัยตลอดทั้งปี และมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นด้วย
    ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงประมาณเดือนกรกฎาคมเป็นฤดูผสมพันธ์ สร้างรังโดยนำกิ่งไม้แห้งมากอง ๆ หรืออาจมีเชือกพลาสติกมาเป็นวัตถุดิบก็มี วางไข่ครั้งละประมาณ 4~5 ฟอง

    พอเข้าฤดูใบไม้ร่วงจะรวมตัวกันเป็นฝูงร้อยกว่าตัว และอพยพไปยังสถานที่อบอุ่นเป็นระยะทางสั้นๆ (จะมีการโยกย้ายที่อยู่ตามฤดูกาล)



    ●ขนาด/ประมาณ 28 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ) หรือว่า
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป )
  • นกกระจิบ ชื่อญี่ปุ่น “Uguisu” วงศ์ นกกระจิบ
    นกกระจิบ ชื่อญี่ปุ่น “Uguisu”
    นกกระจิบ ชื่อญี่ปุ่น “Uguisu” วงศ์ นกกระจิบ
    มีเสียงร้อง 「โฮ-โฮเคะ-เคียว 」 จะร้องในช่วงฤดูผสมพันธ์ โดยตัวผู้จะร้องเพื่อประกาศอาณาเขต ส่วนตัวเมียจะร้อง「จิ๊ด,จิ๊ด」
    อาศัยอยู่ตามป่าไม้ พุ่มไม้ หรือทุ้งหญ้าตามพื้นราบถึงพื้นที่เป็นภูเขาในช่วงฤดูหนาวจะพบเห็นตามสวนสาธารณะในเมืองเต็มไปหมด
    ตัวผู้กับตัวเมียมีสีเหมือนกัน โดยลำตัวเป็นสีเขียวแต่งแต้มด้วยสีเทา
    บนตาจะมีแถบสีเทาอ่อน นอกจากฤดูผสมพันธ์จะอยู่ตัวเดียว จะกินแมลงหรือแมงมุม อาหารที่ชอบจะเป็นลูกพลับ
    หยุดพักตามกิ่งไม้ระหว่างบินในระยะใกลแต่ก็ไม่ได้บินระยะทางไกลมาก บินไปรอบในพุ่มไม้ ใช้วิธีหวดหรือโบกหางเพื่อบินเปลี่ยนทิศทางบิน
    ฤดูผสมพันธุ์จากเมษายน-สิงหาคม สร้างรังด้วยหญ้าสีเงินหรือหญ้าไม้ไผ่แห้งในพุ่มไม้โดยทำเป็นรูปทรงกลม วางไข่ครั้งละประมาณ 4-6 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 15 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ) หรือว่า
    นกอพยพ(HyouChou:เป็นนกที่จะอยู้ในบางพื้นที่ในบางฤดูและก็อพยพไป

    (未翻訳)鳴き声を聞く

    Audio Player
  • นกกระจิบหัวลาย ชื่อญี่ปุ่น”Yabuame” วงศ์ นกกระจิบ
    นกกระจิบหัวลาย ชื่อญี่ปุ่น”Yabuame”
    นกกระจิบหัวลาย ชื่อญี่ปุ่น”Yabuame” วงศ์ นกกระจิบ
    เมื่อเข้าฤดูใบไม้ผลิ จะบินอพยพกลับมาจากทางใต้เมื่อพ้นฤดูหนาว
    จะอาศัยในซุ่มป่าไม้ไผ่ที่เขียวชอุ่มที่มีแสงรำไร และเนื่องจากเป็นนกที่อาศัยอยู่แต่ในพุ่มไม้จึงไม่ค่อยเจอ นอกเหนือจากฤดูผสมพันธ์จะชอบอยู่ตัวเดียวมากกว่า ใช้วิธีเดินแบบกระโดดในพุ่มไม้หรือบนพื้นดินเพื่อหาแมลงหรือแมงมุมกิน ลักษณะการเคลื่อนไหวนั้นดูแล้วคล้ายหนู
    ตัวผู้กับตัวเมียมีสีเหมือนกัน ลำตัวมีสีน้ำตาล ส่วนหัวเป็นลายสีขาวเหมือนคิ้ว ขนหางสั้น จากช่วงเดือนพฤษภาคมถึงประมาณเดือนกรกฎาคม เป็นฤดูผสมพันธ์ ตัวผู้จะร้องหาคู่ว่า 「ชินชินชิน」 ร้องเหมือนเสียงแมลง เวลาที่อยู่ในอาณาเขตของตัวเองจะร้องเสียง「จาท จาท」เพื่อเป็นการเตือนให้นกตัวอื่นถอยห่าง สร้างรังเป็นรูปถ้วยโดยนำเอาใบไม้ร่วงหรือตะไคล่น้ำมากองที่พื้นที่ลุ่มบนพื้นดินหรือบนโคลนต้นไม้วางไข่ครั้งละประมาณ 5-7 ฟอง
    ฤดูใบไม้ร่วงพอเลี้ยวลูกโตเต็มวัยจะอพยพลงใต้

    ●ขนาด/ประมาณ 11 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณ 4~10
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าหน้าใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )
  • นกติ๊ดตัวน้อยตัวนิด ชื่อญี่ปุ่น “Enaga” วงศ์ นกติ๊ต
    นกติ๊ดตัวน้อยตัวนิด ชื่อญี่ปุ่น “Enaga”
    นกติ๊ดตัวน้อยตัวนิด ชื่อญี่ปุ่น “Enaga” วงศ์ นกติ๊ต
    ในญี่ปุนเป็นนกที่มีจงอยปากสั้นที่สุด
    ลำตัวมีรูปร่างกลมตัวเล็ก มีขนหางยาวเป็นจุดที่โดดเด่นมาก
    ตัวผู้และตัวเมียมีสีเหมือนกัน หัวสีขาวจะมีลวดลายเส้นสีดำบนตา
    บนไหล่มีขนสีองุ่นอ่อนปนอยู่ อาศัยอยู่ตามพื้นราบหรือป่าสนในภูเขาจะพบเห็นตามสวนสาธารณะหรือ ย่านที่อยู่อาศัยที่มีต้นไม้จำนวนมาก
    มีร้องเสียง 「จิวริ,จิวริ,ชิริริ,จี-จี」 ทั้งปีโดยไม่เกี่ยวกับฤดูผสมพันธ์
    นอกจากฤดูผสมพันธ์แล้วจะใช้ชีวิตเป็นฝูงเล็ก ๆ อาศัยอยู่ปะปนกับนกชนิดอื่นเช่นนกติ๊ตใหญ่ เป็นต้น จับแมลงหรือแมงมุมตามปลายกิ่งไม้เป็นอาหาร หรือกินผลของต้นไม้ด้วย ในต้นฤดูใบไม้ผลิจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นไม้เช่นต้นเมเปิ้ลเป็นต้น ฤดูผสมพันธ์คือช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน สร้างรังโดยใช้ใยแมงมุมเป็นกาวติดกับตะไคร่น้ำเพื่อทำรังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนกิ่งไม้ วางไข่ครั้งละประมาณ 7-12 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 14 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกกระจิ๊ดหัวมงกุฎ ชื่อญี่ปุ่น”Sendaimushikui” วงศ์ นกกระจิบ
    นกกระจิ๊ดหัวมงกุฎ ชื่อญี่ปุ่น”Sendaimushikui”
    นกกระจิ๊ดหัวมงกุฎ ชื่อญี่ปุ่น”Sendaimushikui” วงศ์ นกกระจิบ
    เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิจะอพยพกลับมาจากทางใต้หลังจากย้ายไปถิ่นอื่นในช่วงฤดูหนาว จะใช้ชีวิตในป่าต้นไม้ผลัดใบกระจายในวงกว้างเช่นใบเมเปิ้ลและ ต้นKonaraของภูเขาต่ำ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูใบไม้ร่วงจะสามารถพบเห็นได้ตามย่านที่อยู่อาศัยหรือในสวนสาธารณะ
    ตัวผู้กับตัวเมียสีเหมือนกัน ตั้งแต่หัวถึงด้านหลังมีสีเขียวเข้ม บนตามีเส้นลายสีขาวเหมือนคิ้ว มีการเคลือนไหวอยู่ตลอดเวลาบนกิ่งไม้ จะหยุดนิ่งที่ปลายของใบไม้เพื่อจับแมลงหรือแมงมุมที่อยู่ตามใบไม้กิน
    ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนเป็นฤดูการผสมพันธ์ตัวผู้จะร้อง 「โจ โจ บิด 」, ได้ยินเหมือน 「โ ชจู อิท ปาย กึ~อิ 」
    สร้างรังด้วยหญ้าแห้งที่เก็บมาจากพื้นตามที่ลุ่มของฝั่งหรือพื้นดินในป่าลักษณะรังตรงทางเข้าจะเอียงเป็นรูปทรงบอลที่ว่างเปล่า,วางไข่ครั้งละประมาณ 5-6 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 13 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 4~10
    นกฤดูร้อน(Natsudori:ช่วงฤดูใบไม้ผลิกับฤดูร้อนจะอยู่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อขยายพันธ์ พอเข้าหน้าใบไม้ร่วงจะอพยพไปทางใต้ )
  • นกแว่นตาขาว ชื่อญี่ปุ่น”Mejiro” วงค์ นกแว่นตาขาว
    นกแว่นตาขาว ชื่อญี่ปุ่น”Mejiro”
    นกแว่นตาขาว ชื่อญี่ปุ่น”Mejiro” วงค์ นกแว่นตาขาว
    อาศัยตามพื้นที่ราบถึงป่าตามภูเขาต่ำ ๆ ตามสวนสาธารณะและสวนขนาดใหญ่ หรือสวนในบ้าน ตัวเมียและตัวผู้มีสีเหมือนกัน
    ตั้งแต่หัวถึงด้านหลังมีสีเขียวเหลือง รอบ ๆ ตามีวงสีขาวดูสะดุดตา
    ในแต่ละปีส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตเป็นคู่ เดินวนไปมาบนต้นไม้เพื่อหาแมงมุมหรือแมลงกินเป็นอาหาร เมื่อเอาอาหารมาวางที่ถาดอาหารจะมาร่วมวงกินทันที ชอบกินส้มเขียวหวานหรือแอปเปิล หรือบางที่อาจจำพวกน้ำผลไม้ด้วย ช่วงฤดูดอกไม้บานจะชอบกินน้ำหวานจากดอกเคมีเลียและดอกซากุระ ดอกบ๊วย และกินเกสรดอกไม้ด้วย ช่วงนี้จะเห็นที่ลำตัวของมันมีผงของเกสรดอกไม้เต็มไปหมด เปรียบเสมือนทำหน้าทีในการผสมเกสร ฤดูผสมพันธ์คือช่วงเดือนเมษายนถึงประมาณเดือนมิถุนายน จะทำรังเป็นรูปถ้วยโดยการนำใยแมงมุมมาร้อยก้านหญ้าและตะไคร่น้ำที่กิ่งไม้เตี้ยๆ วางไข่ทีละประมาณ 3-5 ฟอง

    ●ขนาด/ประมาณ 12 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 1-12
    นกประจำถิ่น(Ryuuchou:เป็นนกที่ปีหนึ่งๆจะอยู่ที่เดิมๆ)
  • นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Hirenjaku” วงศ์ นกปีกขี้ผึ้ง
    นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Hirenjaku”
    นกชื่อญี่ปุ่นว่า “Hirenjaku” วงศ์ นกปีกขี้ผึ้ง
    ในช่วงเดือนตุลาคมจะมาหลบฤดูหนาวอยู่ที่ญี่ปุ่นโดยอพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรีย จะอาศัยตามป่าภูเขาต่ำ สามารถพบเห็นได้บ่อยตามย่านที่อยู่อาศัยหรือสวนสาธารณะ ดูผิวเผินมีลักษณะเหมือนกับสายพันธ์ Garrulus Bombycilla ที่หัวจะมีขนเหมือนมงกุฎ และที่ลำตัวจะมีสีน้ำตาลแดงเหมือนกัน เสียงร้องก็ 「จิริจิริจิริ」 คล้ายๆกัน จุดที่แตกต่างกันคือ ลำตัวของนกชนิดนี้จะเล็กกว่า ขนหางมีสีดำที่ปลายมีลวดลายสีแดง ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตลอด จะเกาะตามกิ่งไม้1กิ่งกันเป็นกลุ่มๆ หรือเกาะเรียงกันตามสายไฟฟ้า เวลาออกบินจะบินพร้อมกัน กินผลไม้คืออาหารที่ชื่นชอบ หรือแมลงที่จับได้กลางอากาศขณะบิน อพยพไปทางเหนือประมาณปลายเดือนพฤษภาคมก่อนเข้าช่วงฤดูร้อน

    ●ขนาด/ประมาณ 18 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 10~5
    นกฤดูหนาว(Fuyudori:เป็นนกที่เข้ามาหลบหนาวตอนฤดูใบไม้ร่วง พอฤดูใบไม้ผลิก็อพยพไป)
  • นกชื่อญี่ปุ่น”Shirohara” แบล็คเบิร์ด
    นกชื่อญี่ปุ่น”Shirohara”
    นกชื่อญี่ปุ่น”Shirohara” แบล็คเบิร์ด
    เป็นนกที่อพยพหนีหนาวมาจากแหล่งที่เป็นบ้านเกิดคือตะวันออกเฉียงเหนือของจีนในลุ่มแม่น้ำ Usuri เขตติดต่อระหว่างจีนกับรัสเซีย ทางคาบสมุทรเกาหลี ที่ญี่ปุ่นจะอาศัยอยู่ตามพื้นทีราบถึงป่าในภูเขา บางครั้งจะพบในสวนผลไม้หรือสวนสาธารณะด้วย
    ลักษณะการเดินจะกระโดดไปตามพื้นดินในป่าสลัว จะไม่ค่อยเห็นตามสถานที่โล่งแจ้ง อาหารที่ชอบคือตัวอ่อนของแมลงหรือไส้เดือนจากในดินหรือใต้กองทับถมของใบไม้ที่ร่วง และผลไม้ต่าง ๆ
    ตัวผู้กับตัวเมียสีเกือบเหมือนกัน หัวสีเทาส่วนด้านหลังน้ำตาลเข้มปนเขียว ท้องเป็นสีเทาตรงกลางเป็นสีขาวจึงเป็นที่มาของชื่อ Shirohara
    มีเสียงร้อง「กิวกิวกิว」 เวลาจะบินขึ้นร้องเสียงดังๆว่า 「จี๊ทー」
    ในฤดูใบไม้ผลิจะอพยพขึ้นไปทางเหนือในจังหวัดนะงะซากิ

    ●ขนาด/ประมาณ 25 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 11~3
    นกฤดูหนาว(Fuyudori:เป็นนกที่เข้ามาหลบหนาวตอนฤดูใบไม้ร่วง พอฤดูใบไม้ผลิก็อพยพไป)
  • นกเดินดงอกลายแดง ชื่อญี่ปุ่น “Tsugumi” แบล็คเบิร์ด
    นกเดินดงอกลายแดง  ชื่อญี่ปุ่น “Tsugumi”
    นกเดินดงอกลายแดง ชื่อญี่ปุ่น “Tsugumi” แบล็คเบิร์ด
    เป็นตัวแทนของนกฤดูหนาวที่อพยพมาอาศัยในญี่ปุ่นเป็นจำนวนมากจากไซบีเรีย อยู่กระจัดกระจายทั่วไปในพื้นที่ของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น ป่าไร่การเกษตร แหล่งต้นน้ำของแม่น้ำ สวนสาธารณะและพื้นที่ที่เป็นย่านที่อยู่อาศัยของคน จะอาศัยอยู่ในพุ่มไม้และป่าไม้เขียวชอุ่ม ตอนอพยพมาใหม่ๆ จะอยู่เป็นกันฝูง แต่พอเข้าฤดูหนาวจะอยู่ตัวเดียวเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะการเดินจะกระโดดไปตามพื้นดิน พอหยุดเดินจะยืดอก นกเดินดงอกลายแดงจะมีพฤติกรรมอย่างนี้ทำซ้ำไปซ้ำมาเพื่อหาอาหาร จะเขี่ยใบไม้ที่ร่วงบนพื้นดินหรือขุ้ยที่พื้นดินเพื่อหาตัวอ่อนแมลงหรือไส้เดือนกิน และชอบกินผลไม้ด้วย เช่น ลูกพลับ หรือลูก Pyracantha มีเสียงร้องอย่างต่อเนื่องว่า 「คิคิว」 ฤดูใบไม้ร่วงจะร้อง「ทซึอิー」โดยบินไปด้วยร้องไปด้วย พอฤดูใบไม้ผลิจะรวมตัวกันเป็นฝูงอีกครั้งและอพยพกลับไปทางเหนือเพื่อฟักไข่และเลี้ยงลูกอ่อน

    ●ขนาด/ประมาณ 24 เซนติเมตร
    ●ฤดู/ประมาณเดือน 10~4
    นกฤดูหนาว(Fuyudori:เป็นนกที่เข้ามาหลบหนาวตอนฤดูใบไม้ร่วง พอฤดูใบไม้ผลิก็อพยพไป)
もっと見る 閉じる